วันอังคาร, เมษายน 30, 2567

“ลิลูน่าแอพ” แบ่งปันเบาะว่าง สร้างมิตรภาพกลับสู่สังคมไทย

by Smart SME, 8 กันยายน 2560

“ลิลูน่า” (LILUNA) แอพลิเคชั่นในรูปแบบทางเดียวกันไปด้วยกัน ที่จะมาช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายและลดปัญหาการจราจรติดขัด นัฐพงษ์ จารวิจิตร หรือนาย ผู้พัฒนา “ลิลูน่า” กล่าวว่าอดีตเคยเป็นโปรแกรมเมอร์ ด้านงานพัฒนาแอพพลิเคชันที่เยอรมันมากว่า 10 ปี จุดเริ่มต้น “ลิลูน่า” เกิดจากความต้องการที่จะทำสตาร์ทอัพอยู่แล้ว เลยพยายามมองหาไอเดียว่าจะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่คอนโด เวลาขับรถออกไปทำงานก็มักจะเห็นเพื่อนร่วมคอนโดหลายคนที่ไม่มีรถ แล้วต้องมานั่งรอรถประจำทางหรือแท็กซี่นานๆ เลยคิดขึ้นว่าเราอยากช่วยพวกเขาเนื่องจากรถเราก็มีที่นั่งว่างอยู่ "ผมเคยเรียกคนขึ้นรถ พี่ไปด้วยกันมั้ย ผมผ่านทางนี้นะ แต่เขาก็ไม่ไป ไม่ใช่เพราะเขาไม่ผ่าน แต่เรามองว่าที่เขาไม่ไป เพราะเขาอาจเกรงใจหรือไม่เชื่อใจ” ทำให้คิดต่อว่าหากสามารถพัฒนาระบบส่วนนี้ให้มีความน่าเชื่อถือ มันจะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมาก จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาเป็นฟรีแลนซ์ เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันนี้อย่างจริงจังตั้งแต่กรกฎาคม ปี59 เพราะต้องการโฟกัสกับมันอย่างจริงจัง  “ลิลูน่า” ถือเป็นตัวกลางสำหรับคนขับและผู้เดินทาง ที่มีเส้นทางการเดินทางร่วมกัน โดยการคิดราคา เราแนะนำให้กะเอา เช่น เราขับไปจากจุดนี้ถึงจุดนี้ มีค่าน้ำมัน 100 บาท เราก็อาจหารค่าน้ำมันจากเขาคนละ 50 แล้วอีก 50 บาทเป็นค่าให้บริการ นี่ก็จะเป็นอีกช่องทางที่จะทำให้เราประหยัดและสร้างรายได้ ซึ่งคนขับจะเป็นคนกำหนดเส้นทางเอง การดาวน์โหลด “ลิลูน่า” ไม่ได้มีเป้าหมายให้เป็นไปในเชิงธุรกิจ ยกตัวอย่าง มีคนจะขับรถไปพัทยาแล้วคิดค่าบริการ 250 บาทต่อที่นั่ง ซึ่งไปพัทยาราคานี้ก็ถือว่าค่อนข้างแพง แล้วยังมีการแจ้งอีก ว่าต้องรอรถเต็มก่อนถึงจะออกได้ ทำให้ต้องไปชี้แจงกับผู้ใช้งานรายนี้ว่านี่ไม่ใช่แนวทางของเรา “สิ่งที่เราริเริ่ม ไม่ได้เกิดจากการนำเอาตัวเงินเป็นที่ตั้ง เรามองว่าสิ่งที่ทำควรจะสร้างคุณค่าต่อสังคม ส่วนเรื่องเงินเมื่อเราประสบความสำเร็จมันก็จะตามมาเอง ต่างจากสตาร์ทอัพทั่วไปที่นำเรื่องเงินมาเป็นที่ตั้งและแนวคิดแบบนี้เมื่อเอาไอเดียไปแข่งขันที่ไหนก็จะทำให้แพ้ตลอด มีคนถามว่าเราจะมีวิธีหาเงินยังไงกับการทำแอพนี้ เราเองก็ตอบไม่ได้ เพราะมันยังไม่มีความชัดเจน แต่ที่ทำเพราะคิดแล้วว่ามันมีประโยชน์ เพียงแค่นั้นเราก็ทำแล้ว ปัจจุบันเปิดมา 6 เดือนมียอดโหลด “แอพลิลูน่า” สูงถึง 60,000 ยูสเซอร์ โดยมีคนขับกว่า 2,000 ราย และมีคนมาสร้างเส้นทางกว่า 30 เส้นทางต่อวัน พร้อมมีอีกฟังก์ชั่นสำหรับผู้โดยสารซึ่งสามารถแจ้งได้ว่าอยากไปเส้นทางไหนที่ไหน เช่น ผู้โดยสารสามารถโพสต์ที่หน้าบอร์ดได้ว่าวันที่…เดือน...ต้องการไปภูเก็ต มีใครขับรถไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ก็มีคนมาระบุเส้นทางที่ต้องการจะไปกว่า 50 โพสต์ต่อวัน ปัญหาช่วงแรกคือ ต้องมีคนมีระบุเส้นทางที่จะไปให้เยอะมากขึ้นกว่านี้ อีกส่วนคือ คนที่อยากใช้บริการจำนวนมากแต่ยังมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือการเน้นย้ำว่าระบบการตรวจสอบของ “ลิลูน่า” สามารถยืนยันตัวตนที่แน่ชัดของทุกยูสเซอร์ แต่เพราะยังเป็นบริการใหม่ หลายคนก็อาจยังคงกลัวอยู่ ถ้ามองถึงภาพรวม กลุ่มผู้บริโภคที่มีเงินเดือนสูงๆ หรือคนที่ชอบความเป็นส่วนตัวอาจยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราก็เข้าใจเนื่องจาก “ลิลูน่า” ไม่ได้สร้างขึ้นมาให้รับกับไลฟ์สไตล์คนทุกกลุ่ม แต่เราจะเน้นคนที่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย คนที่อยากมีเพื่อน คนที่อยากสร้างมิตรภาพ ซึ่งจากยอดดาวน์โหลด 300 คนต่อวันก็เห็นได้ชัดขึ้นแล้วว่า “ลูลิน่า” เหมาะกับคนไทย อย่างกลุ่มแรกคือ คนขับรถไปทำงานทุกวันที่มีคอร์สค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง เช่นค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ถ้ามีคนมาร่วมแชร์ค่าใช้จ่ายก็จะทำให้ประหยัดมากขึ้น กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่ได้มองถึงค่าใช้จ่ายแต่อยากมีเพื่อน หรืออยากช่วยเหลือคน หากต้องเดินทางไปไหนไกลๆก็อยากมีเพื่อนนั่งคุยไปด้วยกัน และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มคนนั่ง ซึ่งการต้องออกจากที่ทำงาน 1 ทุ่ม แล้วรอรถตู้หรือรถเมล์อีกชั่วโมงทั้งขึ้นรถแล้วยังไม่มีที่นั่ง ทำให้พวกเขายินดีมากที่จะใช้บริการของ “ลิลูน่า” แต่ปัญหาตอนนี้คือเส้นทางที่จะไปไม่ตรงกัน ทำให้เราต้องคิดว่าจะทำยังไง? ให้คนรู้จักเรามากที่สุด ผมเชื่อว่า “ลูลิน่า” สามารถนำมิตรภาพกลับสู่สังคมไทยได้ อย่างสังคมคอนโดที่ผมอยู่  ผมเห็นหลายๆคนที่พักอยู่ที่เดียวกันแทบทุกวัน แต่ทำไมเราไม่เคยคุยกัน? ไม่รู้จักกัน? จนวันหนึ่งผมขับรถไปทำงาน เห็นเพื่อนร่วมคอนโดหลายคนรอแท็กซี่ ผมชวนเขาไปกับผมอีกครั้ง วันนั้นเขายอมไปด้วย พวกเราเลยได้รู้จักกัน ซึ่งจริงๆแล้วผมมองว่า “ลิลูน่า” มันไม่ได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอะไรมากมายหรอก แต่มันเป็นเรื่องของมิตรภาพมากกว่า เมื่อเราให้เขาก่อน เราก็จะได้มิตรภาพกลับมา นี่คือสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้และเป็นคุณค่าของ “ลิลูน่า”

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line