วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

"เลือกแฟรนไชส์ลงทุนอย่างมืออาชีพ" กับงาน “SMART SME EXPO 2017”

by Smart SME, 1 กรกฎาคม 2560

อาจารย์หนุ่มไฟแรงสุดแนว ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์การเงินและแฟรนไชส์ที่มาพร้อมกับการให้ความรู้ SME ภายในงาน “SMART SME EXPO 2017” เริ่มต้นตั้งคำถามกับ SME ในงานว่า รู้จักแฟรนไชส์แค่ไหน?
กูรูผู้เชี่ยวชาญเรื่องการวางแผนกลยุทธ์การเงินธุุรกิจและแฟรนไชส์ อธิบายความหมายของแฟรนไชส์ว่า แฟรนไชส์เป็นรูปแบบธุรกิจที่มีการตลาด มีลูกค้า สินค้า และแบรนด์ แฟรนไชส์จึงเป็นธุรกิจที่พร้อมแล้วทุกอย่างแต่ไม่มีกำลังมากพอที่จะขยายทุกธุรกิจไปยังทุกพื้นที่ได้ ระบบแฟรนไชส์หมายถึงระบบธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการที่และขยายโอกาสฐานลูกค้าที่เข้าไม่ถึงสินค้า ส่งผลให้เป็นการกระจายรายได้และโอกาสทุกคน ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จทุกคน "แฟรนไชส์ซอร์เป็นเจ้าของแบรนด์ ขณะที่แฟรนไชส์กซีเป็นผู้ซื้อสิทธิ์หรือนักลงทุน แฟรนไชส์ซีจึงได้สิทธิ์ต่างๆ ทั้งความรู้กระบวนการ ตลาด และสิทธิ์ต่างๆ ในแบรนด์ โดยจ่ายเงินซื้อและต้องทำตามทุกอย่างที่เจ้าของแบรนด์หรือแฟรนไชส์ซอร์ทำมา ผ่านคู่มือที่ทำงานส่งเสริมซึ่งกันและกัน" "ข้อดีของแฟรนไชส์คือลดความเสี่ยงการเริ่มต้นธุรกิจ ได้ประโยชน์จาก Branding และแผนการตลาดที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ" "ประหยัดเวลาและเงินไม่ต้องลองผิดลองถูก ได้รับความรู้ทางลัด เรียนแล้วปฏิบัติได้เลย ได้รับข้อเสนอและระบบธุรกิจวิจัย อย่างไรก็ตามข้อเสียอย่างเดียวของระบบแฟรนไชส์ คือ ไม่มีอิสรภาพในการดำเนินธุรกิจ" อาจารย์เศรษฐพงศ์ ยังเตือน SME อีกว่า ระบบแฟรนไชส์ไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ บางรายประสบความสำเร็จมากกว่าเจ้าของแฟรนไชส์อีกด้วยซ้ำ ข้อระวังของระบบแฟรนไชส์จึงเป็นระบบที่ค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนสูง คำถามที่ว่าแฟรนไชส์เหมาะสมกับคุณมากแค่ไหน อยากให้กลับไปคิดว่า แฟรนไชส์ที่ซื้อมาไม่ใช่ของคุณเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คุณอาจเริ่มต้นเรียนรู้การบริหารและจัดการ คุณจะได้เรียนรู้ระบบต่างๆ ได้กลุ่มเป้าหมาย ได้แบรนด์ แต่คุณต้องกลับมาคิดว่าแฟรนไชส์ไม่ใช่ของคุณ ไม่ใช่หลักทรัพย์ไม่ใช่สินทรัพย์ ไม่สามารถเปลี่ยนป้ายหรือซื้อของจากที่อื่นมาขายได้ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสัญญาและข้อกฎหมายที่เจ้าของแฟรนไชส์ขายให้ SME ว่า SME สามารถรับได้และยินยอมทำตามได้มากน้อยเพียงใด “เลือกแฟรนไชส์ลงทุนอย่างมืออาชีพจึงต้องคำนึงถึงเรื่องกฎหมายสัญญา (R&D) ภาพลักษณ์ (Brand)  ระบบการทีมสนับสนุน (Support) และการสร้างการรับรู้ (Awareness) ต้องดี ด้านข้อผิดพลาดในการเลือกลงทุน
  1. ไม่ศึกษาความต้องการของตลาด
  2. ไม่มีการวางแผน (เชื่อคนง่าย)
  3. 3.ไม่ชอบถาม (คิดว่าตัวเองเก่งแล้วรู้แล้ว)
  4. เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีค่าน้อยเกินไป (ผลตอบแทนจึงตอบกลับมาน้อย)
ปัจจัยในการเลือกลงทุนแฟรนไชส์ SME ต้องดูความต้องการในพื้นที่ (Demand) ว่าพื้นที่ที่ลงทุนไปตลาดมีความต้องการหรือไม่ อีกอย่างคือต้องตรวจสอบระดับการแข่งขันด้วย ชื่อเสียงของแฟรนไชส์ โดยไม่ลืมที่จะพิจารณาเรื่องเงินลงทุน อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ทั้งหมดทั้งมวลอาจเรียกได้ว่า การทำแผนธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากหากไม่อยากลงทุนไปแล้วเสียเงินไปโดยไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ กลับมาเลย

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line