วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

ผลประเมิน SME รายภูมิภาค “เหนือ-อีสาน-กลาง” ฟื้นตัวปีนี้ ส่วน ”ใต้” ลุ้นปีหน้า

by Anirut.j, 18 มิถุนายน 2563

ศึกษาผลประเมิน SME รายภูมิภาคทั่วเมืองไทย หลังโควิด-19 เริ่มอ่อนกำลัง ที่ไหนฟื้นเร็ว ที่ไหนฟื้นช้า มีคำตอบจากบทวิเคราะห์ชิ้นนี้

หากจะถามว่า รัฐบาลกำลังทำอะไรเพื่อฟื้นคืนเศรษฐกิจชาติจากพิษโควิด-19 เชื่อว่าคงมีหลายปัญหาที่ทีมบริหารประเทศต้องการจะแก้ไขให้เร็วที่สุด และให้เดินหน้าด้วยดีที่สุด แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นจะต้องปรากฏว่ามี ผู้ประกอบการ SME อยู่ร่วมในแผนหลักของรัฐบาลด้วย

นั่นเพราะเป้าหมายของรัฐบาล คือการเชื่อมต่อในห่วงโซ่ความเป็นอยู่ผ่านกลไกของ SME ที่ว่าหากธุรกิจของผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย รายกลาง นั้นเดินหน้าต่อไปได้ สิ่งที่ตามมาก็คือการจ้างงาน และนำไปสู่การมีเม็ดเงินหมุนเวียนใช้สอยกันในพื้นที่ของตัวเอง และกระจายรายได้ออกไปเป็นวงกว้าง

ตัวเลขของกลุ่มธุรกิจ SME ในปัจจุบันมีมากถึง 3 ล้านรายกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่จะมีอีกกี่เจ้า และกี่พื้นที่ที่มีโอกาสฟื้นคืน ผสมไปกับการช่วยเหลือของทางภาครัฐ

การวิเคราะห์ที่น่าสนใจถึงประเด็นนี้ จากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ของธนาคารทหารไทย มองมุมนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ก่อนจะเกริ่นเอาไว้ว่า นาทีนี้ถือว่าโควิด-19 มันเริ่มเบาบางและทุเลาความรุนแรงลง จึงนับเป็นสัญญาณที่ดีที่นำไปสู่การปลดล็อกให้ภาคธุรกิจได้เดินหน้า แต่แม้จะปลดล็อกไปบางส่วน หากว่า "ผู้บริโภค" หรือลูกค้าหลักไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยให้ใกล้เคียงกับ "ชีวิตเดิม" ในยุคที่ต้องใช้ชีวิตกันแบบ New Normal ได้มากที่สุดแล้ว SME ก็จะถูกตัดทอนโอกาสฟื้นตัวของตัวเองไปเป็นโดมิโนทันที

ทีนี้ แค่กำลังซื้ออาจจะไม่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของ SME เพราะจากบทวิเคราะห์ชิ้นนี้ทำให้เราเห็นภาพว่า "พื้นที่ - ภูมิภาคที่ตั้ง และประเภทธุรกิจของ SME" ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยประเมินการฟื้นตัวได้เช่นกัน ว่าจะโงหัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หรือค่อยๆ เงยขึ้นโดยต้องใช้เวลา

TMB Analytics ให้ภาพการประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของ SME เกือบ 3 ล้านราย โดยกำหนดในแต่ละภูมิภาค ภายใต้เงื่อนไขของกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าตรงกับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน และปัจจัยเสี่ยงด้านโครงสร้างธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบแม้ว่าจะปลดล็อกเพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้จากรัฐบาล และได้คำตอบออกมา พร้อมกับแบ่งการประเมินโอกาสฟื้นตัวของ SME เอาไว้ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ภูมิภาคที่ SME จะฟื้นได้ทันในปีนี้ (2563) คาดว่า จะมีผู้ประกอบการ SME ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวภายในปีนี้อยู่ที่ 1.73 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน 62% ของ SMEs ทั้งประเทศ แยกออกเป็น

- กลุ่มฟื้นตัวในปีนี้แบบฟื้นเร็ว (ภายใน 3 เดือน) ส่วนมากจะอยู่ที่ “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ” โดยสัดส่วนรายได้ผู้ประกอบการ SME ที่ฟื้นตัวคิดเป็น 14.1% และ 13.2% ของรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ SME ในภูมิภาคนั้นๆ เนื่องจากประเภทธุรกิจของ SME ในสองภูมิภาคนี้ มีความเกี่ยวโยงกับสินค้าที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ที่สำคัญคือมีการพึ่งพิงตลาดในประเทศเป็นหลัก อาทิ เช่น การซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างของภาครัฐ

- กลุ่มฟื้นตัวในปีนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป (ใช้เวลา 3-6 เดือน) ส่วนใหญ่จะอยู่ใน “ภาคกลาง และภาคตะวันออก” โดยการฟื้นตัวคิดเป็น 65.3% และ 62.7% ของรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ SME ในภูมิภาคนั้นๆ ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจในพื้นที่จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปจากการคลายล็อคดาวน์ของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เช่น สินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม การให้บริการทางธุรกิจ การรับเหมาก่อสร้าง ชิ้นส่วนอุปการณ์เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจใช้เวลาพอสมควรในการคลายล็อคดาวน์จะครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มที่ 2 ภูมิภาคที่ SME จะฟื้นในปีหน้า (2564) มีจำนวนผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มนี้อยู่ที่ 1 ล้านรายคิดเป็นสัดส่วน 38% ของจำนวน SME ทั้งประเทศ โดยการฟื้นตัวของธุรกิจจะกระจุกอยู่ใน “ภาคใต้ และภาคตะวันออก” โดยการฟื้นตัวในกลุ่มนี้มีสัดส่วนรายได้ 35.6% และ 27.7% ของรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ SME ในภูมิภาคนั้นๆ ตามลำดับ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีการพึ่งพาการส่งออกบริการและภาคการท่องเที่ยวในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้ที่มีสัดส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ในขณะที่ภาคตะวันออกนอกจากจะมีธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีสัดส่วนของธุรกิจการขนส่งผู้โดยสาร/สินค้า และด้านอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสูง จึงทำให้การฟื้นตัวโดยรวมจะต้องรอกำลังซื้อกลับมาในช่วงปีหน้า โดยกลุ่มฟื้นในปีหน้า

บทวิเคราะห์ชิ้นนี้ สะท้อนอีกว่า SME ที่พอเห็นภาพทิศทางของธุรกิจตัวเอง จะต้องมีความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะการฟื้นตัวของภูมิภาคที่เดินธุรกิจอยู่ ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ไม่อยู่ในการฟื้นตัวของปีนี้ อาจจะเป็นโอกาสที่ได้เร่งมือ เร่งเครื่อง เพื่อหาช่องทางการตลาดไปยังภูมิภาคอื่นที่มีโอกาสฟื้นตัวมากกว่า ซึ่งอาจจะช่วยธุรกิจของตัวเองได้


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร? คนเชื่อมั่นในตัวเองถึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากว่าคนอื่น

“ความสำเร็จ” เป็นเส้นทางมุ่งหวังที่ใครหลายคนอยากจะทำให้ได้สักครั้งกับเรื่องราวที่ตั้งเป้าหมายไว้ในชีวิต เพราะมันคือความคุ้มค่ากับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความพยายาม

SmartSME Line