วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

by Smart SME, 7 พฤศจิกายน 2566

น่าแปลกใจที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ทำไม ? เรามักสังเกต ศูนย์การค้าขนาดเล็กในชุมชนหรือในท้องถิ่นต่าง ๆ ผุดขึ้นมาตระหง่านเยอะแยะเลย ?

"ศูนย์การค้าขนาดเล็กในชุมชน" เพื่อน ๆ หลายคนคงนึกภาพไม่ค่อยออก แต่ถ้าบอกว่า ศูนย์การค้าประเภท "คอมมูนิตี้มอลล์" (Community Mall) หลายคนน่าจะร้องอ๋อ และนึกภาพตามขึ้นมาได้บ้าง

Smart SME จึงถือโอกาสชวนเพื่อน ๆ คิดตาม.. ถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจศูนย์การค้าขนาดย่อม หรือ คอมมูนิตี้มอลล์ ที่เราเห็นเปิดกันอยู่จำนวนไม่น้อยเลย ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ว่า.. การลงทุนรูปแบบนี้ แท้จริงแล้วประสบความสำเร็จแค่ไหนกัน ?

 


ฉายภาพ "คอมมูนิตี้มอลล์" ที่นักลงทุนแวะเวียนเข้ามา "ขุดทอง"

สำหรับ "คอมมูนิตี้มอลล์" หรือ ศูนย์การค้าขยาดย่อมในพื้นที่ชุมชน โดยทั่วไป ดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้พื้นที่ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นประมาณ 10,000 - 50,000 ตารางเมตร (หรือประมาณ 5-6 ไร่ โดยประมาณ)

ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมือง (Suburbs) คิดเป็นสัดส่วน 54% ของอุปทานคอมมูนิตี้มอลล์ทั้งหมด เหตุผลเพราะ มีพื้นที่ (ที่ดิน) ให้ดำเนินการสร้างได้เยอะกว่าในกรุงเทพฯ หรือตัวเมืองชั้นใน (Midtown หรือ Downtown)

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2564 อุปทาน (Supply ความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ) พื้นที่เติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยมีอุปทานใหม่เข้าสู่ตลาด 88,350 ตารางเมตร (ปี 2563 มีอุปทานใหม่เพียง 16,700 ตารางเมตร) ส่งผลให้อุปทานพื้นที่สะสมอยู่ที่ 1.1 ล้านตารางเมตร (สัดส่วน 17% ของพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมด) เพิ่มขึ้น 8.3% จากปี 2563

โดยผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ปิดและแออัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมถึงปรับการใช้ชีวิตและใช้จ่ายในสถานที่ใกล้บ้าน

นอกจากนี้ ย่านที่อยู่อาศัยยังกระจายไปยังรอบนอกเมืองมากขึ้นตามการขยายตัวของระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อใจกลางเมืองได้สะดวก เช่น รถไฟฟ้า BTS ที่เชื่อมต่อในแต่ละเส้นทางมากขึ้น ฯลฯ ทำให้หนุนความต้องการเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น 8.1% อยู่ที่ 1 ล้านตารางเมตร ขณะที่อัตราการเช่าพื้นที่อยู่ที่ 91.2% ทรงตัวจากปี 2563

จนกระทั่งในช่วงต้น-กลางปี พ.ศ.2565 คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดให้บริการใหม่ 3 โครงการในเขตชานเมือง ได้แก่ สายไหม อเวนิว, แอท ไทรม้า พาร์ค อเวนิว และแอท เอกมัย พื้นที่รวม 16,200 ตารางเมตร

ส่งผลให้อุปทานพื้นที่สะสมเพิ่มขึ้น 8.96% YoY ด้านความต้องการเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น 9.02% YoY ส่งผลให้อัตราการเช่าพื้นที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 90.9% 

 

สำหรับนักลงทุนมักมองเป็น "โอกาส" ในการลงทุนรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้ โดยแสวงหาและประเมินพื้นที่เปล่านั้น ๆ เพื่อออกแบบก่อสร้างเป็นศูนย์การค้า หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อม เพื่อมุ่งหวังสร้างให้เกิดการจับจ่ายในพื้นที่หรือใน Local นั้น ๆ ให้เกิดเม็ดเงินสะพัด และเพื่อเป็นการตอบสนอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์ครอบครัวยุคใหม่ที่นิยมชอปปิ้งสะดวกใกล้บ้านช่วงวันหยุด

ในทางกลับกัน สำหรับกลุ่มบริษัททุนค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ! ล้วนมองข้ามไม่ร่วมสมรภูมินี้ แต่จะมุ่งพัฒนาศูนย์การค้าแบบครบวงจร (Shopping Center/Department Store) ที่เชื่อว่าผลตอบแทนทางการลงทุนดีกว่า

จึงเหมือนเป็นการเปิดทาง ให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ตลอดจนเจ้าของที่ดิน หรือกลุ่มทุนหน้าใหม่ ๆ ได้เข้ามาเก็บเกี่ยวขยับขยายการลงทุนแทรกในส่วนแบ่งการลงทุนศูนย์การค้านี้ในสเกลขนาดย่อม-ขนาดกลางเช่นนี้

ทั้งนี้ อีกวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอีกข้อหนึ่ง ที่กลุ่มอสังหาฯ มักใช้ "คอมมูนิตี้มอลล์" เป็นแม่เหล็ก ก็เพราะว่า มุ่งหวังการสร้าง "มูลค่าเพิ่ม" ให้กับโครงการที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ที่มี Facilities พร้อมสรรพ หนึ่งในนั้นคือ อยู่ใกล้ "คอมมูนิตี้มอลล์" นั่นเอง

 

เหตุผล ที่นักลงทุนกล้าเสี่ยงเนรมิต "คอมมูนิตี้มอลล์"

ปัจจัยสนับสนุน นั้นก็เนื่องมาจาก การเติบโตของกำลังซื้อและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นิยมการซื้อของใกล้บ้านเน้นความสะดวกสบายและประสบการณ์รูปแบบใหม่

รวมถึงการขยายตัวของเมือง โดยการพัฒนาของระบบรถไฟฟ้า ทำให้การพัฒนาโครงการพาณิชยกรรมขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกับที่อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบแนวรถไฟฟ้าที่เติบโตตามการขยายตัวของชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ทำให้มีกลุ่มนักลงทุนหันมาก่อสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ นั่นเอง

อีกทั้ง ศูนย์การค้าประเภท คอมมูนิตี้มอลล์ ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับที่อยู่อาศัยในรอบบริเวณชานเมือง สืบเนื่องจากการหลบเลี่ยงการสัญจรเข้าสู่พื้นที่เมืองและเป็นการกระจายความหนาแน่นของอุปสงค์ (ความต้องการซื้อสินค้า) ในการจับจ่ายใช้สอยของคนผู้อยู่อาศัยโดยรอบบริเวณนั้น ๆ

 

รายได้ คอมมูนิตี้มอลล์ มาจากช่องทางใดบ้าง ?

 

1. รายได้จากค่าเช่าพื้นที่ที่เก็บจากร้านค้า

โดยอัตราค่าเช่ามีความหลากหลายขึ้นอยู่กับทำเลของศูนย์การค้า และทำเลที่ตั้งของร้านค้าภายในศูนย์การค้านั้น ๆ รวมถึงประเภทของผู้เช่า โดยราคาค่าเช่าเฉลี่ยของศูนย์การค้า หากยกตัวอย่างเช่น ราคาค่าเช่าอยู่ที่ 1,068 บาทต่อตารางเมตร เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับทำเลทอง พื้นที่เช่าก็จะแพงขึ้น)

อย่างไรก็ตาม หากเป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ที่ยังไม่มีชื่อเสียง และไม่ได้อยู่ในเมืองหลวง หรือตัวอำเภอเมือง โดบจะมีการถอยอัตราค่าเช่าลงมา เช่น กำหนดอัตราค่าเช่าอยู่ในช่วง 600-800 บาทต่อตารางเมตร เป็นต้น

ซึ่งเจ้าของศูนย์การค้า จึงต้องจัดส่วนพื้นที่เช่าระหว่างผู้เช่าหลัก กับผู้เช่ารายย่อยให้เหมาะสม ถ้าพื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์การค้าถูกเช่าโดยผู้เช่าหลัก รายได้ค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรของศูนย์การค้านั้นอาจต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ต่ถ้าแบ่งพื้นที่ย่อยให้กับผู้เช่ารายย่อยมากเกินไป ศูนย์การค้าจะดูแน่น ไม่น่าเดิน และอาจมีร้านค้าหลักที่เป็นแม่เหล็กในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาในศูนย์การค้าได้ไม่มากพอ ทำให้ในระยะยาวอัตราค่าเช่าอาจปรับขึ้นได้ยาก หรือลูกค้าเลือกเข้าศูนย์การค้าอื่น เป็นต้น

 


2. รายได้จากส่วนแบ่งรายได้

ซึ่งนอกจากรูปแบบการเก็บค่าเช่าจากร้านค้าแล้ว อีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างรายได้ของศูนย์การค้า มาจากการรับส่วนแบ่งรายได้จากผู้เช่าแทนการเก็บค่าเช่า ยกตัวอย่างอัตราส่วนแบ่งรายได้ที่เจ้าของศูนย์การค้าได้รับจากผู้เช่าแทนค่าเช่า จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 ของรายได้ต่อเดือนที่ร้านค้าได้รับ เป็นต้น

ส่วนการเลือกว่าจะรับเป็นค่าเช่าหรือเป็นส่วนแบ่งรายได้ขึ้นอยู่กับการต่อรองระหว่างเจ้าของศูนย์การค้ากับร้านค้าผู้เช่า ศูนย์การค้าบางแห่งถ้ายังไม่แน่ใจว่าร้านค้าจะขายได้ดีเพียงใด อาจเริ่มต้นจากการขอเก็บค่าเช่ารายเดือนก่อน ต่อมาเมื่อเห็นว่า ร้านนั้นมีลูกค้าจำนวนมาก ก็อาจขอแก้ไขสัญญาเป็นส่วนแบ่งรายได้แทน ในทางกลับกัน ผู้เช่าที่ประสบปัญหาด้านยอดขายก็อาจต่อรองขอเปลี่ยนจากค่าเช่าเป็นส่วนแบ่งรายได้แทน

 


3. รายได้จากการให้เช่าพื้นที่จัดกิจกรรมพิเศษ

ซึ่ง คอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าหลายแห่ง จะมีพื้นที่ว่างในส่วนที่เป็นโถงทางเดินหรือลานกิจกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถนำมาให้บริษัทต่าง ๆ เช่าจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมการขาย เช่น มหกรรมลดราคาสินค้า ฯลฯ

 


4. รายได้ค่าสาธารณูปโภค

หมายถึง รายได้ของศูนย์การค้า ที่เก็บจากผู้เช่า สำหรับค่าน้ำค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ รายได้ในส่วนนี้อยู่ประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 ของรายได้ค่าเช่า

 


5. รายได้ค่าบริการจากพื้นที่ส่วนกลาง

กล่าวคือ เงินที่ศูนย์การค้าเรียกเก็บจากผู้เช่า เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ที่จอดรถ ห้องน้ำ โถงทางเดิน ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะอยู่ประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราค่าเช่า ขึ้นอยู่กับพื้นที่ส่วนกลางที่ศูนย์การค้านั้นมีไว้ให้บริการลูกค้า

 

ตัวอย่าง คอมมูนิตี้มอลล์ ที่ขึ้นชื่อในกรุงเทพฯ

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

• Maze Thonglor (เมส ทองหล่อ) : แหล่งแฮงก์เอ้าท์สำหรับคนมีไลฟ์สไตล์ ตั้งอยู่บริเวณปากซอยทองหล่อ 4 ย่านธุรกิจที่คึกคัก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนปัจจุบันที่นิยมชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ แนวคิดการออกแบบ โมเดิร์น คอนเทมโพราลี่ สไตล์ ดีไซน์ในลักษณะแบบร่วมสมัย มีความเรียบง่ายและเท่

 

 

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

• สวนเพลิน มาร์เก็ต (Suanplern Market) : มาร์เก็ตมอลล์ ย่านพระราม 4 ที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง ด้วยคอนเซ็ปต์ “เพลินจิต เพลินใจ เพลินช้อป เพลินชิม” ที่นี่รวบรวมเอาร้านค้าน่าสนใจมาจัดไว้หลากหลายโซน รวมถึงมี “เพลิน สเตชั่น” ลานกิจกรรมที่กว้างขวางให้ทุกคนได้มานั่งเล่นกันในบรรยากาศสบาย ๆ ร่มรื่น

 

 

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

• The Street รัชดา : คอมมูนิตี้มอลล์ที่น่าสนใจ ใคร ๆ ก็มาเช็กอินที่นี่ ด้วยการออกแบบอาคารดีไซน์ที่ดูแล้วฮิปสุด ๆ ไม่เหมือนที่อื่น ๆ ด้วยสถาปัตยกรรมแบบลอฟต์ ผนังอิฐ พื้นปูน และโคมไฟลูกโต ยิ่งทำให้ขาช้อปทั้งหลาย รวมไปถึงเด็กแนวตัวจริงต้องไม่อยากพลาดแน่นอน

 

 

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

• The Scene Town in Town : ทาวน์อินทาวน์ (Town in Town) นั้นเป็นย่านธุรกิจกลางใจเมืองที่คึกคักไปด้วยผู้คนไม่เว้นแต่ละวัน โดยใครที่เคยมาเช็กอินที่ The Scene Town in Town แล้วจะสัมผัสได้ถึงความลงตัว และลานกว้าง ที่มีเบาะนั่งสบาย ๆ พร้อมดนตรีสดทุกวันของเดอะซีน ทำให้เดอะซีนนั้นกลายเป็นแหล่งพบปะ สังสรรค์ คลายเครียดสำหรับคนย่านนี้โดยไม่รู้ตัว ใครเครียดจากการงาน มานั่งชิลล์ แฮงค์เอ้าท์กับเพื่อน ๆ หาร้านอร่อย ๆ ทานกันก่อนกลับบ้าน

 

 

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

มองโอกาสเติบโตของ Community Mall ศูนย์การค้าในชุมชน ใกล้ชิด..ฟื้นเศรษฐกิจใน Local

• นวมินทร์ เฟสติวัล วอร์ค - ถนนเกษตร-นวมินทร์ (Nawamin Festival Walk) : ศูนย์การค้า Open Air บนถนนเกษตร-นวมินทร์ ด้วยการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมกึ่งยุโรปโบราณผสมผสานกับความทันสมัย ทั้งการเล่นระดับอาคาร การเพิ่มมิติให้กับร้านค้าที่ทำให้เข้าถึงทั่วทั้งโครงการ

นอกจากนี้ ยังรายล้อมด้วยน้ำและพื้นที่สีเขียว เพื่อความร่มรื่น โดยแต่ละร้านจะออกแบบให้มีเอกลักษณ์และสไตล์แบบเฉพาะตัว ไม่ซ้ำกัน แต่ผู้ออกแบบสามารถทำให้กลมกลืนและลงตัวได้ทั้งโครงการ เหมาะสำหรับทุกกลุ่ม ทุกวัย สามารถมา Hang Out กับเพื่อนฝูง หรือมากันแบบครอบครัว ด้วยร้านค้าที่หลากหลาย กว่า 100 ร้านค้า

 

 

ตัวแปรที่จะทำให้ คอมมูนิตี้มอลล์ นั้น ๆ ประสบความสำเร็จ เม็ดเงินสะพัดในโครงการฯ นั้น ๆ เช่น..

• ทำเล (Location) มีส่วนอย่างมาก โดย คอมมูนิตี้มอลล์ ต้องอยู่ในทำเลดีเท่านั้น ดังนั้น กลุ่มนักลงทุน ต้องศึกษาทำเลโซนนั้น ๆ ก่อนว่า ความหนาแน่นของชุมชนและประชากรโดยรอบทำเลที่จะสร้างโครงการเป็นอย่างไร

เช่น จำนวนประชากรที่พักอาศัยในโซนนั้น และคนต่างถิ่นที่เดินทางมาทำงานในโซนนั้น ๆ และต้องมีจำนวนมากพอ ที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของคนตลอดทั้งวัน และทุกวัน ทั้งยังต้องเป็นทำเลที่มีการเดินทางสะดวก ง่ายต่อการเข้า - ออก ด้วยเช่นกัน


• ต้องมีคอนเซ็ปต์ (Concept) โดย คอมมูนิตี้มอลล์ ต้องแตกต่างและมีความชัดเจน มิเช่นนั้น จะไม่สามารถดึงดูดให้คนเข้ามาเดิน และหากเปิดไปสักพัก แล้วเกิดมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มาตั้งอยู่ในย่านเดียวกันจะยิ่งยากต่อการแข่งขัน


• แรงดึงดูดผู้คน (Motivation) คือ แรงดึงดูดให้คนสนใจซึ่ง คอมมูนิตี้มอลล์ ต้องมีแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดคนให้สนใจ 3 องค์ประกอบได้แก่

1.) ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม, Sport complex , Fitness center, โรงเรียนกวดวิชาสำหรับเด็ก, ร้านทำผม-เสริมสวย, คลินิกความงาม ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ และถ้ามีร้านอาหาร – ร้านเครื่องดื่มที่เป็นแบรนด์ใหญ่ มาร่วมเปิดในโครงการ จะเป็น Key Magnet ดึงคนให้เข้ามามากขึ้น

2.) บริการทางการเงิน เช่น ตู้กดเงิน (ATM) , ธนาคาร ที่เปิดให้บริการใน คอมมูนิตี้มอลล์ เป็นต้น

3.) ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ให้ผู้บริโภคสามารถแวะเวียนซื้อของใน คอมมูนิตี้มอลล์ ได้ตลอด

* เพราะทั้ง 3 สิ่งนี้ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนได้เป็นอย่างมาก


• ระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานของโครงการฯ (Have a good management system) กล่าวคือ การมีระบบการบริหารจัดการที่ดี และเข้าใจความต้องการของทั้งผู้ประกอบการ ที่เช่าพื้นที่เปิดร้านค้า และกลุ่มลูกค้า ตัวอย่างเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จอดรถที่เพียงพอ, ห้องน้ำที่สะอาด, บันไดเลื่อน, ลิฟท์ (หากเป็นขนาดใหญ่) , มีแผนกประชาสัมพันธ์, ระบบ CCTV ฯลฯ

 


บทสรุป โอกาสเติบโตของ คอมมูนิตี้มอลล์ ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์เติบโตในแต่ละปีอยู่พอสมควรเฉลี่ย 5-10% ต่อไป แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงหลายอย่าง ดูได้จาก คอมมูนิตี้มอลล์ หลาย ๆ ที่คนเดินบางตา เงียบเหงา ไม่คึกคักก็มีอยู่จำนวนไม่น้อย

ทว่า..ในมุมของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจที่พร้อมด้านศักยภาพเรื่องเงินทุนและทำเล หากคิดจะดำเนินการจัดสร้าง ก็ควรมีที่ปรึกษาซึ่งเชี่ยวชาญในการลงทุนธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณทำธุรกิจนี้ได้ถูกต้องตามหลักการมากขึ้น และลดความเสี่ยง ถ้าหากทำแล้วดึงคนเข้ามาไม่ได้ตามเป้าที่คิดไว้อีกด้วย

แต่ที่แน่ ๆ คือ การลงทุนในธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ นั้น ต้องใช้เงินสูงมาก ขั้นต่ำ 10 ล้านบาทขึ้นไป เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจนี้ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ หรือกลุ่มทุนที่คร่ำหวอดในด้านอสังหาริมทรัพย์มาก่อนบ้างแล้ว จึงจะมีวิสัยทัศน์และประเมินปัจจัยต่าง ๆ หลายอย่างว่าคุ้มค่าและคืนทุนได้ช้าเร็วแค่ไหนก่อนที่คิดจะจัดสร้าง

 


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร? คนเชื่อมั่นในตัวเองถึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากว่าคนอื่น

“ความสำเร็จ” เป็นเส้นทางมุ่งหวังที่ใครหลายคนอยากจะทำให้ได้สักครั้งกับเรื่องราวที่ตั้งเป้าหมายไว้ในชีวิต เพราะมันคือความคุ้มค่ากับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความพยายาม

SmartSME Line