วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

เพื่อความอยู่รอด! ธุรกิจค้าปลีกดังมีแผนปลดพนักงาน รวมกว่า 10,000 คน

by Anirut.j, 29 มกราคม 2567

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการปลดพนักงานของธุรกิจยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่ประกาศทยอยปลดพนักงานกันเป็นแถว ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีธุรกิจที่อยู่ในหมวดอื่น ๆ ที่เตรียมปลดพนักงานที่มีอยู่เช่นกัน ที่น่าสนใจคือบริษัทในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ซึ่งกำลังสะท้อนการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดที่องค์กรไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่อีกต่อไปได้เป็นอย่างดี

เริ่มกันที่ห้างค้าปลีก John Lewis และร้านซูเปอร์มาร์เก็ต Waitrose ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารเครือจอห์น ลูอิส พาร์ทเนอร์ ชิป จากอังกฤษที่ก่อตั้งธุรกิจยาวนานเกือบ 160 ปี มีแผนที่จะเลิกจ้างพนักงาน 11,000 คน ในปีอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานที่อยู่ในสำนักงานใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต

บริษัทบอกเหตุผลว่าธุรกิจเผชิญกับต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่สวนทางกับรายได้ที่เข้ามา โดยเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ลดรายจ่าย ตลอดจนการแข่งขันที่ดุเดือด และการเข้ามาของออนไลน์ ซึ่งปีล่าสุดบริษัทต้องประสบสภาวะขาดทุนกว่าหมื่นล้านบาท

ต่อมา Macy’s ห้างค้าปลีกจากสหรัฐฯ อายุเก่าแก่กว่า 166 ปี ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 2,300 ตำแหน่ง และปิดห้างสรรพสินค้าอีก 5 แห่ง ได้แก่ เมือง Arlington ในรัฐ Virginia, เมือง San Leandro ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, เมือง Lihue ในรัฐฮาวาย, เมือง Simi Valley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเมือง Tallahassee ในรัฐฟลอริด้า พร้อมหันไปเปิดสาขาที่มีขนาดเล็กลงเพื่อเจาะกลุ่มคนชานเมือง

สำหรับเหตุผลที่ Macy’s ต้องปรับตัวในครั้งนี้ มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายรัดกุมมากยิ่งขึ้น ไม่ได้มากเท่าที่ควรจะเป็น และอีกปัจจัยสำคัญคือการเข้ามาของช่องทางออนไลน์ที่ผู้บริโภคหันไปซื้อมากยิ่งขึ้น การแข่งขันด้านราคาที่แต่ละธุรกิจที่อยู่ในแวดวงนี้ไม่มีใครยอมกัน ซึ่งการปลดพนักงานในครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นพนักงานที่อยู่ในห้างฯ และกลุ่มที่ทำงานในสำนักงาน

ขณะเดียวกัน เวย์แฟร์ ห้างค้าปลีกขายสินค้าเครื่องใช้ในบ้านออนไลน์ ก็ประกาศปลดพนักงาน 1,650 คน หรือคิดเป็น 13% ของพนักงานทั้งหมด เพื่อประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายคิดเป็น 9,900 ล้านบาท แม้ว่าช่วงโควิด-19 ธุรกิจจะไปได้ดี มีการจ้างพนักงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก

มาถึงตรงนี้เราสามารถมองได้ว่าปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกในต่างประเทศต้องปรับตัว เกิดจากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ลดน้อยลง จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ของแบรนด์ค้าปลีกที่ลดลงจากเดิม เมื่อรายรับ-รายจ่าย ไม่สอดคล้องกัน ธุรกิจก็ต้องมีการปรับองค์กรให้มีความสมดุล ดังนั้น การปลดพนักงานจึงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่สามารถทำได้ทันทีซึ่งเป็นการสะท้อนสภาพเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี ที่ผู้คนต้องระมัดระวังกับการใช้จ่าย

ที่มา: forbes, nj


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line