วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

เหตุใดปี 2019 จึงเป็นปีทอง Startup ของอาเซียน

by Anirut.j, 18 กุมภาพันธ์ 2562

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกจับตามองเป็นอย่างมากว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคต และจะกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจโลกต่อไปเลยทีเดียว

โดยสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, กัมพูชา, เวียดนาม, ไทย, บรูไน, สปป.ลาว, เมียนมา และฟิลิปปินส์ ต่างมีโปรเจคต์ที่คาดการณ์ว่าจะทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นตลาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกให้ได้ภายในปี 2020 นี้ เช่นเดียวกับบริษัทท้องถิ่นที่เป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งตอนนี้มีเหล่า Startup ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นระดับยูนิคอร์น 8 รายด้วยกัน เช่น Grab บริษัทที่ให้บริการด้านขนส่งสาธารณะซึ่งสามารถเอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง Uber ก่อนปี 2018

การเติบโตของเหล่า Startup พวกเขาไม่ได้มองแต่พื้นที่ในภูมิภาคของตัวเองอีกต่อไป แต่ต้องการที่จะขยายตลาดออกไปในประเทศอื่นๆ มากขึ้น ซึ่ง Tech startup ยังถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของภูมิภาคเติบโต และนี่คือการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 นี้

ความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม

ความท้าทายที่สำคัญของเหล่า Startup คือการมองหาลู่ทางที่จะนำผลิตภัณฑ์ หรือบริการขยายตลาดออกไปสู่ระดับสากล ซึ่งพวกเขาไม่กลัวที่จะเอาชนะอุปสรรคดังกล่าว เพราะคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายเป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีมากกว่า 700 ภาษาที่ใช้พูดคุยกันใน 17,000 เกาะ

ด้านภูมิศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เห็นได้อย่างชัดเจน คือสิงคโปร์ที่มีประชากรหนาแน่นมากกว่า 5 ล้านคนในพื้นที่เพียงแค่ 278 ตารางไมล์ ซึ่งแตกต่างกับอินโดนีเซียอย่างเห็นได้ชัด เหล่านี้จึงนำมาสู่กำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย โดยตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่ร่ำรวยมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อดูจาก GDP ต่อหัวของคนสิงคโปร์ มากกว่าอินโดนีเซียกว่า 9 เท่า และมากกว่าเวียดนาม 24 เท่า

นอกจากนี้ ในเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นดูได้จาก สปป.ลาว ที่ผู้คนเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ 23% ถึง 80% ในสิงคโปร์ จึงทำให้ Startup สามารถวางแผนขยายผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งการขาย, การทำการตลาด สำหรับความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมในแต่ละประเทศ เช่น Go-Jek สร้างโมเดลธุรกิจที่สามารถใช้งานในถนนที่มีผู้คนพลุกพล่านของกรุงจากาตาร์ และในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีถนนลาดยาง ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทยังวางแผนที่จะขยายตลาดออกไปในประเทศอื่นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ด้าน Traveloka แอปพลิเคชันจองตั๋วเครื่องบิน และที่พักราคาถูก เตรียมขยายบริการออกไปในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอีก โดยการลงทุน 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการสนับสนุนของ Expedia

คนท้องถิ่นเดินทางกลับประเทศ

ทุกวันนี้ เศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการดึงดูดให้นักลงทุนกลับมาทำธุรกิจในแผ่นดินเกิดของตัวเอง โดยชาวสิงคโปร์ 6 ใน 100 คนอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศพัฒนาอื่นๆ อย่างออสเตรเลีย, สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของบริษัท Robert Walters พบว่า ชาวสิงคโปร์ 82% ทำงานอยู่ในต่างประเทศ และพวกเขาจะกลับมาเมื่อได้รับโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีระดับยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Google และ Alibaba ที่ขยายธุรกิจ พร้อมเปิดบริการใหม่ๆ ในสิงคโปร์ โดยตอนนี้นักวิศวกรซอฟต์แวร์ และนักพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นที่ต้องการอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้คนสิงคโปร์ที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ เดินทางกลับมาทำงานประเทศของตัวเอง

นวัตกรรมช่วยแก้ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพ

แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังกลับพบความไร้ประสิทธิภาพของระบบการทำงาน ดูได้จากมีประชาชน 27% ในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ที่มีบัญชีธนาคาร และมากกว่า 400 ล้านคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร

อย่างไรก็ตาม ช่องว่างเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีได้ โดย Grab, Go-Jek และ DHL มีความคิดริเริ่มในการให้บริการทางการเงินสำหรับคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร อีกทั้งจำนวนฟินเทคในภูมิภาคที่เติบโตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน

นอกจากนี้ หลายธนาคารในภูมิภาคไม่สามารถปล่อยกู้ให้กับบุคคลส่วนใหญ่ได้ เพราะว่าขาดโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลที่ดี ตามรายงานของ Credit Suisse ในเดือนตุลาคม 2017 พบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรชาวไทยไม่ถูกธนาคารอนุญาตปล่อยกู้ ทำให้นำไปสู่การไปกู้เงินในรูปแบบอื่นๆ ทดแทน

อีกหนึ่งเรื่องที่เห็นได้ชัดเจน คือการเกิดขึ้นของสินเชื่อระดับกลาง ที่ช่วยระดมทุนโดยไม่มีหลักประกันมากขึ้น เพื่อช่วยให้บริษัทมีสิทธิ์เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ดังนั้นจึงมี Startup ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจ แก้ปัญหาในด้านนี้มากยิ่งขึ้น เช่น Finaxar ที่ช่วยธุรกิจขนาดเล็ก เป็นเพื่อนคู่คิดในการเลือกสินเชื่อผ่านการรวบรวมข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม รวมถึงการรวมตัวกันของบริษัท AI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาของการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพทางด้านการเงินมากขึ้น

จากปัจจัยเหล่านี้ จึงกลายมาเป็นระบบ ecosystem ที่ส่งเสริมต่อการทำ Startup ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระบวนการขยายตัวของภูมิภาคจะช่วยให้บริษัทด้านเทคโนโลยีประสบความสำเร็จมากที่สุดกับการได้รับทักษะที่จะขยายตลาดออกไปทั่วโลก ดังนั้นในปี 2019 จึงเป็นเวลาอันเหมาะสมที่เหล่าบริษัท Startup จะยกระดับ ก้าวสู่ระดับโลกสักที

ข้อมูล

https://www.techinasia.com/2019-pivotal-year-southeast-asia-startups 


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line