วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

ช่องทางอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในจีน

by Smart SME, 10 มีนาคม 2558

         ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในจีน มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ทั้งด้านเทคนิค การผลิต และการทำตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการเครื่องสำอาง มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการผลิตที่ดี รวมทั้งช่องทางการตลาดใหม่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักแบรนด์ใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น
แต่เดิมจีนมีอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเครื่องสำอางเพียงไม่กี่ช่องทาง คือ OEM (Original Equipment Manufacturer) และ ODM (Original Design Manufacturer) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ทั้งด้านเทคนิค การผลิต และการทำตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการเครื่องสำอาง มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการผลิตที่ดี รวมทั้งช่องทางการตลาดใหม่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักแบรนด์ใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น ช่องทางการตลาดใหม่ในจีนที่กล่าวมาคือ ช่องทางสื่อสารการตลาดทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมี 2 ช่องทางดังนี้
 
1. ช่องทางตลาดแบบ O to O (Online To Offline) เป็นรูปแบบพิเศษของ B to C (Business-to-Customer) มีความจำเป็นมากในการบุกตลาดผู้บริโภครุ่นใหม่ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความนิยมในการซื้อสินค้า Online เพราะเชื่อว่าราคาถูกกว่าซื้อสินค้าที่หน้าร้าน แต่ทั้งนี้การสร้างเชื่อมั่นของสินค้า ยังคงต้องการหน้าร้านในการแสดงสินค้า ให้ผู้บริโภคสามารถทดลองสินค้าด้วยตัวเอง ทำให้รูปแบบการค้าแบบ O to O เป็นช่องทางสำคัญในตลาดเครื่องสำอางที่จีน
 
2. ช่องทางตลาดผ่าน Application เป็นรูปแบบการประชาสัมพันธ์ แบรนด์ใหม่ในตลาด เกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะสังคมที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางใหม่ ๆ เช่น ช่องทางการขายผ่าน Wechat ที่เป็นช่องทางการขายที่ดีที่สุดตลาด Online และโฆษณาสินค้าผ่านการ Share โดยการแชร์ภาพ และประสบการณ์การใช้งานต่าง ๆ ผ่าน Application
 
        นอกจากนี้ระบบการขนส่งสินค้าในประเทศจีน โดยเฉพาะการขนส่งพัสดุแบบด่วน สามารถรองรับการพัฒนาการค้า Online ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการไทยที่วางแผนจะทำการตลาดในประเทศจีน การค้ารูปแบบ Online เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรศึกษารูปแบบการตลาดใหม่ ทั้ง E-Commerce และระบบการขนส่งสินค้าแบบครบวงจรของจีน ให้เป็นอย่างดีก่อนลงมือทำตลาดจริง
 
 
สาธารณรัฐประชาชนจีน สคร. ซีอาน

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line