วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

ทำในสิ่งที่รัก! หนุ่มอินเดียบอกลางานประจำ รวมตัวเปิดบริษัทเดินป่า สร้างรายได้หลายล้านบาท

by Anirut.j, 3 พฤษภาคม 2565

เชื่อว่าหลายคนมีความฝันอยากจะทำในเรื่องที่ตัวเองชื่นชอบ เพราะทำแล้วสบายใจ และรู้สึกมีพลังที่จะทำในทุก ๆ วันอย่างมีความสุข ลองนึกภาพได้ทำในสิ่งที่ชอบ และยังสามารถเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้อีก คงดีไม่ใช่น้อย

เรื่องราวของ 3 หนุ่มชาวอินเดีย ได้แก่ Harshit Patel, Mohit Goswami และ Oshank Soni ที่ตัดสินใจออกจากงานหันมาเปิดบริษัทร่วมกัน โดย Oshank ทำงานตำแหน่ง Investment Banker ขณะที่ Mohit เรียนจบด้านวิศวกรจาก IIT Kharagpur (เปลี่ยนงานมาแล้ว 3 แห่ง) และ Harshit เป็นนักปีนเขาที่ผ่านการรับรอง

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 คนไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน แต่มีความชื่นชอบเหมือนกัน คือการเดินป่าบนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นกิจกรรมในช่วงวันว่างที่พวกเขาทำ เพื่อทำให้จิตใจกลับมาแจ่มใสพร้อมที่จะกลับมาทำกิจวัตรตามปกติ

ย้อนกลับไปในปี 2014 เป็นช่วงเวลาการทำงานของ Oshank พบว่าเบื่อกับภาระหน้าที่ที่มีความกดดันสูง จึงตัดสินใจแพ็คกระเป๋า และจองตั๋วเครื่องบินไป Kolkata พร้อมทั้งเดินทางไปต่อที่ Sikkim และ Gangtok จบด้วยการเดินป่าไปยังยอดเขา Goechala จากจุดนี้ทำให้เขาค้นพบความต้องการของตัวเอง เมื่อกลับมาทำงานจึงตัดสินใจลาออกทันที

ขณะที่ Mohit รู้ตัวว่าตัวเองทำให้ครอบครัวภูมิใจ และมีความสุขกับการได้เรียนในสถาบันอันทรงเกียรติ แต่ในส่วนตัวแล้วเขายังรู้สึกว่ามีบางอย่างในชีวิตขาดหายไป หลังจากเรียนจบ Mohit ได้เปลี่ยนงาน 3 ที่ภายในระยะเวลา 6 เดือน สุดท้ายจึงตัดสินใจหยุดทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วจองตั๋วไป Leh โดยที่ไม่มีประสบการณ์เดินป่าเลย แต่ก็ตัดสินใจทำด้วยตัวคนเดียว และพบว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทำมา

ส่วน Harshit เริ่มเดินทางคนเดียวตั้งแต่อายุ 19 ปี โดยเขาเคยปั่นจักรยานเลียบชายฝั่ง Kerala แล้วประสบอุบัติเหตุขาหัก 2 ข้าง โดยหมอบอกว่าเขาอาจจะเดินไม่ได้อีก หลังจากนั้นเจ้าตัวได้ทำการรักษา และทำกายภาพบำบัด สุดท้าย Harshit กลับมาเดินได้อีกครั้ง และออกเดินป่าเพียงคนเดียว รวมถึงจบหลักสูตรปีนเขาขั้นสูง พร้อมทั้งตระหนักรู้ว่าไม่สามารถทำงานประจำได้

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้ง 3 คนมาเจอกัน คือในปี 2015 ที่ Rishikesh-Base Travel Organization บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเดินป่า-ปันเขา ได้เปิดรับสมัครงาน ทั้ง 3 ก็มาสมัคร และทำงานร่วมกันสักระยะก็ลาออก เพราะเหตุผลว่าลักษณะเป็นงานประจำมากเกินไป

สุดท้าย ทั้ง 3 คนจึงมาเปิดบริษัทสตาร์ทอัพร่วมกันใช้ชื่อว่า “Trekmunk” ดูเหมือนว่าบริการของพวกเขาที่สร้างสรรค์ขึ้นจะมีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โดยใช้เส้นทางการเดินป่าเส้นทางใหม่ที่ไม่ค่อยมีใครเดินกัน นอกจากนี้ ลูกค้าที่มาใช้บริการจะต้องเซ็นยินยอมว่าจะไม่นำวัสดุพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งติดตัวมาด้วยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะเสียค่าปรับ 500-2,000 รูปี

ไม่เพียงเท่านั้น ธุรกิจที่ทำยังสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านละแวกนั้น รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว เน้นความยั่งยืน ไม่เบียดเบียนสภาพแวดล้อม และสัตว์ป่า

เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ชีวิตเราบางครั้งก็ไม่ได้ต้องการเงินทองมากมาย ขอให้ได้ใช้ชีวิตกับสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ และการได้ทำงานที่เรารักจะนำมาสู่ไอเดีย ประสิทธิภาพที่ทำให้งานนั้นออกมาน่าสนใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเอง และสังคมอีกด้วย โดยบริษัทมีรายได้ถึง 10 ล้านรูปี (ประมาณ 4.5 ล้านบาท)

ที่มา: thebetterindia


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line