วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2567

ทำความรู้จัก “Lonely Market” การตลาดที่เหมาะกับการเจาะกลุ่มคนเหงาในวันวาเลนไทน์

by Anirut.j, 14 กุมภาพันธ์ 2563

แม้ว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีจะเป็นวันวาเลนไทน์ที่คู่รักต่าง ๆ ได้แสดงความรักที่มีต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น การซื้อของขวัญ, การให้ดอกไม้ หรือการพาไปรับประทานอาหารอร่อย ๆ

แต่อีกด้านหนึ่งที่นักทำการตลาดไม่ควรมองข้ามที่เรียกว่ากลุ่มคนเหงากลับมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การตลาดคนเหงา (Lonely Market) จึงเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ของกลุ่มคนเหล่านี้ โดยบทความนี้ Smartsme จะพาไปย้อนดูข้อมูลงานวิจัย “การตลาดคนเหงา” ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)

งานวิจัยดังกล่าว ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนตัวเลขคนเหงาสูงกว่า 26.75 ล้านคน ซึ่งกลุ่มที่มีภาวะความเหงาสูงสุด ได้แก่ วัยรุ่น คิดเป็นร้อยละ 33 และวัยทำงาน คิดเป็นร้อยละ 34.7 ซึ่งกิจกรรมหลักที่พวกเขามักทำกัน คือ การเล่นโซเชียลมีเดีย, เข้าร้านอาหารหรือคาเฟ่ และการช้อปปิ้ง

3 พฤติกรรมที่คนเหงามักทำกัน ดังต่อไปนี้

  • เล่นโซเชียลมีเดีย เป็นวิธีช่วยคลายเหงา ที่เข้าถึงง่าย สามารถสร้างความรู้สึกร่วมกับสังคมเสมือนบนออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมถึงยังเป็นหนึ่งในวิธีการแก้เหงาที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
  • รับประทานอาหารในร้านอาหารหรือคาเฟ่ หนึ่งกิจกรรมที่มอบความสุขให้กับตัวเอง ไปพร้อมกับการมีผู้คนอยู่รอบตัว ซึ่งช่วยลดทอนบรรยากาศ และความรู้สึกโดดเดี่ยว
  • การช้อปปิ้ง ซึ่งนอกจากจะช่วยหลบหนีความรู้สึกด้านลบในจิตใจแล้ว ยังตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ได้เช่นเดียวกับการไปร้านอาหารหรือคาเฟ่ รวมถึงใช้ความพยายาม และค่าใช้จ่าย ในการทำกิจกรรมน้อยที่สุด”

นอกจากนี้ ข้อมูลงานวิจัยการตลาดในกลุ่มคนเหงา ในประเทศไทย ของวิทยาลัยฯ ที่พบว่าร้อยละ 40.4 หรือราว 1 ใน 3 ของกลุ่มสำรวจประสบภาวะความเหงาในระดับสูง โดยช่วงอายุที่มีแนวโน้มความเหงาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 23 – 40 ปี ครองอันดับสูงสุดถึงร้อยละ 49.3 เยาวชนวัยเรียน อายุระหว่าง 18 – 22 ปี ร้อยละ 41.8 และ วัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 41 – 60 ปี ร้อยละ 33.6 ในขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี กลับประสบภาวะความเหงาเพียงร้อยละ 24.5 เนื่องจากมีความพร้อมด้านการจัดการอารมณ์ และรายได้เพื่อใช้ในการประกอบกิจกรรมแก้เหงาเพิ่มสูงขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์ว่าตลาดคนเหงาจะขยายตัวในประเทศไทย และสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาเพื่อรองรับ และตอบโจทย์พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ได้ ดังต่อไปนี้


 

 


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

SmartSME Line