วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

ย้ำ! ผู้ผลิต-นำเข้า “เพาเวอร์แบงก์” ไร้ มอก. คุก 2 ปี ปรับ 2 ล้าน

by Pagon.p, 4 พฤศจิกายน 2563

สมอ. ย้ำ “เพาเวอร์แบงก์” ต้องได้มาตรฐาน ขีดเส้นตาย 16 พ.ย.นี้ ทุกยี่ห้อทุกชิ้นต้องมีเครื่องหมาย มอก. พบฝ่าฝืนดำเนินคดี จำคุก 2ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท ร้านค้าโดนด้วย จำคุก 5 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สมอ. ได้ประกาศให้เพาเวอร์แบงก์เป็นสินค้าควบคุม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป

ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ผู้ทำหรือผู้นำเข้าเพาเวอร์แบงก์ทุกยี่ห้อทุกชิ้นจะต้องมีเครื่องหมาย มอก. รับรอง หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามกฎหมาย กรณีที่ทำหรือนำเข้าสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับปัจจุบันมีผู้ประกอบการมากกว่า 100 ราย ที่ทำและนำเข้าเพาเวอร์แบงก์ แต่มายื่นขอ มอก. กับ สมอ. แล้ว เพียง 32 ราย แบ่งเป็นผู้ทำในประเทศจำนวน 5 ราย และผู้นำเข้าจำนวน 27 ราย โดย สมอ. อยู่ระหว่างดำเนินการออกใบอนุญาตให้ทันภายในเวลาที่กำหนดคือวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นี้ ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ จึงขอเตือนมายังผู้ประกอบการที่เหลือให้มายื่นขอใบอนุญาต

ทั้งนี้ ยื่นขอการรับรองผ่านทางระบบ e-License บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ที่ www.itisi.go.th ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผลทดสอบผลิตภัณฑ์และผลตรวจโรงงานจะถูกส่งตรงจากห้อง LAB และหน่วยงาน Outsource ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้องมีภาระเรื่องเอกสารดังกล่าว สำหรับการชําระค่าบริการและค่าธรรมเนียมงานบริการด้านอื่น ๆ ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการผ่านระบบ e-Payment ได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาชำระที่ สมอ.

ชําระค่าบริการและค่าธรรมเนียมผ่านทางธนาคารได้ทุกธนาคาร สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น และหากประสงค์ที่จะรับใบอนุญาตทางไปรษณีย์ สมอ. ก็มีบริการส่งให้ทางไปรษณีย์ โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่ สมอ. ซึ่งการบริการทั้งหมดนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจให้ผู้ประกอบการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ สมอ. จะดำเนินการตรวจควบคุมการทำ นำเข้า และจำหน่ายเพาเวอร์แบงก์ในท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งที่จำหน่ายผ่านทางออนไลน์ด้วย หากพบสินค้าไม่ได้มาตรฐานหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะดำเนินการตามกฎหมายทันทีโดยไม่มีข้อยกเว้น สำหรับประชาชนผู้บริโภคให้เลือกซื้อเพาเวอร์แบงก์ที่มีเครื่องหมาย มอก. รับรองเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย และที่สำคัญต้องศึกษาคู่มือวิธีการใช้งานโดยละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line