วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เลือกแฟรนไชส์อย่างไรไม่ตกม้าตาย !

by Smart SME, 27 เมษายน 2559

เพราะการทำแฟรนไชส์ก็คือการทำธุรกิจ ความเสี่ยงย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การศึกษาและเข้าใจในแฟรนไชส์ และรู้ถึงปัจจัยหลักที่จะช่วยให้แฟรนไชส์ที่กำลังจะซื้ออยู่รอด และเอาชนะคู่แข่งที่มีอยู่มากมายได้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จมากขึ้นเป็นเท่าตัว สิ่งที่ต้องพิจารณาสิ่งแรกคือความน่าเชื่อถือในแบรนด์ของแฟรนไชส์เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะถ้าหากสาขาใดสาขาหนึ่งในแบรนด์นั้นเกิดทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่น่าให้อภัย ลูกค้าก็จะไม่กล้าใช้บริการทุกสาขาที่มีเลย ถึงแม้จะไม่ใช่สาขาที่คุณบริหารก็ตาม  เช่น หากเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหาร แต่กลับเจอเศษอะไรสักอย่างปะปนมากับข้าวในจาน เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะตัดสินใจซื้อก็ควรเช็กประวัติความน่าเชื่อถือและความแข็งแรงของแบรนด์ด้วย เพราะการซื้อแฟรนไชส์เป็นการลงทุนด้านแบรนด์ทดแทนที่คุณจะสร้างมันด้วยตัวเองเพราะอาจต้องใช้ระยะเวลาและเงินลงทุน เรื่องของจำนวนสาขาก็สำคัญ เพราะไม่ใช่ว่าแฟรนไชส์ที่คุณเห็นอยู่มากมาย ไปทางไหนก็เจอ มองทางไหนก็มี จะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความสำเร็จของแฟรนไชส์นั้น ทางที่ดีคุณต้องกล้าที่จะถามคนที่ซื้อแฟรนไชส์ในแบรนด์ที่คุณจะทำนั้นว่าเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง  ต้นทุน เช่น ค่าโครงสร้าง ค่าจ้าง ค่าพื้นที่ ทั้งหมดที่ต้องเสียมันคุ้มกันมั๊ย เขาต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงอะไรบ้าง ความเสี่ยงนั้นเจ้าของแบรนด์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ หรือปล่อยให้เป็นชะตากรรมของคุณ การลงทุนแฟรนไชส์เป็นหลักแสน หลักล้านแล้วพอได้กำไรบ้างในระยะแรก ปรากฏว่ามีสาขาเพิ่มขึ้นมาช่วยแบ่งส่วนกำไรของคุณไป ทำให้โอกาสในการเติบโตด้านกำไรของคุณลดลง มิหนำซ้ำอาจทำให้รายได้ลดลงจนต้องปิดกิจการไป สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่คุ้มหากคุณต้องการสร้างกิจการสักอย่าง อีกเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือเรื่องของตลาด แนวโน้มแฟรนไชส์เป็นอย่างไร มันจะเติบโตขึ้น หรือซบเซาลง ธุรกิจนี้กำลังมาหรือกำลังไป กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มันยากง่ายกับคุณมากแค่ไหน เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาแบบจริงจัง เนื่องจากการลงทุนในแฟรนไชส์ไม่ใช่การลงทุนแค่บาทสองบาท คุณควรจะทำการบ้านมาให้ดี เพื่อให้มั่นใจว่าคุณลงทุนไปแล้วธุรกิจมันจะตรงกับความต้องการของคุณ ทำแล้วมีความสุข ธุรกิจอยู่รอด ศึกษาทุกอย่างเรียบร้อย ตัดสินใจจะซื้อแฟรนไชส์ตัวนี้แล้วล่ะ แต่จะตั้งตรงไหน? นี่แหละ! ที่หลายคนตกม้าตาย มีทุกอย่างครบ แต่ไม่มีที่ตั้ง อย่าไปคิดทีเดียวนะว่าทำเลไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าสินค้าดีจริง ที่ไหนคนก็ไปซื้อ นี่ก็มีส่วนถูก แต่ถูกเพียงบางส่วน มีคนไปซื้อ แต่ถ้ามันลำบากมาก คิดเหรอว่าเขาจะมาซื้อบ่อย ๆ แล้วธุรกิจจะอยู่ได้อย่างไรถ้าลูกค้าแวะเวียนมาแค่อาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้ง ทำเลหรือสถานที่ตั้งจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการซื้อแฟรนไชส์ ยิ่งหาง่ายเท่าไหร่ สะดวกสบายแค่ไหน ยิ่งดี สุดท้ายก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องตัวเจ้าของแฟรนไชส์เอง การทำแฟรนไชส์ถ้าไม่มีใครสอนให้เราเข้าใจอย่างถูกต้อง ถ่องแท้ มันก็ลำบากมากเหมือนกัน ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์คิดแต่จะขายแฟรนไชส์ แต่ไม่คิดจะสอนงาน ไม่คิดจะช่วยเหลือ ช่วยโปรโมท ช่วยทำการตลาดให้คุณ ทำให้คุณประสบความสำเร็จไปพร้อมกับเขา แฟรนไชส์นั้นคุณอย่าได้คิดไปข้องเกี่ยวเลยทีเดียว เพราะแฟรนไชส์ที่ดีจริง เจ้าของแบรนด์จะลงมาคลุกคลี ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับคุณทันทีที่คุณประสบปัญหา มันไม่ใช่แค่เรื่องของการจ่ายเงินให้กันและจบไป มันเป็นเรื่องของการทำธุรกิจร่วมกัน เป็นพาร์ทเนอร์กัน และประสบความสำเร็จไปพร้อมกัน ปัจจุบันนี้มีสถาบันทางการเงินที่ยินดีให้การสนับสนุนในการซื้อแฟรนไชส์ ด้วยประสบการณ์ทางการเงิน การวิเคราะห์ธุรกิจ หากคุณได้เข้าไปขอคำปรึกษาจะได้ข้อคิดดี ๆ ก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะธนาคารชั้นนำอย่างธนาคารกรุงเทพ เท่าที่ทราบเขามีฝ่ายสินเชื่อที่ดูแลด้านนี้โดยตรง หากสนใจลองเข้าไปถามรายละเอียดดูที่ 1333

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line