วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

4 จุดสังเกตที่จะทำให้รู้ว่า "ธุรกิจแฟรนไชส์" ที่คุณเล็งอยู่ ทำกำไรหรือแค่ขายฝัน

by Smart SME, 9 มีนาคม 2563

เมื่อมีเงินอยู่ในมือก้อนหนึ่ง ธุรกิจแรกที่คนส่วนใหญ่นึกได้หลังจากตัดสินใจเป็นนายตัวเอง นั่นคือ “ธุรกิจแฟรนไชส์” ซึ่งธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ดูเหมือนง่าย เพราะแค่มองหาแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ ที่การันตีรายได้ต่อเดือนมาขาย ก็สามารถทำเงินให้ตัวเองได้แล้ว

ซึ่งแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีเยอะมาก และนำเสนอในจุดเด่นของตัวเองจนน่าสนใจทุกเจ้า ตรงนี้เองที่เป็นเหมือนการขายฝันและอาจทำให้คุณตกหลุมพรางของแฟรนไชส์ด้านมืด ที่หลอกให้คนไปลงทุน แต่สุดท้ายก็ไม่ดูแลใส่ใจ และปล่อยคุณเจ๊งไปกับเงินที่เก็บสะสมมาทั้งชีวิต

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่อยากทำธุรกิจแฟรนไชส์

1. มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ

หลายคนมองว่าการซื้อแฟรนไชส์มาทำนั้นจะง่าย เพราะถูกประคับประคองจากเจ้าของแฟรนไชส์ โดยเขาจะคอยให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และจัดระเบียบให้คุณทุกอย่างจนร้านสามารถไปได้ และประสบความสำเร็จในที่สุด

2. ไม่ต้องจัดเตรียมวัตถุดิบอะไรเลย

แฟรนไชส์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นการขายสูตร ขายวัตถุดิบ ที่จะต้องสั่งมาจากเจ้าของแฟรนไชส์เท่านั้น ซึ่งข้อดีคือการที่คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นมากเท่าไหร่ ไม่ต้องเลือกวัตถุดิบเอง ก็สามารถสรรสร้างอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีเพื่อขายลูกค้าได้เหมือนกับต้นฉบับ

3. ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง

เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ทุกแห่งเป็นผู้ลองผิดลองถูกทั้งกับสูตรของสินค้า การหาทำเล หรือการบริหารจัดการทั้งหมดมาก่อนเรียบร้อยแล้ว ทำให้คุณสามารถเดินตามรอย และประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องผิดพลาดด้วยตัวเอง

มาดู! 4 ด้านมืดของแฟรนไชส์ ขายฝันเพื่อหาเงินเข้าตัวเอง

3 ข้อข้างต้นเป็นปัจจัยที่ทำให้คนส่วนใหญ่อยากซื้อแฟรนไชส์มาเปิดเพื่อเป็นนายตัวเอง และทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ต้องทำงานประจำ แต่ในความเป็นจริงยังมีสิ่งที่คุณต้องเจออีกมาก โดยเฉพาะกับแฟรนไชส์ขายฝัน ที่หลอกให้ซื้อแฟรนไชส์ไป และไม่ดูแลอย่างที่ตกลงกันไว้ หลาย ๆ แห่งไม่ดูแล หรือหลอกให้ซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือบริการเพิ่ม โดยอ้างว่าจะช่วยให้ธุรกิจดีขึ้น ซึ่งตรงนี้เองที่คุณควรระมัดระวัง และให้ความใส่ใจในแฟรนไชส์ที่มี 4 จุดสังเกตเหล่านี้ เพราะมีแนวโน้มจะเป็นแฟรนไชส์ขายฝันสูง

1. คืนทุนไวใน 1-2 เดือน

หากเจ้าของแฟรนไชส์การันตีการคืนทุนในเวลาอันรวดเร็ว 1-2 เดือนได้ทุนคืน นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าแฟรนไชส์นั้นอาจไม่ดีอย่างที่คุณคิด เพราะในการทำธุรกิจจริงจะต้องมีอุปสรรคต่างๆ เข้ามาเป็นตัวแปรผันผวนกับรายได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นทำเล ไฟฟ้า สภาพอากาศ เศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งเจ้าของแฟรนไชส์ที่ดีจะให้คำแนะนำตามจริง ไม่เน้นขายมากเกินไป แต่จะให้คำปรึกษาและสอบถามข้อมูลจากคุณเพื่อประกอบการให้คำแนะนำตัดสินใจก่อนเสมอ เพราะไม่มีอะไรการันตีได้ว่าธุรกิจจะไปได้ดีอย่างที่หวังไว้ทุกสาขา

2. ประสบความสำเร็จแน่นอน

ทุกธุรกิจบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรที่มั่นใจได้แบบ 100% การทำแฟรนไชส์ก็เช่นกัน ต่อให้สูตรทุกอย่างจะถูกออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี แต่การไปเปิดขายในแต่ละสาขาก็จะมีตัวแปรที่แตกต่างกันไป ซึ่งไม่มีทางการันตีได้ว่าจะสำเร็จแบบ 100% การให้ความหวังตั้งแต่ยังไม่เริ่ม แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจในความเป็นจริง คิดแต่จะเอาประโยชน์เข้าตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าจริงๆ แล้วการทำธุรกิจนั้นต้องดูที่องค์ประกอบอะไรบ้าง

3. การันตีความสำเร็จจากจำนวนแฟรนไชส์ที่มากมาย

ต่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์สักแห่งจะมียอดขายเยอะ มีคนซื้อไปเปิดมากมายหลายสาขา แต่นั่นไม่ใช่ตัวการันตีความสำเร็จ หากเจ้าของธุรกิจยืนยันว่าคุณจะสำเร็จอย่างที่สาขาอื่น ๆ ได้ทำ นั่นคือการไม่จริงใจอย่างเห็นได้ชัด เพราะแค่จำนวนแฟรนไชส์ที่ขายได้ไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไป คุณต้องดูให้ลึกถึงอัตราส่วนของการซื้อและการประสบความสำเร็จด้วย เช่น แฟรนไชส์บางเจ้ามีคนซื้อไป 100 สาขา แต่กลับเจ๊ง 30 สาขา นั่นหมายถึงมีคนล้มเหลวจากแฟรนไชส์เจ้านี้ถึง 30% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก และไม่น่าลงทุนอย่างยิ่ง ดังนั้นจะมองแค่ด้านสวยหรูของแบรนด์เขาอย่างเดียวไม่ได้เด็ดขาด

4. การันตีรายได้ต่อเดือนชัดเจน

สุดท้ายการซื้อแฟรนไชส์สักเจ้าไปเปิดให้บริการเอง คุณไม่สามารถมั่นใจได้จากคำกล่าวที่ว่า จะการันตีรายได้ต่อเดือนที่แน่นอน เพราะรายได้ของแต่ละสาขา จะขึ้นอยู่กับทำเลการขายเป็นหลัก รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค หลายๆ แบรนด์จะได้รับความนิยมช่วงเปิดสาขาในตอนแรกเท่านั้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปลูกค้าคุ้นเคย ก็จะเกิดการเบื่อและไม่อยากใช้บริการ ตรงนี้จึงต้องมองให้เห็นลึกๆ ถึงสาขาที่เปิดมานานหลายปีด้วยว่าเขาได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ไม่ใช่เพียงดูแต่ยอดขายหลังเริ่มเปิดว่าทำกำไรตั้งแต่ช่วงเดือนแรก เพราะสุดท้ายหากธุรกิจขาดยอดขายในตอนปลาย ก็ไม่สามารถอยู่ได้อยู่ดี


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line