วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

“สนธิรัตน์” จี้ผู้ประกอบการไทยจดทะเบียนทรัพย์สินสมอง ใช้เป็นอาวุธรุก AEC

by Smart SME, 15 มีนาคม 2560

“สนธิรัตน์” ชี้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอาวุธสำคัญของผู้ประกอบการไทยในการทำตลาดอาเซียน  แนะเร่งเข้าจดเครื่องหมายคุ้มครองเพื่อรักษาสิทธิ์  เผยเดินหน้าปรับลดขั้นตอนให้เหลือ  9 เดือน   แจงรัฐบาลวางโรดแมป 20 ปี  ปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาสอดรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวในการเป็นประธานเปิดการสัมมนา “50 ปีอาเซียนกับการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ”  โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาอาเซียน ว่า  ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพและขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการที่จะนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภครวมทั้งการลงทุนจากประเทศต่าง ๆ นั้นยังมีอยู่อีกมาก  โดยปีที่ผ่านมา (2559) ไทยส่งออกไปตลาดอาเซียน มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม และยังมีแนวโน้นที่จะเติบโตในตลาดเหล่านี้อีกมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัว  นอกจากจะมุ่งส่งออกแล้ว ควรเข้าไปลงทุนและการเสริมสร้างเป็นพันธมิตรด้านการค้าในกลุ่มอาเซียนมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทยในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะการยื่นจดเครื่องหมายการค้าที่ผู้ประกอบการไทยจะละเลยไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบันการยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าในภายกรอบอาเซียนจะใช้เวลา 9-16 เดือน เนื่องจากมีขั้นตอนในการตรวจเช็คข้อมูลว่าเครื่องหมายการค้าซ้ำซ้อนกันหรือไม่  จึงต้องใช้เวลานาน  แต่เพื่อให้มาตรฐานการยื่นจดเครื่องหมายการค้าในกลุ่มอาเซียนที่จะใช้มาตรฐานเดียวกัน ไทยอยู่ระหว่างปรับลดขั้นตอนจาก 9-12 เดือนให้เหลือเพียง 9 เดือนได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งประเทศในอาเซียนตรวจสอบเครื่องหมายการค้าโดยใช้เวลาเพียง 9 เดือน คือ ประเทศสิงคโปร์ "ผมอยากให้ผู้ประกอบการไทย เร่งเข้ามาจดเรื่องของสิทธิบัตร และเรื่องของเครื่องหมายการค้ากันมากๆ  เพราะเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ โดยในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งอาเซียน และที่สำคัญต้องไม่ลืม วางแผนแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งการจดจะต้องใช้เวลา ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเร่งพัฒนากระบวนการต่างๆ เพื่อเข้าสู่มาตรฐานของอาเซียน เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยอย่างเต็มที่" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์   กล่าว นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน 2016-2025 (ASEAN IPR Action Plan 2016-2025) ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการ เพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญาระดับภูมิภาค  2.พัฒนาระบบและเครือข่ายทรัพย์สินทางปัญญาของภูมิภาคอาเซียนให้สนับสนุน AEC 3.พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียนให้ครอบคลุมในวงกว้างและ 4.สร้างสินทรัพย์โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือโดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น นายสนธิรัตน์ เผยด้วยว่า  ที่ผ่านมาอาเซียนมีการจัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน หรือ ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperation หรือ AWGIPC เป็นเวทีการประชุมหารือระหว่างระดับอธิบดี  สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พบกันปีละ 2-3ครั้ง โดยความสำเร็จของการดำเนินงานของ AWGIPC ที่ผ่านมา เช่น จัดทำโครงการ ASPEC หรือโครงการแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบสิทธิบัตรของอาเซียน โครงการจัดทำฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าของอาเซียนเพื่อประโยชน์ ในการสืบค้นเครื่องหมายการค้า ที่มีการจดทะเบียนไว้ในประเทศสมาชิกอาเซียน และการผลักดันให้สมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคี     ความตกลงระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญา  เป็นต้น นอกจากนี้ การพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้มีประสิทธิภาพถือเป็นวาระที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา หรือ คทป. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาด้านต่าง ๆ ซึ่ง คทป.เห็นชอบแผนดำเนินงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ระยะ 20 ปี    เพื่อปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและปัญญา ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1.การสร้างสรรค์ (Creation) 2. การคุ้มครอง (Protection) 3.การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) 4.การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) 5.การสนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนและประเทศด้านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI  และ 6.เรื่องทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

เพราะอะไร? คนเชื่อมั่นในตัวเองถึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากว่าคนอื่น

“ความสำเร็จ” เป็นเส้นทางมุ่งหวังที่ใครหลายคนอยากจะทำให้ได้สักครั้งกับเรื่องราวที่ตั้งเป้าหมายไว้ในชีวิต เพราะมันคือความคุ้มค่ากับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความพยายาม

SmartSME Line