วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

ถอดกลยุทธ์ “เพนกวินชาบู” เมื่อร้านอาหารนั่งกินไม่ได้ ทางออกคือต้องขายอย่างอื่นแทน

by Anirut.j, 4 พฤษภาคม 2564

หลังจาก ศบค. ยกระดับพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ชลบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และเชียงใหม่ ให้กลายเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระลอก 3 และดูเหมือนว่าครั้งนี้จะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

โดยหนึ่งในมาตรการที่ออกมานั้น คือห้ามประชาชนนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน แต่สามารถสั่งกลับแบบ Take away ได้เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าเรื่องนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหารที่อาจต้องสูญเสียรายได้ลดลงจากเดิม เนื่องจากข้อจำกัดที่เกิดขึ้น

ร้านอาหารประเภท “ชาบู” ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยรูปแบบการรับประทานที่เหมาะแก่การนั่งในร้านมากกว่า จึงทำให้ไม่มีทางเลือกกับผลกระทบในเรื่องของรายได้ที่สูญหายไป และนำมาสู่การปรับตัวทางธุรกิจเสนอบริการใหม่ ๆ เพื่อให้อยู่รอด

เมื่อขายชาบูไม่ได้จึงทำให้คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu มองหาทางเลือกแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน นั่นคือการขายทุเรียนหมอนทองแกะสด คัดเกรดพรีเมียม ส่งตรงแบบเดลิเวอรี่ วันละ 50 กิโลกรัม

สำหรับแผนงานนี้ดูจะดำเนินการอย่างฉับพลัน โดยคุณธนพงศ์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ penguineatshabu ว่า ตั้งแต่รู้ว่ารัฐสั่งปิดร้าน เราได้เรียกรวมพวก ทีมงาน เพื่อวางแผนประเมินความอันตรายในวิกฤตครั้งนี้ หลังจากนั้น 24 ชม. ของการพยายาม #Hackatronตัวเอง ก็เริ่มนับถอยหลัง

#วันแรกช่วงเย็น ที่ประชุมตัดสินใจจะขายทุเรียน รีบคิดชื่อเอง ร่างแบบโลโก้เอง ออกแบบการ์ดขอบคุณเอง ทำระบบการของ หา Supplier และกลับมาเขียนคอนเทนต์ถึงตี 4

#วันที่ 2 เช่าตรู่ไปคุยกับสวน ถ่ายรูปสินค้า เที่ยงไปคุยกับโปรเจคกู้ชีพตัวที่2 บ่ายกลับมาทำโฟโต้ชอป เขียนคอนเทนต์เองทั้งหมด คำนวณราคาขาย สั่งทำสติ๊กเกอร์ สั่งทำ Packaging เริ่มขายตอนเย็น ช่วยทีมงานตอบลูกค้า ปิดยอดตี 1 เริ่มแกะเปลือกตี3 จัดส่งไปจุดกระจายตอนเช้าอีกวัน ดูแลการจัดส่งเอง เที่ยงจัดส่งออกทั้งหมด กลับออฟฟิศมารับสายลูกค้าที่ไปจัดส่งต่อ

การปรับตัวในครั้งนี้ของ Penguin Eat Shabu ไม่ได้มีเพียงแค่ขายทุเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขายหม้อหม้อทอดไร้น้ำมัน, หม้อชาบูปิ้งย่าง, หม้อตัวคนเดียว และหม้อชาบู อีกด้วย

เรื่องนี้อาจจะใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจร้านอาหารได้ว่า ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนแล้วไม่มีอะไรแน่นอน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นแล้ว อยู่ที่ว่าผู้ทำธุรกิจจะมีไอเดีย หรือหาลู่ทางใหม่ ๆ ทำอย่างไรเพื่อประคับประคองธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ก่อนจะกลับมาเข้าสู่สภาวะปกติ

 

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line