วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

“สุกี้ตี๋น้อย” แจกโบนัสพนักงาน 2.5 เท่า เงินขวัญถุง 5,000 บาท เมื่อผลลัพธ์ดีต้องมีอะไรตอบแทน

by Anirut.j, 21 กุมภาพันธ์ 2567

รู้หรือไม่ในปี 2566 ที่ผ่านมา “สุกี้ตี๋น้อย” ภายใต้การบริหารของบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ทำรายได้รวมไปทั้งสิ้น 5,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน และมีกำไร 913 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ด้วยธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแบบนี้ทำให้ “สุกี้ตี๋น้อย” ประกาศข่าวดีให้กับพนักงานกว่า 2,300 คน รับไปเลยโบนัส 2.5 เท่าของรายได้รวมต่อเดือน ไม่เพียงเท่านั้น ยังแจกเงินขวัญถุงเป็นของขวัญปีใหม่ย้อนหลังให้พนักงานอีกคนละ 5,000 บาท กว่า 2,500 คน รวมแล้วเป็นงบกว่า 110 ล้านบาท

แม้จะเริ่มต้นทำธุรกิจมาเพียงไม่กี่ปี แต่แบรนด์ “สุกี้ตี๋น้อย” ได้ติดตลาดไปเป็นที่เรียบร้อย และเข้าไปอยู่ในใจ เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ หากอยากรับประทานอาหารประเภทนี้ รวมถึงการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ขยายไปสาขาไปตามพื้นที่ต่าง ๆ นอกเหนือจากกรุงเทพฯ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ตลอดจนราคาที่เข้าถึงง่ายแบบบุฟเฟต์ เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าทำไม “สุกี้ตี๋น้อย” ถึงเดินทางมาไกลได้เพียงนี้

ผลประกอบการ บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด

-ปี 2562 รายได้รวม 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
-ปี 2563 รายได้รวม 1,233 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
-ปี 2564 รายได้รวม 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
-ปี 2565 รายได้รวม 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท
-ปี 2566 รายได้รวม 5,244 ล้านบาท กำไร 931 ล้านบาท

เมื่อนำผลประกอบตลอดระยะเวลาทำธุรกิจมารวมกัน พบว่า “สุกี้ตี๋น้อย” มีรายได้รวมกว่า 12,000 ล้านบาท กำไรกว่า 1,800 ล้านบาท

ในมุมมองของการบริหารของคุณนัทธมน พิศาลกิจวนิช กรรมการผู้จัดการ นั้น เจ้าตัวมองว่า พนักงานทุกคนเป็นเฟืองสำคัญของธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงานบริการ แม่บ้าน พนักงานล้างจาน ทุกหน้าที่สำคัญมีส่วนสำคัญหมดที่ทำให้ “สุกี้ตี๋น้อย” เติบโต โดยเป้าหมายสูงสุดคือพยายามดูแลพนักงานให้ดียิ่งขึ้น มีความสุขไปกับการทำงาน และเห็นเป้าหมายของธุรกิจที่จะไปให้ถึง ซึ่งหน้าที่ของผู้บริการไม่ใช่แค่ดูแลลูกค้า แต่ต้องดูแลพนักงานด้วยเช่นกัน

ย้อนกลับไปในปี 2565 “สุกี้ตี๋น้อย” ก็ประกาศจ่ายโบนัส 2 เท่าของรายได้รวมต่อเดือนให้พนักงานกว่า 1,200 คน และแจกเงินขวัญถุงเป็นของขวัญปีใหม่ย้อนให้กับพนักงาน 7,000 บาท รวมกว่า 3,700 คน โดยใช้งบประมาณทั้งหมด 55 ล้านบาท

แน่นอนว่าการแจกโบนัสบวกกับเงินขวัญย่อมสร้างกำลังใจให้กับคนทำงานเป็นอย่างดี ลองคิดดูว่าเราทำงานเป็นระยะเวลา 1 ปี สิ่งที่ลงมือทำไปควรมีอะไรย้อนกลับไปมาตอบแทนบ้างไม่มากก็น้อย หากผลตอบแทนสมน้ำสมเนื้อย่อมทำให้พวกเขามีความตั้งใจกับหน้าที่ที่ทำ และอยากร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับองค์กรต่อไปเรื่อย ๆ เพราะมองแล้วว่ามีอนาคต มีความมั่นคงในธุรกิจ

มองในมุมการทำธุรกิจ “สุกี้ตี๋น้อย” ไม่ได้ขายแค่สุกี้เพียงอย่างเดียว แต่มีบริการใหม่ ๆ ออกมา เช่น “ข้าวแกงตี๋น้อยปันสุข” โดยเป็นการต่อยอดจากการนำวัตถุดิบจาก “สุกี้ตี๋น้อย” มาทำเป็นกับข้าว ขายราคาเริ่มต้นที่ 39 บาท, Teenoi Express สุกี้บุฟเฟต์ อร่อยไม่อั้น ราคาเดียว 439 บาท เหล่านี้เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า เกิดบริการใหม่ที่ไม่ซ้ำ จำเจไปจากเดิม

ส่วนในแง่ของการร่วมทุน JMART เข้าถือหุ้นในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) ซึ่งทำธุรกิจแบรนด์สุกี้ตี๋น้อยจำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% มูลค่ารวมไม่เกิน 1,200 ล้านบาท โดยในปี 2566 บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการเข้าถือหุ้น Teenoi คิดเป็น 274 ล้านบาท จากกำไรสุทธิรวม 913 ล้านบาท

ทั้งนี้ “สุกี้ตี๋น้อย” มีสาขารวมทั้งหมด 55 สาขา (ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2566) โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้น จำนวน 13 สาขา ซึ่งสาขาที่เปิดเพิ่มมีส่วนหนึ่งที่เริ่มขยายออกไปต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี สุพรรณบุรี และนครราชสีมา เป็นต้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line