วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

การสื่อสาร ช่วยลดความทุกข์เข็ญของคนในพื้นที่ห่างไกล

by Smart SME, 17 ตุลาคม 2561

พระราชอัจฉริยภาพด้านวิทยุสื่อสาร เป็นพระอัจฉริยภาพหนึ่งในหลายด้านของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาพระองค์ก็ทรงเสด็จกลับประเทศไทย และได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินย่ำพระบาทไปในหลายพื้นที่ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร การเสด็จในแต่ละครั้งนอกจากการคมนาคมด้วยถนนหนทางแล้ว สิ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกล สามารถติดต่อกับคนภายนอกได้หรือขอความช่วยเหลือจากทางการเมื่อเกิดทุกข์เข็ญได้นั่นก็คือ การสื่อสาร

ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2511 พระองค์ทรงเริ่มต้นจริงจังกับระบบวิทยุสื่อสาร โดยทรงใช้เครื่องรับ – ส่งวิทยุ VHF/FM FM-5 เพื่อเฝ้าฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านเมือง และติดต่อกับเครือข่าย “ปทุมวัน” และ “ผ่านฟ้า” นอกจากนี้ พระองค์ทรงสนใจตรวจซ่อมและปรับแต่งเครื่องรับ – ส่งวิทยุสื่อสารที่ทรงใช้งานอยู่ด้วยพระองค์เอง และยังทรงสนพระทัยด้านสายอากาศและสายนำสัญญาณ

โดยรับสั่งว่า “การรับวิทยุก็ดี การส่งวิทยุก็ดี ถ้าไม่มีสายอากาศหรือสายอากาศไม่ดี จะใช้เครื่องส่งกำลังสูงเพียงใด เครื่องรับจะดีเพียงใด ก็ไม่สามารถช่วยให้การสื่อสารทางวิทยุมีประสิทธิภาพสูงได้” ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมากหรือที่เรียกว่า VHF เพื่อพัฒนาสายอากาศให้นำมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศชาติ

และในบางโอกาสยังทรงพระราชทานคำแนะนำทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการปรับแต่งเครื่องรับ – ส่งวิทยุที่มีความซับซ้อน ตลอดจนพระราชทานความรู้เกี่ยวกับสายอากาศและการเผยแพร่กระจายคลื่น และลักษณะการถูกรบกวนของคลื่นวิทยุในข่ายต่าง ๆ และวิธีการที่จะแก้ไขการรบกวนนั้นด้วย

พระองค์ทรงนำความรู้เกี่ยวกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการช่วยเหลือราษฎร และพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย อีกทั้งพระองค์ยังทรงมองเห็นว่าเทคโนโลยีการสื่อสารคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเริ่มมีแนวคิดที่จะพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสารอื่น ๆ นอกเหนือไปจากวิทยุ อาทิเช่น จัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต การศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม วิทยุสื่อสารส่วนพระองค์หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ “VR009”

 

รูป : http://www.wb6nvh.com/mystry/mystry3.htm

ที่มา : http://www.most.go.th/main/th/knowledge/sti-genius-of-king/7364-2018-06-19-06-48-27


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line