วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2567

Van Leeuwen ไอศกรีมฟู้ดทรัค ขายหน้าร้านอย่างเดียว แต่สร้างรายได้ 10 ล้านบาท/วัน

by Anirut.j, 13 ตุลาคม 2566

จากคนเปิดร้านไอศกรีม แต่ตัวเองทำไม่เป็นเลย สู่ธุรกิจระดับประเทศ ภายใต้แบรนด์ Van Leeuwen ที่มีหน้าร้าน 50 แห่ง แต่สร้างรายได้วันละ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 10 ล้านบาท)

กรณีศึกษาที่น่าสนใจเป็นเรื่องราวของ Ben Van Leeuwen ที่ปัจจุบันไอศกรีมชื่อว่า Van Leeuwen ขายในรูปแบบของฟู้ดทรัค โดยมีจุดเริ่มต้นช่วงกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงิน และได้เห็นโฆษณาผ่านทางหนังสือพิมพ์ที่ให้ค่าจ้างขายไอศกรีมสัปดาห์ละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ จึงตัดสินใจเลือกทำงานนี้

“งานตรงนี้ทำให้ผมมีเงินเก็บโดยม่ต้องกลับไปเรียนต่อ มีเวลาเดินทางรอบโลกถึง 9 เดือน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง” Ben Van Leeuwen กล่าว

เจ้าตัวเดินทางไปหลายที่มากทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนความคิดเรื่องของอาหารให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จนกระทั่งในปี 2008 เขาได้ไปเห็นไอศกรีมฟู้ดทรัค ชื่อว่า “Mister Softee” ในเมืองนิวยอร์ก จึงมีความสนใจที่อยากจะทำอาหารดี ๆ ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ เลยมาหยุดที่การทำไอศกรีม

แม้ว่าจะได้ธุรกิจที่อยากทำ แต่ปัญหาใหญ่ของ Van Leeuwen คือไม่มีความรู้เรื่องการทำไอศกรีมมาก่อน ดังนั้น เขาในวัย 24 ปี ต้องหาข้อมูล ศึกษาร่วมกับน้องชาย และเพื่อนสนิท โดยพวกเขาได้ทำตามสูตรอาหารตามเชฟมิชลินอย่าง Thomas Keller เพื่อทำไอศกรีมวานิลลา และพบว่าขั้นตอนนี้ง่ายต่อการทำตาม พร้อมทั้งสร้างแบบจำลองสิ่งที่จะกลายเป็นสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Van Leeuwen ที่เป็นสูตรอาหารเรียบง่าย และมีคุณภาพสูง

หลังจากนั้น จึงเริ่มสร้างแผนธุรกิจ โดยจะต้องใช้เงิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อทำให้ธุรกิจเริ่มต้น นำไปซื้อ รีโนเวทรถบรรทุก, หาโรงงาน และสร้างเว็บไซต์ แต่พวกเขาหาเงินทุนได้ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากเพื่อน 15 และสมาชิกภายในครอบครัวเท่านั้น แต่เงินจำนวนนี้ก็เพียงพอที่จะซื้อรถบรรทุกมือสองที่จะนำมาดัดแปลงเป็นรถขายไอศกรีมแบบฟู้ดทรัค

เมื่อเงินทุนทั้งหมดถูกใช้ไปกับรถบรรทุก ทำให้งานส่วนที่เหลือกลายเป็นพวกเขาทั้ง 3 คน ต้องออกแรงเองทั้งหมด ทั้งในเรื่องโรงงานที่ต้องหาเอาท์ซอสมาช่วยผลิตผ่านโรงงานขนาดเล็ก แถมยังต้องขนส่งเอง เพราะไม่มีเงินที่จะมาจ้างพนักงาน ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องทำบัญชี ซ่อมรถบรรทุกเองด้วยในช่วง 10 ปีแรก

อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนของธุรกิจ อยู่ที่วันที่เปิดขายไอศกรีมอย่างเป็นทางการตรงหัวมุม Greene and Prince ใน SoHo ที่มีลูกค้าเดินเข้ามาต่อแถว สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ตัวแทนจากร้าน Whole Food เข้ามาสอบถามว่าสนใจที่จะขายส่งไอศกรีมหรือไม่ ซึ่งพวกเขาไม่รีรอที่จะตอบตกลง

หลังจากเปิดไป 3 ชั่วโมง พวกเขาพูดคุยกันว่าจะไม่เปิดขายไอศกรีมแบบฟู้ดทรัคอีก แต่เมื่อสิ้นช่วงซัมเมอร์ Van Leeuwen ได้ขยายรถฟู้ดทรัคเพิ่มเป็นอีก 3 คันในเมืองนิวยอร์ก และภายในปี 2010 ธุรกิจทำรายได้มากถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปีเดียวกันก็ได้ขยายธุรกิจไปยังที่ต่าง ๆ ต่อมาในปี 2017 ธุรกิจได้รีแบรนด์ครั้งสำคัญ สร้างภาพลักษณ์ให้สะดุดตามากขึ้น ซึ่งตามรายงานพบว่าช่วยเพิ่มยอดขายได้ถึง 50%

เงินที่ได้มา Van Leeuwen นำไปใช้กับการขยายการดำเนินงาน และหาวัตถุดิบ ส่วนผสมจากทั่วโลก เพื่อสร้างรสชาติไอศกรีมอันเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญไปมากกว่านั้น คือแบรนด์ไอศกรีมของเขาไม่ต้องใช้เงินซื้อโฆษณาแม้แต่บาทเดียว

 

ไอศกรีม Van Leeuwen

ไอศกรีม Van Leeuwen

 

ปัจจุบันไอศกรีมฟู้ดทรัค Van Leeuwen เดินทางในการทำธุรกิจมาได้สักระยะหนึ่ง ถือว่าประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อย เมื่อดูจากรายได้ที่ทำได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 10 ล้านบาท) ต่อวัน จนทำให้กลายเป็นแบรนด์ของหวานชั้นนำในสหรัฐฯ มีลูกค้ามาซื้อ 40,000 รายต่อวัน

อีกทั้งในปี 2023 Van Leeuwen จะเปิดอีก 18 สาขา และจะเปิดในต่างแดนเป็นครั้งแรกในสิงคโปร์

ที่มา: cnbcvanleeuwenicecream

 

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line