วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

"NIPA Cloud" คลาวด์สัญชาติไทย ที่ช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจคุณได้มหาศาล

by Smart SME, 3 สิงหาคม 2564

รู้หรือไม่ ในอนาคตธุรกิจธนาคารต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ และความต้องการของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ส่งผลให้ปัจจุบันธุรกิจธนาคารหลายแห่งได้เริ่มปรับลดสาขาและจุดให้บริการอย่างต่อเนื่อง และเริ่มวางแผนกลยุทธ์ใหม่โดยหันมาใช้ระบบ Cloud Computing เพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปลดล็อคข้อจำกัดจากโครงสร้างไอทีแบบเดิมๆ (On-Premise) สู่การพัฒนาให้บริการธุรกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น รวดเร็วและครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเท่าทัน

KTBCS ได้เล็งเห็นโอกาสดังกล่าว ด้วยการประมวลผลแบบ Cloud จะทำให้ผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ๆ ของธนาคารง่ายต่อการพัฒนา และการเปิดตัว Mobile Application ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการผ่านระบบธนาคารออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ในขณะเดียวกัน ความปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือข้อมูลของลูกค้า โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน Data Center ที่มีวิธีการเข้าถึงที่เข้มงวด ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ธนาคารส่วนใหญ่ตัดสินใจเก็บข้อมูลและย้ายระบบประมวลผลขึ้นไปอยู่บนระบบ Cloud อย่างเต็มตัว และกลายเป็นจุดแข็งที่สามารถรองรับ Transactions ของลูกค้าได้จำนวนมากในแต่ละวันโดยไม่เกิดปัญหาติดขัด ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดและยังสามารถปรับขยายหรือลดขนาด (Scaling up or down) ตามการใช้งานของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

 

 

ทาง KTBCS ได้เลือกใช้ Private Cloud ของบริษัท NIPA Cloud ซึ่งเป็นการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลในรูปแบบ Cloud ที่อยู่บนโครงข่าย Network ที่ออนไลน์ตลอดเวลา สามารถควบคุมระบบการเข้าถึงได้อย่างอิสระ บริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตนเอง และยังมั่นใจได้ว่าข้อมูลจำนวนมากของลูกค้าปลอดภัย ส่งผลให้ KTBCS สามารถควบคุมต้นทุน (Cost Optimization) ในการดูแลระบบได้อย่างชัดเจน แอปพลิเคชันของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก ได้ดำเนินการอยู่ภายใต้ระบบ Cloud ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันเป๋าตัง ที่ต้องรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ จากเหตุผลข้างต้น ทำให้ NIPA Cloud มีบทบาทสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจไม่เฉพาะแต่เพียงองค์กรแบบธนาคารเท่านั้น โดย NIPA Cloud เป็นผู้พัฒนาระบบ Cloud ด้วยการใช้ Open Source Software ที่สามารถช่วยกลุ่มองค์กรธุรกิจประหยัดต้นทุนได้มหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ระบบ Cloud จากต่างชาติ ซึ่งปัจจุบัน NIPA Cloud ได้กลายเป็นองค์กรชั้นนำที่ให้บริการด้าน Cloud อย่างครบวงจรด้วยคุณภาพที่เทียบเท่าต่างชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบในประเทศไทยและสากล ด้วยทีมงานที่มีความรู้ มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้โดยตรง

 

 

KTBCS เป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารกรุงไทย ที่เป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้ NIPA Cloud ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันธุรกิจธนาคารให้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนาองค์กร ช่วยประหยัดต้นทุนด้านโครงสร้างไอทีได้มากถึง 30-40% หรือประมาณ 100 ล้านบาทภายในระยะเวลาอันสั้น และยังสามารถคงความเสถียรและรักษาความปลอดภัยได้อย่างยอดเยี่ยม เราจะเห็นได้ว่า การนำ Cloud Computing มาปรับใช้ในธุรกิจและการเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ โดยระบบ Cloud Computing ของบริษัท NIPA Cloud จะกลายเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจทุกรูปแบบในอนาคตอันใกล้ ไม่เพียงแต่ธุรกิจธนาคารเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตเราจะได้เห็นการใช้ Cloud Computing ในธุรกิจอย่างแพร่หลายและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน

สอบถามการย้ายข้อมูลสู่คลาวด์กับ NIPA Cloud
โทร: 02-107-8251 ต่อ 416-417 หรือ 086-019-4000
เว็บไซต์: https://www.nipa.cloud/landing-ncp
LINE: @NipaCloud Email: [email protected]
Inbox: http://m.me/nipacloud

 


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line