วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2567

เครื่องหมาย DBD Registered กับ DBD Verified ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน

by Anirut.j, 14 ธันวาคม 2563

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากการมีหน้าร้านสู่ออนไลน์ที่กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ประกอบการเพื่อขายสินค้า ซึ่งเป็นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคปัจจุบัน

การค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ เรื่องของความเชื่อถือ กลายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เพราะด้วยความที่ไม่เห็นหน้าตาของผู้ซื้อ-ผู้ขาย รวมถึงสินค้าจริง ทำให้ต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่ถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพแต่อย่างใด

เรื่องนี้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงขอเครื่องหมายที่เรียกว่า DBD Registered กับ DBD Verified

มาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการอาจจะมีคำถามตามมาว่าเครื่องหมาย DBD Registered กับ DBD Verified มีความแตกต่างกันอย่างไร ขอแบบไหนดีกว่ากัน เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาหาคำตอบกัน

เครื่องหมาย DBD Registered

เครื่องหมาย DBD Registered คือเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้การรับรองว่าผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลได้ยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องหมายนี้จะการันตี สร้างความมั่นใจเวลาผู้บริโภคเข้ามาเลือกซื้อสินค้า

เงื่อนไขสำหรับขอเครื่องหมายรับรอง

  • เป็นบุคคลธรรมดา/นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์, ร้านค้าในอีมาร์เก็ตเพลส, ร้านค้าในสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
  • ผู้ประกอบธุรกิจที่จะใช้เครื่องหมายรับรองต้องแสดงหลักฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์, หนังสือรับรองนิติบุคคล, เอกสารเป็นสมาชิกสมาคมการค้า หอการค้า, เอกสารที่แสดงว่าได้จัดทำร้านค้าออนไลน์แล้ว หรือชื่อทางออนไลน์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (URL) เป็นต้น
  • จำหน่ายสินค้า/บริการที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

เอกสารยื่นเรื่องมีอะไรบ้าง

  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403)
  • สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ ทพ.)
  • สำเนาการจดโดเมน โดยชื่อจดทะเบียนโดเมนต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์
  • สถานที่ยื่นเรื่องขอเครื่องหมาย DBD Registered

ผู้ประกอบการสามารถเดินทางไปยื่นเรื่องด้วยตนเองที่กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจะดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ www.trustmarkthai.com โดยดูคู่มือการขอเครื่องหมายได้ที่ DBD Registered

เครื่องหมาย DBD Verified

เครื่องหมาย DBD Verified คือเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ที่ได้รับเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องจดทะเบียน และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรองรับความน่าเชื่อถือ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้นมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานธุรกิจอีคอมเมิร์ซของกรม

สำหรับเครื่องหมาย DBD Verified จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ด้วยกัน

1. ระดับดี DBD Verified Silver จะออกให้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยผ่านคุณสมบัติ เช่น จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered จัดส่งงบการเงินติดต่อกัน (กรณีเป็นนิติบุคคล) รวมทั้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. ระดับดีมาก DBD Verified Gold จะออกให้แก่ผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะที่เป็นนิติบุคคล โดยผ่านคุณสมบัติ เช่น จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า 1 ปี จัดส่งงบการเงินติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี รวมทั้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจฯ

3. ระดับดีเด่น DBD Verified Platinum จะออกให้แก่ผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะที่เป็นนิติบุคคล โดยผ่านคุณสมบัติ เช่น จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า 2 ปี จัดส่งงบการเงินติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีคุณสมบัติอื่น ได้แก่ เว็บไซต์ได้รับเครื่องหมาย DBD Verified ระดับ Gold ต่อเนื่อง 2 ปี และกรณีที่ไม่ได้รับเครื่องหมาย DBD Verified ระดับ Gold หรือ ได้รับเครื่องหมายฯ ต่อเนื่อง ไม่ครบ 2 ปีจะได้รับพิจารณาเป็นรายกรณี เช่น ธุรกิจได้รับการรับรอง หรือรางวัลด้านการบริหารจัดการจากสมาคม/หน่วยงาน รวมทั้ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจฯ เป็นต้น

มาถึงบรรทัดนี้จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างระหว่างสองเครื่องหมาย คือ เครื่องหมาย DBD Verified จะดูมีความน่าเชื่อถือกว่า เพราะไม่ใช่ใครที่จะขอก็ได้ หากจะขอเครื่องหมาย ผู้ประกอบการก็ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ขณะที่ DBD Registered เป็นเพียงระบุว่าธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่นั้นมีตัวตนอยู่จริงเท่านั้น แต่หากผู้ประกอบการมีทั้งสองเครื่องหมายก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

 


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร? คนเชื่อมั่นในตัวเองถึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากว่าคนอื่น

“ความสำเร็จ” เป็นเส้นทางมุ่งหวังที่ใครหลายคนอยากจะทำให้ได้สักครั้งกับเรื่องราวที่ตั้งเป้าหมายไว้ในชีวิต เพราะมันคือความคุ้มค่ากับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความพยายาม

SmartSME Line