วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

ลูกจ้าง กับ ผู้ประกอบการ ข้อแตกต่างระหว่างคนอยากรวย

by Smart SME, 1 มีนาคม 2560

ขณะที่คนบางจำพวกทำงานโดยใช้เส้นตายเป็นตัวกำหนด แต่อีกกลุ่มทำงานโดยวางแผนถึงความสำเร็จ  บ้างคิดก่อนทำ บ้างทำก่อนคิด ความแตกต่างเพียงนิดระหว่างคำศัพท์ทางธุรกิจสองคำ ลูกจ้าง กับ ผู้ประกอบการ  ที่มีโลกแตกต่างกัน  อุปนิสัย พฤติกรรม ทิศทาง วิถีชีวิต การใช้ชีวิต รูปแบบ และแทบทุกสิ่งไม่เหมือนกัน และนี่คือความแตกต่างของคนสองกลุ่มที่ Thinkbusinessplan รวบรวมไว้ ดังต่อไปนี้

ผู้ประกอบ การทำงานด้วยทักษะของพวกเขา / ลูกจ้าง ทำงานด้วยข้อจำกัด

  • ความคาดหวังต่อผู้ประกอบการกับลูกจ้างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  ไม่มีใครมาถามผู้ประกอบการ  หรอกว่าเขามีจุดอ่อนหรือไร้ความสามารถด้านใด แต่จะถามถึงทักษะหรือความสามารถที่จะมีผลดีต่อสภาวะตลาด เช่น ทักษะในการวางแผนธุรกิจ ทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ และอื่นๆ เป็นต้น ในขณะที่ลูกจ้างต้องทำงานด้วยข้อจำกัดเพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้กับหน้าที่การงาน

ผู้ประกอบ การสร้างหนทาง / ลูกจ้าง มองหาทิศทาง

  • ผู้ประกอบการคือผู้คนที่สู้ด้วยสัญชาตญาณของตนในการตัดสินอนาคตด้วยผลของการกระทำ ตามที่กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ พวกเขาจะยืนหยัดแตกต่างจากฝูงชนและไม่ต้องการคำแนะนำในการตัดสินใจในเรื่องของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือชีวิต  ในทางตรงกันข้าม ลูกจ้างคือผู้คนที่ต้องการคำแนะนำที่แน่นอนชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ต้องมีคนช่วยตรวจสอบการปฏิบัติการเป็นระยะๆ

ลูกจ้าง หลีกเลี่ยงความเสี่ยง / ผู้ประกอบการ ใช้ชีวิตอยู่กับมัน

  • สิ่งหนึ่งที่คนเป็นผู้ประกอบการต้องเผชิญคือปัจจัยเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง มันเป็นความสามารถของพวกเขาที่จะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรไปสู่ความก้าวหน้า ตามที่กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ มนตร์บทสำคัญของพวกเขาคือ ยิ่งเสี่ยงยิ่งได้กำไร (High Risk High Return) ในทางกลับกัน ลูกจ้างหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Low Risk Low Return) ความปลอดภัยทำให้ไม่สามารถต้อนรับความสร้างสรรค์อะไรได้เลย  สิ่งเดียวที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้คือการอยู่เบื้องหลังองค์กรธุรกิจที่เข้มแข็ง

ลูกจ้าง ถูกกำหนดกฎเกณฑ์ / ผู้ประกอบการ ฉีกกฎ

  • ลูกจ้างชอบที่จะใช้ชีวิตในกฎทอง ต้องเป็นสิ่งที่ได้ผลประโยชน์เท่านั้น การผืนกฎเป็นดังบาปถ้าองค์กรไม่อนุญาตให้พวกเขาปฏิบัติ  หรือถ้าเขาไม่ปรารถนาจะทำ  ในขณะที่ผู้ประกอบการไม่รู้ล่ะว่ากฎเกณฑ์คืออะไร เพราะสำหรับพวกเขาการยึดติดกับกฎเกณฑ์คือการฆ่าความสนุกสนาน สำหรับพวกเขาความสร้างสรรค์ ความเสี่ยง นวัตกรรม จะต้องสูญเสียไปถ้าต้องเดินตามกฎเกณฑ์ แผนธุรกิจ คือ Roadmap ของการแหกกฏ ที่คนที่เป็นลูกจ้างไม่กล้าแม้แต่จะคิด

ลูกจ้าง ไม่ชอบความล้มเหลว /  ผู้ประกอบการ อ้าแขนรับมัน

  • ลูกจ้างทั่วไปมักมองความผิดพลาดในการทำงานและของตนเองจะนำไปสู่การสูญเสียความมั่นคงในการจ้างงานที่พวกเขาหวงแหน ในขณะที่ผู้ประกอบการมองความผิดพลาดเป็นดุจบันไดสู่ความสำเร็จถ้าเพียงพวกเขาจะพยายามต่อไป ความผิดพลาดจะกลายเป็นความสำเร็จ เรียนรู้จากความผิดพลาดคือคุณภาพที่ไม่เหมือนใครของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็น พวก Startups นั้นต้องผ่านความล้มเหลว ความผิดพลาด มานับไม่ถ้วน กว่าจะสร้างความสำเร็จให้ผู้คนได้เห็น...

ผู้ประกอบการ สนใจโครงสร้างองค์กร / ลูกจ้าง สนใจโครงสร้างพื้นฐาน

  • ในขณะที่ลูกจ้างจะให้ความสนใจเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบ ความเชื่อถือและอำนาจ  ผู้ประกอบการจะพิจารณาถึงว่า คนในองค์กรควรทำอย่างไรเพื่อไปถึงเป้าหมายและการเติบโตขององค์กร ตามที่กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ หรือ Roadmap

ลูกจ้าง ทำตามหน้าที่ / ผู้ประกอบการ เป็นผู้วางแผน

  • หน้าที่สำคัญของพนักงานก็คือปฏิบัติงานตามแผนที่มีมาให้แล้ว เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่จะปฏิบัติตามเพื่อผลลัพธ์สุดท้าย  ในขณะที่ผู้ประกอบการทำตั้งแต่วางแผนธุรกิจ ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นแผนธุรกิจระยะสั้นหรือระยะยาว

ลูกจ้าง คือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน / ผู้ประกอบการ ต้องรู้ทุกเรื่อง

  • ลูกจ้างคือคนที่จะรักษาหน้าที่ของตนให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด จัดการงานด้วยเวลาที่น้อยที่สุด เจาะจงเฉพาะด้านที่ได้รับการมอบหมาย ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องรู้รอบด้านแต่ไม่ต้องเป็นเลิศในทุกๆ เรื่อง ต้องใช้ภาวะผู้นำสูง ตามข้อมูลจากการศึกษาวิจัย 89% ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมักจะทำงานเป็นลูกจ้าง และชีวิตมักเป็นผู้ตามเสียส่วนใหญ่

[บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]


Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line