วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

Sharing Economy เริ่มขยายไปยังตลาด สินค้าแบรนด์เนมมือสอง

by Smart SME, 18 ตุลาคม 2560

การขยายตัวของ สินค้าแบรนด์เนมมือสอง สามารถสังเกตได้จากร้านขายของใหม่ทั่วไปต่างจัดโปรโมชั่นลดกระหน่ำ หรือสินค้าลดเพิ่มพิเศษ ซึ่งเป็นป้ายลดราคาที่เห็นได้เต็มสองข้างทางบนท้องถนนเมืองฮัมบูร์ก,  เมืองดึสเซลดอร์ฟและเมืองมิวนิก ในเยอรมัน สาเหตุที่ร้านขายสินค้าแฟชั่นต่างพร้อมใจโฆษณาถึงส่วนลดสุดพิเศษ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ร้านเหล่านี้ ต้องเร่งเตรียมพื้นที่ให้พร้อมเพื่อวางขายสินค้าคอลเลคชันใหม่ประจำฤดูใบไม้ร่วง บวกกับปัจจุบัน ธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะขายยากมากขึ้น เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อยต่างนิยมซื้อเสื้อผ้าและกระเป๋ามือสอง ทำให้ผู้ประกอบการทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ต้องดันโปรโมชั่นต่างๆมาแข่งขันกันอย่างหนัก นาย James Reinhart CEO Thredup บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่เพิ่งจะเปิดฐานออนไลน์ในประเทศเยอรมัน กล่าวว่า “เราคิดว่าเยอรมัน มีแนวโน้มและมีศักยภาพที่จะรองรับตลาดเสื้อผ้ามือสองค่อนข้างสูง ความเชื่อมั่นนี้ มากจากความสำเร็จของเขาในสหรัฐฯ อย่างในซานฟรานซิสโก ที่สามารถทำยอดขายเพิ่มเป็น 2 เท่า จาก 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าปีนี้จะได้ผลตอบรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน” เขาตอบอย่างมั่นใจว่าร้านขายของมือสองอย่าง เสื้อผ้า ร้องเท้า หรือเครื่องประดับตกแต่ง นั้นเป็นธุรกิจที่แปลกใหม่ในตลาด โดยเฉพาะในเยอรมัน มันไม่เหมือนอดีต ที่ลูกค้าจะมองว่าเสื้อผ้ามือสองเป็นของเก่าๆที่ใช้แล้ว เพราะการนิยามเสื้อผ้ามือสองได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้มองแค่ตรงนั้น แต่เน้นความสำคัญไปที่การแบ่งปัน (Sharing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ มีการคาดการณ์ถึงตลาดเสื้อผ้ามือสองในเยอรมัน ว่ามีมูลค่าราว 1,000 ล้านยูโร หรือ 10% ของสินค้าแบรนด์ทั่วประเทศ แต่ก็ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่บริษัท Thredup ทำยอดขายได้ถึง 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งภายใน ปี 2021 คาดว่าช่องทางการขายผ่านออนไลน์จะเพิ่มเป็น 2 เท่า และจะมีผลประกอบการกว่า 33,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นาง Cécile Wickman หัวหน้าแผนกออนไลน์ใน Rebelle บริษัทที่ขายสินค้าจากแบรนด์ดีไซน์เนอร์และแบรนด์หรูมือสองทั่วโลก กล่าวว่า คนรุ่นใหม่มองสินค้าที่จะซื้อ ถึงศักยภาพการขายต่อในอนาคต สินค้าแบรนด์เนมเป็นสินค้ามีคุณภาพสูง อย่าง สินค้าจากแบรนด์ Louis Vuitton, Prada, Gucci, Chanel และ Burberry ที่วัดได้จากจำนวนยอดขาย ทำให้ร้านค้าแนวนี้ก็มีการเติบโตสูงขึ้น โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ เยอรมัน, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, อังกฤษ, อิตาลีและฮอนแลนด์ บทความจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน เพิ่มเติม: https://goo.gl/L38JhR

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

SmartSME Line