วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

ทำไม? ขายสินค้าแบรนด์เนมไม่ปังในออนไลน์

by Smart SME, 26 ธันวาคม 2559

การใช้งานอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียที่มีการเติบโตขึ้น ได้มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทย  ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าแบรนด์เนมในยุคดิจิทัล พบว่าอินเตอร์เนตมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าแบรนด์เนมเป็นอย่างมาก โดยก่อนที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าแบรนด์เนม 68% หาข้อมูลทางอินเตอร์เนตก่อนตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้าอะไร แต่ 72% ของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมยังคงอยู่ที่ร้านหรือสโตร์ แม้ว่าการให้บริการของพนักงานร้านค้าแบรนด์เนมจะ "ไม่น่าประทับใจ" แต่สัดส่วนการซื้อสินค้าแบรนด์เนมยังคงอยู่ที่ร้านหรือสโตร์อยู่มากทีเดียว  สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ไม่สามารถสัมผัสหรือรู้สึกสินค้านั้นๆ ได้ (50%) กลัวสินค้าปลอม (48%) และไม่มั่นใจในเวบไซต์ (24%) ดังนั้น การให้บริการที่ดีหน้าร้านก็ยังคงมีความสำคัญไม่ต่างจากเดิม และยิ่งจำเป็นมากในการช่วยผลักดันให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าในขั้นตอนสุดท้าย การให้บริการที่ดีอาจจะนำไปสู่การขายที่รวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เขาอยากได้ก่อนที่จะมาที่ร้านอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันการให้บริการที่แย่ก็อาจจะยับยั้งผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าอย่างถาวร  เหล่าแบรนด์เนมทั้งหลายจึงจำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ รวมถึงการสร้างช่องทางออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อบริหารการสื่อสารของแบรนด์         ด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโต และมีกำลังซื้อที่มากขึ้นในยุคดิจิทัลนี้ แบรนด์เนมทั้งหลายมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องโฟกัสไปที่การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ โดย 65% ของกลุ่มผู้บริโภคระบุว่า พวกเขามีความสนใจที่จะซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ในอนาคตอันใกล้ ทางแบรนด์เองก็จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการขายสินค้าทั้งในสโตร์และออนไลน์เพื่อที่จะจับกลุ่มเป้าหมายนี้ให้ได้ ขอบคุณผลสำรวจจากอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส เช็ค


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

SmartSME Line