วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

ทีดีอาร์ไอ ชี้ธุรกิจไทยเสี่ยงข้อกีดกันการค้า

by Smart SME, 8 มิถุนายน 2559

 ทีดีอาร์ไอ ชี้ธุรกิจไทยเสี่ยงข้อกีดกันการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือสนค.กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอเผยธุรกิจไทยเสี่ยงต่อข้อกีดกันด้านมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันแม้มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอที่เจรจาระหว่างกันของประเทศต่างๆ มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีข้อกีดกันด้านมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่เรื่องภาษีมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจไทยที่จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านั้น และที่สำคัญไม่มีใครสามารถยับยั้งการเกิดข้อกีดกันมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่เรื่องภาษีอันเกิดใหม่ได้ เพราะแต่ละประเทศผู้นำเข้าออกข้อกำหนดใหม่ๆ ได้ ในปี 2557 มีข้อกีดกันดังกล่าวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง ที่แต่ละประเทศสร้างขึ้น รวมกันกว่า 962 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้นในระดับที่มาก เกือบ 3 เท่า จาก 3 ปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยยังไม่มีหน่วยงานหลักติดตามข้อกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องภาษี ซึ่งควรจะต้องมีหน่วยงานมาดูแล และควรมีการบูรณาการจัดทำมาตรฐานเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารร่วมกัน เช่น องค์การอาหารและยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากดูงานที่ตัวเองรับผิดชอบแล้ว ควรทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมรับมือและเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการไทยว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรกับมาตรฐานการค้าใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูล การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเอฟทีเอ ปี 2557 พบว่าผู้ประกอบการไทยที่ส่งออก ใช้สิทธิ์เอฟทีเอเพียง 51.7% จากสิทธิ์ที่ใช้ได้ทั้งหมด ประหยัดภาษีได้ 146,541 ล้านบาท ถือว่ายังใช้ในระดับที่น้อย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี นอกจากนี้ผู้ประกอบการทุกขนาดบางส่วนยังเห็นว่าไม่จำเป็นในการใช้เอฟทีเอ เพราะผู้นำเข้าในประเทศคู่ค้าไม่ได้ขอมา และมูลค่าส่งออกไม่สูง กระบวนการ เอกสารขอใช้สิทธิ์ยุ่งยาก ดังนั้นหากไม่มีการเจรจาเอฟทีเอเพิ่ม แต่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้เอฟทีเอครอบคลุมสิทธิ์ที่มีเต็ม 100% จะประหยัดภาษีได้ 279,757 ล้านบาท ด้านสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีความซับซ้อนขึ้น ตลาดโลกให้ความสนใจเรื่องตรวจสอบย้อนกลับอย่างมาก เช่น ผลไม้บรรจุกระป๋องอย่างสับปะรด ก็ต้องระบุที่มาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ การทำเกษตรพันธะสัญญาซึ่งควบคุมมาตรฐานการผลิตได้เป็นอีกคำตอบหนึ่ง โดยสัญญาควรเป็นธรรมกับเกษตรกร มีการรับรองราคาขั้นต่ำ เอกชนส่งผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้และพัฒนามาตรฐานการผลิต ตรงนี้ก็ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่อง โรงงานเอกชนมีผลผลิตป้อน ผู้บริโภคตรวจสอบย้อนกลับได้ อย่างไรก็ตามการทำเกษตรพันธสัญญาในแต่ละอุตสาหกรรม เช่นอาหาร ปศุสัตว์ ก็ควรมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปตามลักษณะอุตสาหกรรม จะใช้แบบเหมารวมระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรไม่ได้

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร? คนเชื่อมั่นในตัวเองถึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากว่าคนอื่น

“ความสำเร็จ” เป็นเส้นทางมุ่งหวังที่ใครหลายคนอยากจะทำให้ได้สักครั้งกับเรื่องราวที่ตั้งเป้าหมายไว้ในชีวิต เพราะมันคือความคุ้มค่ากับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความพยายาม

SmartSME Line