วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

by Smart SME, 15 ตุลาคม 2566

ดูเหมือนว่า ช่วงนี้หนังไทย และ ต่างประเทศคึกคักมาก ๆ มีหลายเรื่องที่โหมกระพือ อัดงบการตลาดโปรโมทออกมาให้เพื่อน ๆ คอหนังได้เฝ้ารอติดตาม เตรียมดูกันตาแฉะอย่างจุใจ ซึ่งรับชมกันได้หลายช่องทางตามแต่ละคนสะดวก

ทั้ง ๆ ที่ย้อนกลับไป สิบกว่าปีที่แล้ว วัฒนธรรมและพฤติกรรมการจะดูหนังใหม่สักเรื่อง ช่องทางหลัก หรือแทบจะเป็นช่องทางเดียว คือ การซื้อตั๋วเข้าไปจับจองที่นั่งในโรงภาพยนตร์

แต่ด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การดูหนังได้รับการ 'วิวัฒน์' หลายคนได้รู้จักและเข้าถึงซีรีย์ หรือภาพยนตร์ผ่านการ Streaming (สตรีมมิ่ง) แค่จ่ายค่าสมัครสมาชิกก็ได้ดูหนังที่ตนเองชอบ ได้ดูซีรีย์ที่ไม่มีในทีวีดิจิทัล และไม่มีเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ทำให้อุุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงพฤติกรรมคนชอบดูหนังทั่วโลก พลิกโฉมและเปลี่ยนไปจากเดิมมาก

จึงเป็นความท้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์อีกครั้ง หลังจากโลกค่อย ๆ พลิกฟื้นจากวิกฤต Covid-19 เป็นโจทย์ของ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ในการสร้างความเชื่อมั่น เรียกผู้คนให้กลับเข้ามาซื่อตั๋วดูหนังกันอีกครั้ง เพราะความสะดวกสบายของ 'สตรีมมิ่ง' ที่คุณอยู่ที่บ้าน ก็นอนลูบพุงกินป๊อบคอร์นได้ ไม่ต้องมาเบียดเสียดรอซื้อตั๋ว และดูหนังร่วมกับคนอื่น ให้ความเป็นส่วนและสะดวกสบายสุด ๆ

 


แพลตฟอร์มฮิต ! สตรีมมิ่งหนัง คู่แข่งตัวฉกาจของ 'โรงภาพยนตร์'

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในแต่ละช่วงก็จะมีซีรีส์หรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ มาปลุกกระแสให้พูดถึงในไทยได้ตลอด

โดย บริษัทเน็ตฟลิกซ์ ผู้ให้บริการสตรีมมิงภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐ เปิดเผยกำไรในไตรมาส 2/2566โดยมีกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ระดับ 3.29 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าเป้า และเกินไปกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้มาก นั่นแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจ Streaming เข้าถึงและตอบโจทย์คอหนังแบบถึงขีดสุด

ปัจจุบัน แพ็กเกจของ Netflix มี 4 แบบ ได้แก่ แพ็กเกจมือถือ 99 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพื้นฐาน 279 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจมาตรฐาน 349 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพรีเมียม 419 บาทต่อเดือน ผู้สมัครใหม่ดูฟรี 30 วันแรก (แพ็กเกจปรับเปลี่ยนได้ตลอด)

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?


HBO Go (เอชบีโอ โก)

แพลตฟอร์มจากบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ‘AT&T’ ประกาศควบรวมกิจการ Warner Media โดยให้บริการในไทยเมื่อช่วงปลายปี 2020 โดยมีค่าบริการที่ 149 บาท/เดือน และสำหรับใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน 3BB ก็จ่ายเพิ่มแค่ 39 บาท โดยดูฟรีได้ 7 วันหลังสมัคร (แพ็กเกจปรับเปลี่ยนได้ตลอด)

 

 

Disney+ Hotstar

แอปพลิเคชั่น ที่รวบรวมความบันเทิงจาก 'วอลต์ ดิสนีย์' (The Walt Disney Company) และผู้ผลิตความบันเทิงชั้นนำในเอเชีย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนแพ็กเกจเมื่อ 29 มิถุนายน 2566 ดังนี้

แพ็กเกจมือถือ (แพ็กเกจปรับเปลี่ยนได้ตลอด)
- เดือนละ 99 บาท/ปีละ 799 บาท
- สร้างโปรไฟล์ได้สูงสุด 7 โปรไฟล์
- สตรีมได้ 1 หน้าจอ เฉพาะมือถือและแท็บเลต
- ไม่รองรับการแคสต์หน้าจอ
- ความคมชัดสูงสุด HD (720p)
- คุณภาพเสียงสูงสุด สเตอริโอ

 

 

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แพลตฟอร์มที่คนไทยน่าจะคุ้นเคยกันดี โดย LINE TV ได้นิยามตัวเองว่า ‘King of Thai Content’ เพราะปัจจุบันมีทั้งละคร ซีรีส์ ซิทคอม ภาพยนตร์ การ์ตูน รายการวาไรตี้ รวมถึง Original Content รวมมากกว่า 1,000 รายการ จากพันธมิตรกว่า 250 ราย ซึ่งจุดเด่นก็คือ ดูฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ (แพ็กเกจปรับเปลี่ยนได้ตลอด)

 

 

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่า ดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท หรือจะใช้ True Point เพื่อเเลกชมก็ได้ โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย (แพ็กเกจปรับเปลี่ยนได้ตลอด)

 

 

กลับมาเล่าเรื่องของ 'ธุรกิจโรงภาพยนตร์' กันต่อ.. เพราะเดี๋ยวแฟน ๆ จะคิดว่า แอดฯ เชียร์เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ความจริง เราอยากจะสรุป และชี้ให้เห็นว่า ทั้ง ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งหนัง มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และก็มีกลยุทธ์หรือวิธีการ ซึ่งทั้งคู่ก็ต่างพัฒนาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจและไลฟ์สไตล์การเสพหนังของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเอ่ยถึง 'ธุรกิจโรงภาพยนตร์' ชื่อที่เราคุ้นเคยกันดี คือ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทฯ ได้มีการเปิดเผย ผลประกอบการไตรมาส 2 ของปี พ.ศ.2566 ดังนี้

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

 

• โดยบริษัทฯ ทำรายได้รวม 2,283 ล้านบาท เติบโตขึ้น 39% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
• มีรายได้รวม 1,639 ล้านบาท
• กำไรสุทธิ 532 ล้านบาท (เติบโตจากไตรมาส 2 ปี พ.ศ.2565 ที่มีกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท)

ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจในเครือโรงภาพยนตร์ 'เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป' ที่ทำรายได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น
• ธุรกิจป๊อปคอร์น 654 ล้านบาท
• ธุรกิจสื่อโฆษณา 244 ล้านบาท
• ธุรกิจโบว์ลิ่ง 102 ล้านบาท
• ธุรกิจพื้นที่ให้เช่า 63 ล้านบาท
• และรายได้จากภาพยนตร์ (Movie Content) 42 ล้านบาท

 

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

กลยุทธ์ โกยคอหนัง-โกยรายได้ 'เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป'

• โดย 'เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป' ทำการตลาดอย่างหนัก อัดโฆษณาคอนเทนต์ หรือ หนัง เป็นตัวดึงดูดให้ลูกค้ากลับเข้ามาดูหนัง โดยปีนี้ (พ.ศ.2566) มีหนังต่างประเทศเข้าฉายกว่า 199 เรื่อง , หนังไทยเข้าฉาย 50 เรื่อง

• เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฯ มีพันธกิจผลิตหนังไทยป้อนคนดู ปีละ 20 เรื่อง ผลักดันหนังไทยให้มีส่วนแบ่งตลาด 50% จากปัจจุบัน 27% และหนังต่างประเทศโกยเงินถึง 73% ซึ่งครึ่งปีหลังหนังไทยจ่อคิวฉาย เช่น แมนสรวง, ไปรษณีย์ 4 โลก, 14 Again, ธี่หยด, อีสานซอมบี้, 4 Kings 2 เป็นต้น

• สำหรับแผนธุรกิจในอนาคตอันใกล้ โดย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฯ เดินหน้าขยายโรงภาพยนตร์ให้ครบ 1,200 โรง ภายในปี พ.ศ.2573 ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

• ปีนี้ (พ.ศ.2566) เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฯ ลงทุนกว่า 600 ล้านบาท เปิดโรงภาพยนตร์ 8 สาขา จำนวน 40 โรง โดยสรุปปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีโรงภาพยนตร์ที่้เปิดให้บริการ รวมทั้งสิ้น 178 สาขา จำนวน 825 โรง แบ่งเป็น

- ในประเทศไทย มี 169 สาขา จำนวน 779 โรง

- ต่างประเทศ มี 9 สาขา จำนวน 46 โรง ได้แก่
1) ในประเทศ สปป.ลาว มี 3 สาขา จำนวน 13 โรง
2) ในประเทศกัมพูชา มี 6 สาขา จำนวน 33 โรง

• อีกหนึ่งธุรกิจทำเงินของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฯ คือ 'ป๊อปคอร์น' ที่ทำรายได้และมีโอกาสเติบโตสูงทุกปี

• และรูปแบบการจำหน่ายตั๋วหนัง ที่ บริษัทฯ ยังลุยขยายช่องทางการขายทั้งภายในโรงหนัง (In Cinema) และนอกโรงหนัง (Out Cinema) เพื่อผลักดันรายได้ให้มีสัดส่วน 50% จากปัจจุบันรายได้ตั๋วหนังอทำเงินมากสุด 64%

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?


สิ่งที่ได้รับจากการดูหนังโรงฯ ที่สตรีมมิ่ง 'ไม่มี' !?

1. ได้ดูหนังเข้าใหม่

2. ประสบการณ์ที่ต้องดูในโรงเท่านั้น เช่น ได้ดูหนัง 3D, 4D เอฟเฟคที่ต้องสัมผัสในโรงฯ หรือ เก้าอี้ที่ปรับเอนนอนเป็น 180 องศาฯ สุดฟินไปเลย ฯลฯ

3. ดูหนังบนจอใหญ่ ระบบเสียงคุณภาพ

4. ได้โฟกัสกับการดูหนังจริง ๆ โดยไม่ต้องสนใจอะไรทั้งสิ้นในช่วงเวลา 2-3 ชั่วโมง

5. หนังบางเรื่อง ก็เข้าฉายเฉพาะในโรงฯ เท่านั้น

6. ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ แอบดูหนังเถื่อน หรือหาโหลดแบบผิดลิขสิทธิ์

 

 

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

วัดป๊ะล่ะ ! ธุรกิจโรงภาพยนตร์ VS สตรีมมิ่ง คอหนังชอบดูแบบไหน ?

เอาจริง ๆ การดูหนัง ถือเป็น LifeStyle อย่างหนึ่งของแต่ละคน มันไม่มีใครดีใครด้อยไปกว่ากัน เพราะแอดฯ เชื่อว่า มีหลายคนที่ดูหนังทั้งในโรงฯ และสมัครสมาชิกแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือเรียกว่า ดูแม่ม ! ทั้งสองรูปแบบไปเลย

การดูหนัง คือ การผ่อนคลายอย่างหนึ่ง คือ ไลฟ์สไตล์ความชอบ คือสุนทรีย์ที่ได้เสพเรื่องราว เนื้อหาสะท้อนมุมมองชีวิต หรือแฟนตาซี ที่เกินกว่าเราจะจินตนาการ ให้อรรถรสครบทั้งความรัก ความสนุกสนาน ความผิดหวัง ความอบอุ่น แรงบันดาลใจ ความกลัว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ทำให้การดูหนัง เข้ามาเป็นอีกหนึ่งการหาความสุขให้กับชีวิตคนเราได้ในทุก ๆ ช่วงเวลานะ

แล้วคุณล่ะ ชอบดูหนังด้วยวิธีแบบไหน ? 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

SmartSME Line