วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เจ้าสัวเล่นเจ้าสัว! ไทยเบฟส่ง “ร้านโดนใจ” ท้าชนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ

by Anirut.j, 9 ตุลาคม 2566

เรียกได้ว่า “ร้านสะดวกซื้อ” กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ผู้คนยุคนี้ไปบ่อยสุด ด้วยเพราะความสะดวกสบาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ โดยไม่ได้มีสินค้า ของใช้เท่านั้น แต่ธุรกิจ “ร้านสะดวกซื้อ” ในปัจจุบันได้ขยายบริการให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การขายอาหาร-เครื่องดื่ม, บริการชำระเงิน, การจองตั๋วต่าง ๆ ที่มีความครบครัน จำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้คน

อย่างไรก็ตาม หากพูดถึง “ร้านสะดวกซื้อ” แล้ว ชื่อแรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคงหนีไม่พ้น 7-Eleven ที่เป็นเจ้าตลาดมาอย่างยาวนาน เมื่อมองดูแล้วถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจ และความนิยมกลับมาอีกครั้งหลังการคลี่คลายโควิด-19 สอดคล้องกับรายงานของ Euromonitor International ที่คาดการณ์ว่าตลาดร้านสะดวกซื้อจะขยายตัว 5.4% คิดเป็นมูลค่า 4.28 แสนล้านบาท

ด้วยความเป็นตลาดใหญ่ มีมูลค่าสูงทำให้บรรดายักษ์ใหญ่ในวงการอยากจะเข้ามามีส่วนร่วม ขอชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนี้ให้เข้ามาอยู่ในธุรกิจของตนเอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นผู้เล่นเข้ามาร่วมวงในตลาดนี้ ซึ่งล่าสุดเราเห็นแล้วว่าเป็น “ไทยเบฟ” ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่เตรียมพลิกโฉมร้าน “โดนใจ” เข้ามาสู้เปิดศึกในสมรภูมินี้กับผู้เล่นหน้าเก่าที่อยู่มานานอย่าง 7-Eleven ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ และคงแข่งขันอย่างดุเดือดอีกไม่นาน

ทำความรู้จัก “ร้านโดนใจ”

สำหรับ “ร้านโดนใจ” เปิดมาได้สักระยะแล้ว แต่ไทยเบฟต้องการพลิกโฉมหน้าจากเดิมที่เป็นเพียง “ร้านขายของชำ” ยกระดับเป็น “ร้านสะดวกซื้อ” โดยตั้งเป้าที่จะเปิดให้ได้ 30,000 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2570

 

ร้านโดนใจ

ร้านโดนใจ

 

เมื่อดูถึงแนวคิดความเป็นมาของ “ร้านโดนใจ” พบว่าเกิดจากความที่ต้องการที่จะทำให้ร้านค้าโชห่วยเติบโต มีรูปแบบการจัดการร้านที่มีความทันสมัย มีระบบข้อมูลที่ช่วยพัฒนาการขาย รวมถึงทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจลงทุน ซึ่งจุดเด่นของ “ร้านโดนใจ” มีหลายเรื่องด้วยกัน มีอิสระในการเลือกสินค้าที่มีกว่า 8,000 รายการ, การเป็นเถ้าแก่ตัวจริงให้ผลตอบแทน 100% แบบไม่ต้องส่งเงินให้ใคร, มีระบบที่ทันสมัย รู้ต้นทุน รู้กำไร จัดการภายในร้านด้วยระบบ POS, มีบริการส่งสินค้าถึงหน้าร้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาซื้อสินค้าด้วยตนเอง

เปรียบเทียบหากอยากลงทุน

มาถึงบรรทัดนี้ Smartsme จะพามาดูโมเดลการลงทุน “ร้านโดนใจ” หากอยากเป็นเจ้าของต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ โดยจะขอยกมา 2 โมเดล ดังต่อไปนี้

1.ร้านโดนใจสุดคุ้ม: ปรับโฉมร้านให้มีความสวยงาม ทันสมัย มีขนาดร้านให้เลือกตามความเหมาะสม และความต้องการของเจ้าของกิจการ โดยจะลงทุนตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ภายในร้านให้ใหม่ มูลค่าสูงสุด 765,700 บาท มีบริการดูแลตลอดอายุสัญญา แต่ทางร้านต้องเสียค่าบริการรายเดือนในการรักษามาตรฐานการจัดการเดือนละ 1,500 บาท

2.ร้านโดนใจจัดให้: โมเดลยอดฮิตในการเปิดร้าน ลงทุนอุปกรณ์สูงสุด 540,000 บาท ขึ้นอยู่กับการ

เลือกของเจ้าของร้าน ซึ่งสามารถตกแต่งได้เอง โดยทุกร้านต้องมีการปรับปรุงพื้นฐาน 2 รายการ คือ

1. แถบสีส้ม (ขึ้นอยู่กับสภาพร้าน) 2.ป้ายชื่อร้าน ซึ่งทุกร้านต้องมีเครื่องคิดเงิน (POS) และป้ายชื่อร้านเป็นอุปกรณ์พื้นฐานรวม 2 รายการที่โดนใจจัดเตรียมให้ตามมาตรฐาน เช่นเดียวกันทางร้านต้องเสียค่าบริการรายเดือนในการรักษามาตรฐานการจัดการเดือนละ 1,500 บาท

เพื่อให้ภาพตัวเลขการลงทุนอย่างชัดเจน Smartsme ขอยกตัวอย่าง 7-Eleven ร้านสะดวกซื้อที่ครองตลาดนี้มาอย่างยาวนานว่าหากอยากลงทุนต้องใช้เงินเท่าไหร่

สำหรับการเปิดร้าน 7-Eleven ในรูปแบบแฟรนไชส์ พบว่ามี 2 โมเดลด้วยกัน

โมเดลแรก: เงินลงทุน 4.8 แสนบาท, เงินประกัน 1 ล้านบาท (รวม 1.48 ล้านบาท) อายุสัญญา 6 ปี โดยผู้ลงทุนจะมีเงินเดือน 29,000 บาท เข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน บริหารค่าใช้จ่ายตามงบ และจะได้ส่วนแบ่งกำไร หากยอดเกินเป้า

โมเดลที่ 2: เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท, เงินประกัน 9 แสนบาท (รวม 2.63 ล้านบาท) อายุสัญญา 10 ปี จะได้รับส่วนแบ่งกำไร 54%

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า การเปิดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จะใช้เงินลงทุนมากกว่า “ร้านโดนใจ”

การมีตัวเลือกเข้ามาเพิ่มทำให้ธุรกิจ “ร้านสะดวกซื้อ” ของบรรดาเจ้าสัวมีการแข่งขันที่ดุเดือดอย่างแน่นอน โดย “ร้านโดนใจ” ต้องเจอกับคู่แข่งสำคัญอย่าง 7-Eleven ที่กลายเป็นแบรนด์ติดตลาดไปแล้ว พอพูดชื่อทุกคนก็นึกออก ตลอดจนจำนวนสาขา 14,215 แห่งทั่วประเทศ (ณ ไตรมาส 2/2566) เปรียบเทียบกับ “ร้านโดนใจ” ที่มีสาขาประมาณ 5,000 แห่งเท่านั้น

 

ร้านโดนใจ

ร้านโดนใจ

 

แน่นอนว่า 7-Eleven ก็อยากจะรักษาฐานลูกค้าของตัวเองเอาไว้ ไม่อยากให้ใครเข้ามาแย่ง ซึ่งตรงนี้ต้องวัดกันที่กลยุทธ์การตลาด, การส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาซื้อของในร้าน หากมองในมุมของผู้บริโภคแล้วย่อมเป็นเรื่องดีที่มีตัวเลือกมากขึ้น ซึ่งตามหลักต้องเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว สุดท้ายแล้วคนที่ให้คำตอบคือ “ลูกค้า”

แล้วคุณล่ะ “โดนใจ” ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไหนมากกว่ากัน

อ้างอิงข้อมูล: donjaibloomberg

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line