วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

การบินไทยรอดตัว !! พลิกวิกฤตรอบล่าสุด โชว์ตัวเลข 9 เดือนแรก 64 ทำกำไรไปกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท

by Smart SME, 16 พฤศจิกายน 2564

เมื่อวานนี้ (15 พ.ย.64) การบินไทย ได้ทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า 9 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ และ บริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 51,115 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 49,561 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 51,121 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 23.42 บาท

.

.

ในขณะที่ปีก่อน ขาดทุนต่อหุ้น 22.70 บาท โดยมี EBITDA เป็นลบ จำนวน 9,639 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5,044 ล้านบาท EBITHA Margin เท่ากับ -64.2% เปรียบเทียบกับปีก่อนที่เท่ากับ -10.4%

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกนั้น มีรายได้รวมทั้งสิ้น 14,990 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 29,230 ล้านบาท หรือ 66.1% สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 29,185 ล้านบาท รายได้จากบริการอื่นๆ ลดลง 1,288 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของไทยและประเทศต่างๆ

มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 1,243 ล้านบาท สาเหตุหลักจากการรับรู้รายได้ที่เกิดจากการหักลบกลบหนี้ค่าบริการรายเดือนและค่าซ่อมบำรุง ตามสัญญาที่ค้างชำระตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการชำรุดของเครื่องยนต์

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 36,481 ล้นบาท ต่ำกว่าปีก่อน 41,695 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผัน

การไม่สามารถบินได้ตามปกติ ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 21,491 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 12,465 ล้านบาท

ในงวด 9 เดือนแรก บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม 73,084 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • กำไรจากการขายเงินลงทุน 2,202 ล้านบาท
  • กำไรจากการขายสินทรัพย์จำนวน 628 ล้านบาท
  • กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ จํานวน 60,730 ล้านบาท
  • เงินชดเชยโครงการร่วมใจจากองค์กร 4,936 ล้านบาท
  • เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงาน 1,222 ล้านบาท
  • การปรับปรุงรายการผลประโยชน์พนักงานลดลง 8,323 ล้านบาท จากการปรับโครงสร้างองค์กร และผลประโยชน์ของพนักงาน
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 18,440 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 116 ล้านบาท
  • ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 11,197 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าดำเนินงานเครื่องบินตามมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 16

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ในงวด 9 เดือนแรก บริษัทมีผลการขาดทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว อยู่ที่ 21,491 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12,465 ล้านบาท หรือลดลง 36.7% ซึ่งเป็นผลจากในช่วงที่ผ่านมา บริษัทและผู้บริหารแผนฟื้นฟูได้พยายามปรับองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ

อย่างไรก็ดี ในงวดดังกล่าวบริษัทยังมีรายได้จากรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ หรือ One time เป็นจำนวน 72,566 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีกำไร และผลที่ตามมาในแง่งบดุล ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นที่เคยติดลบ 1.28 แสนล้านบาท จากช่วงปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบเหลืออยู่ 7.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อความสามารถในการออกหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทในอนาคต และส่วนตัวผมหวังว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะติดลบลดลงต่อเนื่อง จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างหนี้ที่เห็นผล

ทั้งนี้ หากเปิดไส้ในงบการเงินในงวด 9 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม 73,084 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนสำคัญผลักดันให้งบการเงินของการบินไทยมีกำไร ประกอบด้วย

 

รายได้อื่น จำนวน 1,968 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,243 ล้านบาท สาเหตุหลักจากการบันทึกรายได้จากการหักกลบลบหนี้ค่าบริการ และซ่อมบํารุงเครื่องยนต์ จำนวน 45.5 MUSD หรือประมาณ 1,457 ล้านบาท ตามที่ระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ

สำหรับในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ การบินไทยเริ่มกลับมาทำการบินในเส้นทางระหว่างประเทศครอบคลุมทั่วทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย รวมทั้งหมด 36 เส้นทางบิน พร้อมบริการแบบเต็มรูปแบบ และเป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 รองรับนโยบายการเปิดประเทศของไทย เพื่อขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

โดย 10 วันแรกหลังจากเปิดประเทศ พบว่ามีผู้โดยสารวันละ 750 คน เพิ่มขึ้นหากเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่มีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 300 คน นับเป็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการบินไทยยังประเมินว่าผลการดำเนินงานในปี 2565 จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ภายใต้ปัจจัยภายนอกที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลับมารุนแรงอีกครั้ง และหวังว่าในปี 2566 จะเริ่มกลับมามีกำไร โดยคาดว่าในปีดังกล่าวจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เพิ่มต่อเนื่องในปี 2567 จะมีรายได้ 1.4 – 1.5 แสนล้านบาท


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line