วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

ดีจริงๆ นะ SME ที่เข้าระบบภาษี ประโยชน์เพียบ!

by Smart SME, 22 กันยายน 2561

รัฐบาลเตรียมคลอดแพ็กเกจช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หวังดึงเข้าระบบภาษีอย่างถูกต้อง ชูสิทธิประโยชน์จากการค้ำประกันสินเชื่อ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แถมได้คืนภาษีเร็วขึ้น นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 เดือน รัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อเข้ามามาอยู่ในระบบภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น "หลักการของมาตรการก็เหมือนกับการทำบัตรเครดิต ที่ผู้ใช้บัตรยอมจ่ายค่าบัตรปีละ 4 พันบาท เพราะรู้สึกคุ้มกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับการกลับมา ไม่ว่าจะเป็นจอดรถฟรี ได้ออกกำลังกาย ได้คูปองซื้อสินค้าต่าง ๆ รวมถึงการสะสมแต้มเพื่อใช้ซื้อสินค้าในอนาคตเป็นต้น" นายกอบศักดิ์ กล่าว สำหรับมาตรการจูงใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผ่านมาได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขยาดย่อม (บสย.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมถึงกองทุนที่ตั้งขึ้นมาช่วยเหลือผู้ประกอบการจำนวนมาก ให้มีการทำงานที่บูรณาการกันมากขึ้น ทั้งนี้ แรงจูงใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเริ่มตั้งแต่การเข้ามาอยู่ในระบบภาษีและทำบัญชีเดียว และให้แรงจูงใจตามขนาดของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยวัดตามจากการทำกำไร เช่น เริ่มมีกำไรเกิน 3 แสนบาท ซึ่งจะต้องเริ่มเสียภาษี ก็อาจจะได้สิทธิประโยชน์จากค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. เพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มมีกำไร 1-2 ล้านบาท ก็อาจจะได้สิทธิเพิ่ม เช่น ได้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจาก ธพว. ได้คืนภาษีเร็วขึ้น และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีกำไรเกิน 3 ล้านบาท ก็อาจจะได้รับการฝึกอบรมที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อนำไปเปิดตัวขยายธุรกิจต่างประเทศ โดยรัฐบาลอาจจะออกค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง "หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการสรุปแพ็กเกจแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เริ่มต้นจากทำบัญชีเดียวถึงสามารถเข้าสู่แพ็กเกจนี้ได้ หลังจากนั้นหากมีกำไรมากขั้น ก็จะได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น เชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 3 ล้านราย เข้าสู่ระบบภาษีอย่างเต็มใจมากขึ้น ทำให้รัฐบาลได้เก็บภาษีได้เพิ่มและนำเงินส่วนนี้ไปให้สิทธิประโยชน์คืนกลับให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี" นายกอบศักดิ์ กล่าว นายกอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในเดือน ต.ค. 2561 รัฐบาลจะเริ่มสะสางปัญหากฎหมายระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคกับการทำธุรกิจ โดยเบื้องต้นจะให้มีการยกเลิกกฎระเบียบการทำธุรกิจของท้องถิ่นที่มีอยู่ถึง 7 แสนระเบียบ  โดยให้ใช้ระเบียบเดียวกับส่วนกลางที่มีอยู่ 6.5 พันระเบียบ หลังจากนั้นรัฐบาลคัดกรองระเบียบการทำทำธุรกิจ 1 พันระเบียบ ที่มีการทำจำนวนมากและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจขึ้นมาทำก่อน เช่น การทำวีซ่าและการขอใบอนุญาตของคนต่างประเทศ ที่ต้องใช้เอกสารถึง 44 รายการ ก็จะทำให้ง่ายขึ้นลดการใช้เอกสาร และสามารถทำการบนเว็บไซด์จุดเดียวเสร็จ สามารถจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รอรับใบอนุญาตการทำงานโดยไม่ต้องเดินทางมารับ เป็นต้น

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line