วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2567

จุดอ่อน SMEs ไทย

by Smart SME, 14 มิถุนายน 2559

เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมธุรกิจขนาดเล็กของไทยเติบโตและขยายสาขากันได้ยากจริง ๆ หลายกิจการช่วงแรกขายดิบดีสักพักก็กำไรหดหาย  เพราะผู้ประกอบการ SMEs ไทยหลายท่านยังไม่รู้ว่าหลายสิ่งที่กำลังทำอยู่ ทำลายธุรกิจของตัวเองเสียอย่างนั้น วันนี้เราได้รวบรวมจุดอ่อนและข้อผิดพลาดที่ SMEs ไทยส่วนใหญ่มักทำเอาไว้ หากคุณกำลังพัฒนากิจการแล้วล่ะก็ ห้ามพลาดเชียว ! 1.ดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่มีอนาคต “ธุรกิจที่ไม่มีอนาคต” คือการทำธุรกิจไปเรื่อยแล้วลูกค้าหดหายลงเรื่อย ๆ จนอาจจะขยายไม่ได้อีกหรือต้องปิดกิจการไป ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ทำให้ “ธุรกิจไม่มีอนาคต”  ได้แก่ การที่คุณเริ่มทำธุรกิจจากสิ่งที่ตลาดไม่ได้ต้องการ และไม่ได้วิเคราะห์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั่นเอง เพราะส่วนใหญ่ SMEs ไทยมักจะเริ่มทำธุรกิจจากสิ่งที่ชำนาญจนลืมไปว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อหรือเปล่า หากเจ้าของกิจการต้องการจะวิเคราะห์ตลาดหรือฟื้นฟูกิจการให้ดีขึ้นแต่ไม่มีความรู้ อาจจะต้องเข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้ด้านการตลาดเพื่อปรับปรุงธุรกิจแทน
  1. ขาดความคิดสร้างสรรค์
อีกปัญหาที่ SMEs ของไทยส่วนใหญ่คือ “ขาดความสร้างสรรค์” โดยเจ้าของกิจการส่วนใหญ่จะเริ่มต้นกิจการด้วยสิ่งที่ตัวเองมีความรู้หรือความชำนาญ เช่น น้ำผลไม้ที่ผลิตขึ้นเองในครอบครัวและนำมาวางขายโดยไม่วิเคราะห์ตลาด ไม่มีการโฆษณา และใช้บรรจุภัณฑ์ธรรมดา ๆ โดยไม่รู้ว่าสินค้าขาดความน่าสนใจจนทำให้ ขายได้น้อยและขายได้ในวงแคบ ๆ แค่การบอกต่อกันในกลุ่มคนรู้จักเท่านั้น  นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่เมื่อไหร่ที่มีคนทำธุรกิจอะไรแล้วกำไร เช่น ร้านหมูกระทะ หรือร้านกาแฟ ก็จะเกิดการทำเลียนแบบร้านเหล่านี้กันจนล้นตลาด  ซึ่งจริง ๆ การเปิดธุรกิจประเภทเดียวกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่การทำเหมือนกันอย่างไม่สร้างสรรค์หรือโดดเด่นคือสิ่งที่ทำให้หลาย ๆ กิจการต้องยุบและเจ้งไป ดังนั้น เรื่องของ “ความสร้างสรรค์” เป็นสิ่งที่ SMEs ต้องหันมาสนใจเป็นอันดับแรก ๆ เพราะจะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถเอาชนะคู่แข่งและทำยอดขายได้เป็นอย่างดี 3.ไม่รักษาคุณภาพสินค้า ธุรกิจหลาย ๆ กิจการเมื่อขายจนเริ่มเติบโตกลับไม่ควบคุมคุณภาพให้คงที่จนไม่สามารถขยายออกไปได้ เช่น ธุรกิจร้านอาหารบางแห่ง ช่วงแรกเริ่มกิจการ คุณภาพของอาหารและการบริการดีเยี่ยมจนขายดีและเติบโต เมื่อลูกค้าเยอะขึ้นข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและจำนวนพนักงานก็เริ่มเข้ามา จนทำให้รับพ่อครัวที่ไม่มีฝีมือเข้ามาเพิ่ม หรือลดปริมาณอาหารในจานลงเพื่อหวังกำไร สิ่งเหล่านี้จะลดมาตรฐานและบริการทำให้ลูกค้าไม่พอใจและเลิกเข้ามาทานในที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับร้านอาหารฟาสท์ฟูดของต่างประเทศที่สามารถขยายสาขาได้เรื่อย ๆ จนทั่วโลกเพราะเขามีมาตรฐานให้กับอาหารทุกจานเท่ากันทุกสาขานั่นเอง
  1. ชอบตัดราคา
อีกสิ่งหนึ่งที่พบว่าเป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ “การตัดราคาคู่แข่ง” ผู้ประกอบการหลายๆท่านคิดว่าการตัดราคาให้สินค้าของตัวเองถูลงกว่าคู่แข่งจะทำให้ขายได้ แต่ความจริงแล้วการพยายามขายสินค้าด้วยการตัดราคากลับเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะของผู้ประกอบการธุรกิจ เพราะการแข่งขันกันลดราคาลงเรื่อย ๆ เมื่อถึงจุดที่กำไรไม่เหลือจะมีแต่ต้องยุบกิจการลง วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าคือค้นหา “จุดขาย” หรือจุดแข็งแกร่งที่แตกต่างแทน เพื่อคงราคาเดิมเอาไว้  ซึ่งสินค้าหรือบริการที่มีความสร้างสรรค์และความน่าสนใจ จะสามารถคงราคาหรือเพิ่มมูลค่าขึ้นได้เป็นอย่างดี
  1. ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจ
จากผลสำรวจพบว่าผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ขาดทุนทางความรู้มากกว่าเงินทุนเสียอีก จริงอยู่ว่าเจ้าของกิจการส่วนใหญ่มักจะมีความเชียวชาญในสิ่งที่ตนเองขายเป็นอย่างดี แต่การทำธุรกิจคุณจะรู้เพียงวิธีทำให้อร่อย หรือทำให้ใช้ดีอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สินค้าขายดีได้   นี่คือสาเหตุหลักที่กิจการไทยที่แม้จะมีวัตถุดิบดีหรือต้นทุนที่ต่ำกว่าเท่าไหร่ก็ไม่สามารถขยายและก้าวหน้าจนส่งออกได้เหมือนกับธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาขยายสาขาในบ้านเรา ดังนั้น เมื่อคุณทราบแล้วว่าความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างสรรค์สำคัญแค่ไหนกับการทำธุรกิจ ขั้นต่อไปที่ SMEs ต้องลงทำคือ เปิดใจศึกษาความรู้ หรือรับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการ เพื่อพัฒนากิจการให้ก้าวไกลต่อไป By : รังรอง ทองเฉิดฉาย

Mostview

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

SmartSME Line