วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

หวั่นภาษีเหล้า-บุหรี่ใหม่ทำไทยโดนข้อหากีดกันทางการค้า

by Smart SME, 4 กันยายน 2560

รศ. ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นต่อกรณีกระแสข่าวเรื่องการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้กลุ่มสุรา-ยาสูบที่จะมีการนำเสนอเข้าครม. ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าโดยเตือนถึงโครงสร้างการจัดเก็บที่ยกเว้นภาษีขามูลค่าเพื่อหนุนผู้ประกอบการในประเทศ หวั่นไทยโดนข้อหากีดกันทางการค้า กรณีของกลุ่มสินค้าไวน์ที่มีการนำเสนอในกระแสข่าวซึ่งจะมีการปรับเกณฑ์การยกเว้นการเก็บภาษีตามฐานมูลค่าจากปัจจุบันที่ใช้เกณฑ์ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายขวดละไม่เกิน 600 บาท มาเป็นเกณฑ์ราคาขายปลีกขวดละไม่เกิน 1,000 บาท นั้น ถือว่าไม่เป็นไปตามหลักความเป็นธรรม อีกทั้งอัตราภาษีตามมูลค่าย่อมแปรผันตามราคาอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะใช้ราคาเป็นเกณฑ์ยกเว้นภาษีตามมูลค่าอีก "น่าเสียดายที่การปฏิรูปในครั้งนี้ยังไม่เลิกระบบที่ซับซ้อนและบิดเบือนกลไกตลาดเช่นนี้ การที่รัฐให้เหตุผลว่าการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อหนุนผู้ผลิตไวน์ในประเทศที่มีอยู่ราว 6-7 ราย ถือเป็นนโยบายที่สุ่มเสี่ยงขัดความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) เพราะกติกาการค้าระหว่างประเทศก็คือห้ามใช้มาตรการใดๆ ในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากการแข่งขันของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงอยากให้กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังพิจารณาในจุดนี้ให้ดี การสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่เอื้อให้กับผู้ผลิตในประเทศอาจถูกคู่ค้าต่างชาติตั้งคำถามในประเด็น trade discrimination หรือ การกีดกันทางการค้า" รศ.ดร.อรรถกฤตกล่าว ระบบภาษีสรรพสามิตที่ดีควรมีโครงสร้างที่เรียบง่าย ทันสมัยและยึดหลักปฏิบัติตามหลักสากล ตอนนี้เหลือสินค้ากลุ่มสุราและยาสูบที่ยังรอลุ้นอัตราภาษีใหม่อยู่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสุราหรือยาสูบก็ใช้หลักเดียวกัน คือเก็บภาษีตามผลต่อสุขภาพเป็นหลัก นั่นคือต้องวัดกันตามปริมาณไม่ใช่ราคา หากโครงสร้างภาษีใหม่เปิดช่องให้ของราคาถูกจ่ายภาษีถูกกว่าของราคาแพงแล้ว โดยเฉพาะหากมีการใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งขั้นอัตราภาษี สิ่งที่จะตามมาคือการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสุราและยาสูบราคาถูกแน่นอน ซึ่งจะถูกมองว่าเป็นการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือเอื้อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และจะทำให้การปฏิรูปครั้งนี้ไม่สง่างาม สำหรับอุตสาหกรรมยาสูบ ก็มีผู้ผลิตในประเทศรายใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ หวังว่าภาครัฐคงพิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งสองขา คือ มูลค่าและปริมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเสมอภาค เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยรัฐไม่ควรให้น้ำหนักเรื่องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศในการจัดเก็บด้วยเหตุผลที่บอกไป แต่ควรจะมองไปที่วัตถุประสงค์เรื่องสุขภาพและควบคุมการบริโภคด้วยระบบภาษีที่ไม่สร้างความเลื่อมล้ำด้านราคามากกว่า

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line