วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

กรณีศึกษา Flash Coffee เพราะแสงสว่างไม่ได้มีทุกที่เสมอไป สุดท้ายขอยอมเจ็บในสิงคโปร์

by Anirut.j, 19 ตุลาคม 2566

Flash Coffee แบรนด์กาแฟสัญชาติอินโดนีเซียที่มีความน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม เพราะเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพจากการระดมทุน โดยมีหัวเรือใหญ่ที่มีดีกรีไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น David Brunier ผู้ปลุกปั้นแพลตฟอร์มส่งอาหารเดลิเวอรี่อย่าง Foodpanda และอีกคนคือ Sebastian Hannecker

แนวคิดการทำธุรกิจร้านกาแฟของ Flash Coffee จะเป็นในลักษณะของ Grab and Go ที่ให้ลูกค้ามาซื้อเครื่องดื่ม และเดินออกจากร้าน จะไม่มีมานั่งดื่มกาแฟ หรือทำงานภายในร้าน ตลอดจนการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการดำเนินธุรกิจ ส่วนเรื่องของวัตถุดิบที่ใช้เกรดพรีเมียม หรือที่เรียกว่า Specialty Coffee ที่สร้างจุดเด่นตั้งแต่การ “คัด คั่ว บด กลั่น ชง” ใส่ใจทุกขั้นตอนการทำ

หลังเปิดตัวสาขาแรกในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ช่วงปี 2019 Flash Coffee ยังเปิดระดมทุนอย่างต่อเนื่อง และก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของยอดขายเชนกาแฟรายนี้เคยทำถึง 1 ล้านแก้วมาแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หากธุรกิจจะขยับขยายไปเปิดสาขาในประเทศอื่น ได้แก่ สิงคโปร์, ฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และไทย

แม้จะเป็นแบรนด์กาแฟที่ถูกจับตามอง กลายเป็นม้ามืดที่จะมาเขย่าวงการคล้ายกับก่อนหน้านี้ที่มี Luckin Coffee โดยปัจจุบันประสบความสำเร็จแซงหน้า Starbucks ก้าวสู่เชนร้านกาแฟอันดับ 1 ในจีนเป็นที่เรียบร้อย หากดูโมเดลธุรกิจจะพบว่ามีความคล้ายกัน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า Flash Coffee จะเดินทางมาถึงทางแยกที่ต้องจัดการ แก้ปัญหา ที่ใครทำธุรกิจก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น นั่นคือ “การปิดสาขา” ในสิงคโปร์ ก่อนจะไปถึงเหตุผลว่าเพราะอะไร Flash Coffee ถึงไปไม่รอด Smartsme จะพามาดูพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนสิงคโปร์กันก่อน

 

FlashCoffee

FlashCoffee

 

จากการหาข้อมูล (อ้างอิงจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) พบว่าคนสิงคโปร์ชอบดื่มกาแฟเป็นวิถีชีวิตอยู่แล้ว โดยดื่มเป็นประจำทุกวัน โดยส่วนใหญ่จะชอบนิยมดื่มกาแฟท้องถิ่น แต่ก็มีบางส่วนที่ชอบดื่มกาแฟคุณภาพเมื่อเห็นแบบนี้แล้วก็ถือสิงคโปร์เป็นตลาดที่น่าสนใจ มีกลุ่มเป้าหมายที่ตอบโจทย์แบรนด์

แต่สุดท้าย Flash Coffee ก็ไม่สามารถเอาตัวรอดในสิงคโปร์ได้ ประกาศปิดสาขาทั้งหมด 11 แห่ง โดยบริษัทเผยว่าธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยภาระหนี้สินที่มีอยู่ และจำเป็นต้องปิดสาขาทั้งหมดในสิงคโปร์ ซึ่งข้อมูลจาก Business Times ระบุว่า Flash Coffee มีหนี้สินกว่า 14 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 371 ล้านบาท)

ไม่เพียงเท่านั้น พนักงานของ Flash Coffee ยังออกมาเรียกร้องอีกว่า พวกเขายังไม่รับเงินเดือนในเดือนล่าสุด โดยเรื่องนี้น่าคิดอยู่เหมือนอยู่เหมือนกันว่ากลายเป็นโดมิโนหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ Flash Coffee ก็โบกมือลาถอนธุรกิจออกจากไต้หวันมาแล้ว

สำหรับประเทศไทย Flash Coffee เข้ามาเปิดสาขาแรก เมื่อปี 2020 ที่ HK Plaza สาทร ปัจจุบันมี 92 สาขา แต่เมื่อดูผลประกอบการธุรกิจ พบว่าน่าเป็นห่วงอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะขาดทุนมาตลอด

ผลประกอบการ บริษัท แฟลช คอฟฟี่ ทีเอช จำกัด (ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

- ปี 2563 รายได้รวม 3.2 ล้านบาท ขาดทุน 8.6 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้รวม 60.4 ล้านบาท ขาดทุน 100 ล้านบาท

แน่นอนว่าหากมองการทำธุรกิจในลักษณะแบบสตาร์ทอัพ การขาดทุนในช่วงแรกถือเป็นเรื่องที่รับได้ เพราะเป็นการเผาเงิน (Burn Cash) ที่เน้นการใส่เงินเข้าไปเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ลด แลก แจก แถม จัดโปรโมชันเพื่อเอาใจลูกค้า ขาดทุนไม่เป็นไร แต่หลัง ๆ เราก็จะเห็นว่าสตาร์ทอัพที่ใช้วิธีนี้กลับไม่ได้ผล จนต้องปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ แม้ว่าจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนก็ตาม

เมื่อวิเคราะห์สมรภูมิร้านกาแฟในประเทศไทยแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลากหลายแบรนด์ด้วยกัน นั่นหมายความว่าผู้บริโภคมีทางเลือกเยอะที่จะซื้อ การแข่งขันด้านการตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่คนจะยอมจ่ายซื้อเครื่องดื่ม อะไรคือจุดเด่นที่ดึงดูดใจ เหล่านี้เป็นการบ้านที่แบรนด์กาแฟต้องทำอย่างหนักเพื่อช่วงชิงฐานผู้บริโภค

ที่มา: flash-coffeefinance.yahoostraitstimes

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line