วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

“ไมโล” – “โอวัลติน” มอลต์สกัดที่ไม่ว่าผ่านมากี่ยุคก็ครองใจคนทุกเพศ ทุกวัย

by Anirut.j, 4 ธันวาคม 2566

หากจะพูดถึงเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับเรามาตั้งแต่เด็ก ๆ เรื่อยมาจนถึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีเรื่องราว สร้างความผูกพัน แน่นอนว่าชื่อของ “ไมโล” กับ “โอวัลติน” ย่อมเป็นชื่อที่เมื่อเอ่ยถึงก็นึกออกทันที หรือพอเห็นโลโก้ก็ร้องอ่อ และปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเครื่องดื่มมอลต์สกัดที่ครองใจผู้บริโภคไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย

แม้ว่าทั้งสองแบรนด์จะเป็นคู่แข่งขันในสนามธุรกิจ แต่ว่าทั้งคู่ก็มีแนวทางเป็นของตัวเองในการพยายามแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย โดย Smartsme จะพามาทำความรู้จัก “ไมโล” กับ “โอวัลติน” ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

“ไมโล” กำเนิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย ในปี 1943 โดยโธมัส เมย์น วิศวกรเคมี ที่คิดค้นสูตรเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์ของมอลต์ นมโกโก้ มีรสชาติอร่อย เพื่อให้เด็ก ๆ ได้รับสารอาหารเพียงพอ ส่วนคำว่า “ไมโล” มีที่มาจากชื่อของนักกีฬาจ้าวแห่งพลังที่มีพละกำลัง และความแข็งแกร่งในยุคกรีกโบราณ ดังนั้น เครื่องดื่มจึงสะท้อนความแข็งแรง เติมพลังด้วยรสชาติที่แสนอร่อย อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน

 

ไมโล

ไมโล

 

สำหรับประเทศไทย “ไมโล” เข้ามาในปี 1953 ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้การบริหารของบริษัท เนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ และยังมีแบรนด์สินค้าอื่น ๆ ที่อยู่ในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เนสกาแฟ, นมตราหมี, ซอสแม็คกี้, น้ำดื่มเพียวไลฟ์

ผลประกอบการบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

- ปี 2565 รายได้รวม 56,773 ล้านบาท กำไร 3,009 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้รวม 52,155 ล้านบาท กำไร 2,620 ล้านบาท
- ปี 2563 รายได้รวม 51,010 ล้านบาท กำไร 2,844 ล้านบาท


ส่วน “โอวัลติน” นั้นเกิดขึ้นในปี 1865 ที่สวิตเซอร์แลนด์ โดย ดร.จอร์จ เวนเดอร์ นักเคมีที่คิดค้นเครื่องดื่มร้อน ที่มีส่วนผสมของมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เล่ และไข่ไก่ เพื่อสุขภาพด้านโภชนาการให้กับเด็ก ๆ หลังจากนั้นลูกชายของเขาได้เพิ่มคุณค่าด้านอาหารลงไปในสูตรจนได้เครื่องดื่มที่ดีที่สุดออกมา
“โอวัลติน” เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกในปี 1927 โดยมีการพัฒนาปรับสูตร แพคเกจจิ้งให้เหมาะสมกับผู้บริโภค ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท เอบี ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

โอวัลติน

โอวัลติน

 

ผลประกอบการบริษัท เอบี ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด

- ปี 2565 รายได้รวม 9,206 ล้านบาท กำไร 1,612 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้รวม 8,779 ล้านบาท กำไร 1,724 ล้านบาท
- ปี 2563 รายได้รวม 8,242 ล้านบาท กำไร 1,697 ล้านบาท


อีกหนึ่งที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเกี่ยวกับ “ไมโล” กับ “โอวัลติน” นั่นคือทั้งสองแบรนด์มีโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดย “ไมโล” มีการตั้งโรงงานผลิตอยู่ที่มาเลเซีย ส่วน “โอวัลติน” ตั้งโรงงานการผลิตอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการของไทย

แน่นอนว่าทั้งสองแบรนด์ย่อมเล็งเห็นโอกาสในภูมิภาคนี้ โดยชาวมาเลเซียมีความคุ้นเคยกับโกโก้เป็นอย่างดีจากอิทธิพลของอังกฤษที่เข้ามาในช่วงล่าอาณานิคม และพฤติกรรมชาวมาเลเซียที่นิยมกินของหวาน จึงไม่ใช่เลือกยากหาก “ไมโล” เลือกจะเจาะตลาดมาเลเซีย ส่วน “ไมโล” ก็อาศัยคุณภาพเข้าสู้ในประเทศว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดี เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ที่สามารถดื่มได้ทุกวัน

นอกจากนี้ หากพูดถึงในเรื่องภาพความจำของแบรนด์ที่ทำให้ทั้ง “ไมโล” กับ “โอวัลติน” ยืนหยัดดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาได้ถึงทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้น การสร้างการรับรู้ ทำการตลาดอยู่เสมอ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น

ภาพจำของ “ไมโล” คงหนีไม่พ้น “ไมโลรถโรงเรียน” ที่นำเครื่องดื่มไปแจกจ่ายให้กับบรรดานักเรียนได้ดื่มกัน โดยความพิเศษ คือส่วนใหญ่คนจะบอกว่าไมโลที่ไปตามโรงเรียนจะมีรสชาติอร่อยกว่าที่ซื้อตามร้านค้าทั่วไป เรียกว่าเป็นตำนานเลยก็ว่าได้ จนตอนนี้ได้เอามาวางขายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แบบมีจำนวนจำกัด

ส่วน “โอวัลติน” มองเป็นเรื่องที่แบรนด์ไม่จำเจกับเครื่องดื่ม เพราะมีการพัฒนาออกรสชาติใหม่ ๆ ออกมาเสมอ ตลอดจนแพคเกจจิ้งที่แปลกใหม่ เช่น ปี 2006 ส่งโอวัลติน ไวท์มอลต์ 3 อิน 1 สูตรไขมันต่ำ ผสมคอลลาเจน เพื่อผู้หญิงที่ใส่ใจตัวเอง, ปี 2007 เปิดตัวโอวัลตินยูเอชทีสูตรหวานน้อย ไขมันต่ำ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ, ปี 2009 เปิดตัวโอวัลติน สมาร์ท ยูเอชที สำหรับเด็กอายุ 3-9 ปี ที่มีส่วนผสม DHA ในการบำรุงสมอง, ปี 2015 เปิดตัวโอวัลติน 3 อิน 1 สูตรน้ำตาลน้อยกว่า ลดน้ำตาลลง 30% เหล่านี้ คือสร้างความไม่จำเจให้กับผู้บริโภค สลัดมุมมองความเป็นเครื่องดื่มที่มีความหวาน เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับคนรักสุขภาพตามเทรนด์

เราไม่อาจจะสรุปได้ว่า “ไมโล” กับ “โอวัลติน” แบรนด์ไหนอร่อยกว่ากัน หรือแบรนด์ไหนขายดีกว่ากัน ตรงนี้ขึ้นอยู่แต่ความชอบส่วนบุคคล แต่อยากจะมองในมุมของการบริหารที่ทั้งคู่ไม่เคยตรงเทรนด์ ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุค กี่สมัย ก็ยังเป็นเครื่องดื่มมอลต์สกัดที่คนส่วนใหญ่เลือก

ที่มา: miloovaltine, กรมพัฒนาธุรกิจการค้าorissa-international

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line