วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

กรุงไทยเสริมแกร่งเกาะเต่า พัฒนาชุมชน สู่หมู่บ้านประมงแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

by Smart SME, 3 เมษายน 2566

“เกาะเต่า” เกาะเล็กๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า สวรรค์ของนักดำน้ำ ต้องประสบปัญหาอย่างหนักจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโควิด 19 จะยังไม่หมดไป แต่โลกก็ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด 19 ด้วยวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ขณะที่ประเทศไทยได้เปิดประเทศ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกอย่างเต็มรูปแบบ และในวันนี้ เกาะเต่าได้ถูกพลิกฟื้นให้กลายเป็นชุมชนหมู่บ้านประมงแบบยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง

 

 

ธนาคารกรุงไทย สนับสนุนการบูรณาการเกาะเต่าในทุกมิติ วางแผนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการ #UNDPกรุงไทยรักเกาะเต่า ซึ่งธนาคารร่วมกับ UNDP ประเทศไทย และมูลนิธิรักษ์ไทย เมื่อปี 2563 ระดมทุนได้กว่า 2.7 ล้านบาท ในรูปแบบ Crowd Funding ด้วยการรับบริจาคผ่านระบบ e-Donation ของธนาคาร เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนขับเรือท่องเที่ยวขนาดเล็กและช่วยเหลือคนในชุมชนเกาะเต่าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และเงินบริจาคส่วนที่เหลือ นำไปดำเนินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกาะเต่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการประกอบอาชีพของคนในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาทักษะให้กลุ่มอาชีพต่างๆ อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีเกาะเต่า สนับสนุนโครงการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมธรรมชาติ และ โครงการด้านประมงและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของเกาะเต่ามาอย่างยาวนาน

โครงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยซั้งปลา อีกหนึ่งโครงการที่ธนาคารสนับสนุน จุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการทำอาชีพประมงควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน ทำซั้งปลาจากไม้ไผ่และทางมะพร้าว เพื่อสร้างบ้านปลาแบบยั่งยืน สำหรับเป็นตู้เสบียงชุมชน และช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาเศรษฐกิจ อาทิ ปลาอินทรีย์ ปลาแข้งไก่ และปลาหูบาง ที่ชาวประมงจับได้บริเวณรอบๆ ซั้งปลา และกองหินธรรมชาติ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงขึ้น แม้รายได้จากการท่องเที่ยวจะยังไม่เป็นปกติ แต่เกาะเต่ายังคงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมต่อยอดไปสู่บริการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมทำซั้งปลากับชุมชน เพื่อเรียนรู้การทำประมงพื้นบ้าน และศึกษาธรรมชาติรอบเกาะ ซึมซับแนวคิดด้านการอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

 

 

ธนาคารกรุงไทยตระหนักว่า การพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ จึงนำความรู้และนวัตกรรมทางการเงินมาเป็นประโยชน์กับชุมชน โดยพนักงานธนาคารได้ผนึกกำลังกันลงพื้นที่ สร้างความรู้การวางแผนทางการเงิน และการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชมรมประมงพื้นบ้านเกาะเต่า และกองทุนสวัสดิการเรือรับจ้างขนาดเล็ก เพื่อช่วยเหลือสมาชิกกรณีฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน รวมทั้งร่วมกับเทศบาลเกาะเต่าวางแนวทางจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

 

 

จากผลสำเร็จของโครงการ #UNDPกรุงไทยรักเกาะเต่า ทำให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติดีขึ้น เกิดความความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตได้รับการฟื้นฟู ปกป้อง และเกื้อกูลกันระหว่างธรรมชาติกับคนในเกาะ โดยได้รับเลือกจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ The United Nations Development Programme (UNDP) ประเทศไทย ให้เป็นโครงการตัวอย่างในการพัฒนาด้านการเงิน เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Finance for Biodiversity) จัดแสดงในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ United Nation Biodiversity Conference สมัยที่ 15 (COP15) ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีการประชุมเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่สำคัญที่สุดในรอบทศวรรษ แสดงถึงความสำเร็จในการนำเครื่องมือทางการเงินมาพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจและสังคมไทย

เกาะเต่าในวันนี้ ผ่านการพัฒนาก้าวสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ สอดคล้องกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 4 รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน (Quality Education) เป้าหมายที่ 13 เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Action) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (Life Below Water) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (Life On Land) เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Peace Justice And Strong Institutions) ส่งผลให้ชุมชนเกาะเต่ามีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง พัฒนาองค์ความรู้ให้พึ่งพาตนเอง มีระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จัดการขยะอย่างเป็นระบบ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้คนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างการเติบโตให้กับทุกภาคส่วนของสังคม ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SmartSME Line