วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2567

เจาะลึกการบริโภคเครื่องสำอางในตลาดจีน

by Phawanthaksa, 12 ธันวาคม 2561

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เฉิงตู เผยว่า ขณะนี้จีนกลายเป็นตลาดบริโภคเครื่องสำอางอันดับ 2 ของโลก รองมาจากสหรัฐฯ โดยมูลค่าการขายเครื่องสำอางในตลาดจีนมากกว่า 2 แสนล้านหยวนต่อปี คิดเป็น 15.45% ของตลาดเครื่องสำอางทั้งโลก โดยปัจจุบันเครื่องสำอางที่วางขายในตลาดจีนมีทั้งสิ้น 11 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว, ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม, ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก, คอสเมติกส์, เครื่องอาบน้ำ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเด็ก, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชาย, ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด, น้ำหอม, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และผลิตภัณฑ์กำจัดขน

ปี 60 ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวครองส่วนแบ่งในตลาดเครื่องสำอางของจีนกว่า 51.62% หรือกว่า 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งโลก ขณะที่คอสเมติกส์ และน้ำหอมมีสัดส่วน 9.5% และ 1.7% ตามลำดับ คาดว่าปี 61 ขนาดตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 แสนล้านหยวน โดยเครื่องสำอางที่ผลิตภายในประเทศมีกว่า 5 แสนชนิด และกว่า 4,000 แบรนด์ (ในจำนวนนี้มีแบรนด์ใหญ่ราว 375 บริษัท) โดยส่วนใหญ่กระจายใน 5 พื้นที่หลักของจีน ได้แก่ กวางตุ้ง, เจียงซู, เซี่ยงไฮ้, เจ้อเจียง และอานฮุย

เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กที่อยู่ในช่วงการพัฒนา มีปัญหาด้านเงินทุน ขาดการวิจัยและพัฒนาในการผลิต ทำให้คุณภาพของสินค้าไม่สามารถแข่งขันกับเครื่องสำอางนำเข้าได้ ทั้งบางบริษัทยังไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง จีนจึงยังต้องพึ่งพาการนาเข้าจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยตลาดที่แคลนแบรนด์เครื่องสำอาง Hi-End

ปี 60 ขนาดตลาดเครื่องสำอางจีนมีมูลค่าสูงถึง 3.512 แสนล้านหยวน +10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าปี 64 ขนาดตลาดบริโภคเครื่องสำอางในจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 4.337 แสนล้านหยวน แต่ปัจจุบันการบริโภคเครื่องสำอางในจีนมีค่าเฉลี่ยเพียง 352.4 หยวนต่อคนเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จีนยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการบริโภคเครื่องสำอางเป็นอย่างมากในอนาคต ส่วนกลุ่มผู้บริโภคเครื่องสำอางในตลาดจีนแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ 

  • กลุ่มอายุต่ากว่า 18 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนมัธยม โดยจะนิยมบริโภคสินค้าเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศเพราะมีราคาถูก โดยแบรนด์สินค้าดังกล่าว เช่น Dabao, Pechoin, Inoherb
  • กลุ่มอายุ 18-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัย หรือวัยเริ่มทำงาน โดยมีสัดส่วนถึง 11.9% และนิยมบริโภคแบรนด์สัญชาติจีนที่มีชื่อเสียง เช่น Maxam, Shulei, Oupres
  • กลุ่มอายุ 25-29 ปีที่มีรายได้ระดับกลาง มีสัดส่วน 36% มักให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าโทนเนอร์ และมาร์คหน้า มีแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น L'Oreal, Lancome, Chando
  • กลุ่มอายุ 30-35 ปีเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักของจีน เพราะมีสัดส่วนถึง 40% และส่วนใหญ่จะเป็นหญิงวัยทำงานในเมืองมีรายได้สูง และนิยมซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Hi-End ทั้งมีชื่อเสียงและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีไต้ ไทย และญี่ปุ่น เช่น L'Oreal, Mary Kay, Innisfree, Snail White, Olay, Clarins
  • กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ส่วนใหญ่นิยมบริโภคครีมบำรุงผิว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอย ที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ

จีนมีช่องทางการจำหน่ายสำคัญ คือ

  • ออนไลน์ คือร่วมมือกับบริษัทที่ทำธุรกิจ Cross Border E-commerce ในจีน เช่น kaola.com, tmall.hk, global.vip.com และ jd.hk
  • ออฟไลน์ เช่นห้างสรรพสินค้า Wangfujing, Pacific, Ito Yokado, Isetan ร้านแฟรนไชส์ Watsons, Gialen, Innisfree และร้านขายเครื่องสำอางโดยเฉพาะ เนื่องจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ลูกค้ามักนิยมเข้าร้านประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากต่อราคาได้ รวมถึงร้านสะดวกซื้อ WoWo, 7-eleven และ Family Mart

ด้านภาษี บริษัทนำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีบริโภค และภาษีมูลค่าเพิ่ม 30% สำหรับสินค้ากลุ่มคอสเมติกส์ น้ำหอมและชุดเครื่องสำอาง นอกจากนี้ ภาษีนำเข้าทั่วไปของเครื่องสำอางสำหรับปาก ตา และเล็บ จะอยู่ที่ 150% อัตราภาษีนำเข้า MFN (The Most-favoured-nation Rate of Duty) ซึ่งใช้กับการนำเข้าจากประเทศที่มีข้อตกลง MFN กับประเทศจีน 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17% และภาษีบริโภค 30%

ส่วนธุรกิจ Cross Border E-commerce (ใช้สำหรับบุคคล) ซึ่งต้องใช้บัตรประชาชนในการสั่งซื้อสินค้าผ่านธุรกิจ Cross Border E-commerce โดยจะต้องชำระ Post tax ตามประเภทเครื่องสำอาง (หาก Post tax ไม่ถึง 50 หยวนจะไม่ต้องเสียเงิน) นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องชาระภาษีบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนาเข้า และภาษีรวมของภาษีดังกล่าว


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line