วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เทรนด์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ปี 2019

by Smart SME, 30 ตุลาคม 2561

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา รายงานว่า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการผสมผสาน การดัดแปลงสร้างสรรค์อาหารรูปแบบใหม่ๆ จากแนวโน้มของตลาด การขยายตัว อิทธิพลจากวัฒนธรรมทั่วโลก หรือแม้แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่ง Hanni Rützler นักวิเคราะห์เทรนด์จากออสเตรียได้คาดการณ์แนวโน้มตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2019 ไว้ดังนี้

  • Plant-Based Food

โภชนาการที่มีส่วนประกอบจากพืชเป็นหลักในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่ผ่านการขัดสีหรือกระบวนการเก็บถนอมอาหารใด อย่างธัญพืช สาหร่าย โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนสูง จะได้รับนิยมมากขึ้นในอนาคต และกลายมาเป็นอาหารจานหลัก โดยจะมีเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลเป็นเครื่องเคียงเท่านั้น

ซึ่ง Plant-Based Food กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มมิลเลนเนียล, เจนเอ็กซ์ และเจนซี ทั้งบริษัทมากมายยังพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสกัดออกมาในแบบน้ำมัน แบบผง ตลอดจนนำมาแปรรูป เช่น แป้งเด็กจากธัญพืช เส้นสปาเกตตี้จากถั่ว พาสต้าจากควินัว เป็นต้น

  • Transparency

เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในการผลิตสินค้าโภชนาการ และต้องการข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับวัตถุดิบและที่มา บริษัทผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจผู้บริโภค

นอกจากนั้น Zero-Waste Concept หรือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ขยะเหลือศูนย์ ยังเป็นอีกแนวคิดในการผลิตอาหารเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ต่างให้ความสำคัญ เช่น การนำเมล็ดมะละกอมาทำพริกไทย การนำใบแครอทมาทำอาหารหรือสมูทตี้ รวมถึงการลดขยะพลาสติกในรูปแบบอื่นๆด้วย

  • Healthy Hedonism

หลายปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมักเลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย และเข้มงวดในการงดอาหารบางประเภท เช่น แป้ง โปรตีน ไขมัน แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคจะหันมาเลือกกินอาหารและเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางโภชนาการและให้พลังงานอย่างเต็มที่แทนอาหารไขมันต่ำ ทั้งยังให้ความสำคัญกับรสชาติที่ถูกปาก รวมถึงรูปแบบที่แปลกใหม่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินในประสบการณ์การกิน ดังนั้น ความสมดุลในรสชาติกับสุขภาพ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่อุตสาหกรรมอาหารควรให้ความใส่ใจ

  • The New French

ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อาหารฝรั่งเศสที่เคยมีชื่อเสียงในยุโรปและทั่วโลกได้ถูกลดลงความนิยมลง เมื่อเทียบกับหลายศตวรรษก่อน เนื่องจากยึดติดกับความดั้งเดิม แต่ปัจจุบัน มีความพยายามที่จะรื้อฟื้นอาหารฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบของภัตตาคารหรูและบิสโตรเข้าด้วยกัน ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้น พร้อมกันนั้น อาหารฝรั่งเศสจะมีความเป็นนานาชาติมากขึ้น จากการดัดแปลงเมนู ด้วยการนำจุดเด่นการปรุงอาหารของวัฒนธรรมอื่นมาประยุกต์ใช้อย่างลงตัว เช่น การใช้ผงกะหรี่และชีสร่วมกันเพื่อสร้างรสชาติที่กลมกล่อม และการใช้ซอสรสเผ็ดของอาหารไทยในเมนูอาหารเป็ดย่าง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะใช้เครื่องปรุงที่หลากหลาย แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคงไว้ คือรสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารฝรั่งเศสที่แท้จริง

  • Localisation

สินค้าจากท้องถิ่นจะกลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมอาหาร เพราะความเป็น Local จะสามารถสื่อสารได้ถึงเรื่องราว ความสดใหม่ คุณภาพ ความสะอาด และความเป็นธุรกิจขนาดเล็ก โดยนิยามของคาว่า Localisation นั้นหมายรวมถึงความสดใหม่จากธรรมชาติ ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ใช้กำลังการผลิตในครัวเรือน ผลิตในปริมาณไม่มาก อยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ มีความสร้างสรรค์และมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เล่นรายใหญ่ต่างหันมาเอาใจผู้บริโภคด้วยการผลิตและขายในช่วงเวลาและปริมาณที่จากัด เพื่อนำเสนอความพิเศษและมีคุณภาพสูง


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line