วันอังคาร, เมษายน 30, 2567

ดีหรือไม่? หากใช้คนดัง-เซเลปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ทำการตลาดให้ธุรกิจ

by Anirut.j, 3 เมษายน 2567

การใช้คนดัง หรือบุคคลที่เป็นเซเลปที่คนทั่วไปรู้จักมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์สินค้า ถือว่าเป็นทางลัดทางกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้จักกับแบรนด์ของผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะคนเหล่านี้สามารถเพิ่มเสน่ห์ สร้างความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลต่อแคมเปญที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน เพราะอีกมุมหนึ่งก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน หากวางแผนทำการตลาดผิดพลาดย่อมมีความเสี่ยงที่มาสามารถคาดเดาได้เช่นกัน

Smartsme จะพามาดูข้อดี-ข้อเสีย การใช้คนดัง-เซเลปทำการตลาด ว่าเป็นอย่างไร

ทำไมแบรนด์ต้องใช้คนดังทำการตลาด

ยกระดับแบรนด์ผ่านการพิสูจน์ทางสังคม

เมื่อคนดังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ผ่านการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ และถูกโฆษณาเผยแพร่ผ่านช่องทางการขาย จะเป็นการสร้างอิมแพคเกิดขึ้นในวงการ คิดภาพง่าย ๆ หากนักกีฬาที่มีชื่อเสียงใส่เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์กีฬาแบรนด์หนึ่ง ก็จะมีแนวโน้มที่แฟนคลับที่ชื่นชอบนักกีฬาคนนั้นจะซื้อสินค้า

สร้างการรับรู้ในระยะยาว

การจ้างคนดังสามารถเพิ่มยอดขายได้ แต่คุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่การมองผลประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งการมีคนดังจะเป็นตรารับรองที่ช่วยยืนยันแบรนด์นั้น ๆ ได้เป็นระยะเวลายาวนาน กรณีตัวอย่าง เมื่อ Nike คว้านักบาสเกตบอลหน้าใหม่อย่าง Michael Jordan หลังจากนั้น Nike กลายเป็นผู้ริเริ่ม และผู้เชี่ยวชาญการผลิตรองเท้าวิ่ง ต่อยอดไปสู่รองเท้าผ้าใบที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล

เปลี่ยนภาพลักษณ์

เราอยากให้แบรนด์เป็นอย่างไร สามารถสื่อสารผ่านตัวคนดังได้ เพราะนี่ตัวตน บุคลิกของแบรนด์อย่างแท้จริง เมื่อผู้บริโภคมองเห็นพรีเซ็นเตอร์คนนี้ ภาพของแบรนด์สินค้าก็ตามมาเอง เหมือนเป็นของคู่กัน

เปิดตลาดใหม่

คนดัง-เซเลป พวกนี้มีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว โดยรวบรวมกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์หลากหลายแบบที่คาดไม่ถึง แน่นอนว่านี่คือช่องทางโฆษณาสินค้าของคุณให้เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ได้

ความเสี่ยงเมื่อใช้คนดังทำการตลาด

แบรนด์ถูกบดบัง

บางครั้งบุคลิกภาพของคนดังที่โดดเด่นมากเกินไป และท้ายที่สุดก็เอาชนะเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยลูกค้าอาจจะจำคนดังได้ แต่จำแบรนด์ไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อค่านิยม และภาพลักษณ์ของแบรนด์กับคนดังไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

เมื่อไม่เชื่อมโยงกันจะกลายเป็นสิ่งหนึ่งโดดเด่นขึ้นมา และการลงทุนในครั้งนี้จะไม่ได้ผลลัพธ์ที่อยากให้เป็น ดังนั้น ควรเลือกคนดังให้เหมาะสมกับแบรนด์

เกิดเรื่องไม่ดีภาพลักษณ์แบรนด์เสียหาย

เราไม่สามารถคาดเดาอะไรที่จะเกิดขึ้นได้ หากวันหนึ่งคนดัง-เซเลป เกิดทำเรื่องไม่ดี หรือมีข่าวเสียหาย ภาพลักษณ์ของแบรนด์จะถูกมองในแง่ลบ และต้องใช้เวลาเพื่อฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง ทั้งทีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย

ที่มา: linkedin

 

Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line