วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

เปิดใจ “ชมภูนุช ปฐมพร” แห่ง ทีเอ็มบี กับปรัชญา Make THE Difference เพื่อลูกค้าเอสเอ็มอีที่ดีขึ้น

by Smart SME, 27 พฤษภาคม 2562

หากจะพูดถึงสถาบันการเงินที่มีนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอันดับต้นๆ เชื่อได้เลยว่าหลายคนจะต้องคิดถึงธนาคารทีเอ็มบี อย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ในเรื่องธนาคารที่ฟรีค่าธรรมเนียมการเบิก ถอน จ่าย โอน ที่ทางทีเอ็มบีประกาศเจตนารมณ์เป็นรายแรกๆ ตามที่เห็นได้จากสื่อโฆษณาที่ผ่านมา ทำให้วันนี้ ทีเอ็มบี ได้เข้าไปอยู่ในใจของใครหลายคนและเลือกที่จะใช้บริการกับธนาคารแห่งนี้

และในส่วนของแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น ทางทีเอ็มบีก็ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จะเห็นได้จากการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อ และสิทธิพิเศษที่มอบให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการในช่องทางออนไลน์ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วตอบโจทย์ความต้องการในยุค 4.0 ได้เป็นอย่างดี

ชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารหญิงคนเก่ง ผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในแวดวงการเงิน ได้กล่าวถึงความคืบหน้าและนโยบายการบริหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

 

 

ชมภูนุช เผยถึงแนวทางของทีเอ็มบีที่จะช่วยเหลือเอสเอ็มอีท่ามกลางเศรษฐกิจในปัจจุบันว่า “ปี 2562 เป็นปีที่หลายคนคิดว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องประสบความสำเร็จ ซึ่งทางทีเอ็มบีเองก็มีนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการเหล่านี้ เรามีการคิดนโยบายแผนงานทุกปีและตลอดเวลา ด้วยปรัชญา Make THE Difference คือ เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้นและต้องดีขึ้นมากกว่าเดิม การที่ผู้ประกอบการทำงานหนักมากเท่าไร นั่นหมายความว่า ธนาคารจะต้องทุ่มเททำงานหนักให้มากขึ้นเท่านั้น เพื่อที่จะได้รู้ถึงความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงว่า ลูกค้ามีความต้องการในด้านใดบ้าง และธนาคารจะช่วยตอบโจทย์เหล่านั้นอย่างไร โดยปีนี้เราได้ทำการศึกษาอย่างละเอียด และทำให้ทราบว่ามี Need and Pain หรือความต้องการที่มากขึ้นจริงๆ ซึ่งในปีนี้เราจะเน้น 3 ส่วนที่เชื่อว่าเราจะสามารถหาโซลูชั่นให้กับลูกค้าได้

ทุกวันนี้เราเชื่อว่านักธุรกิจเอสเอ็มอีมีเรื่องที่ต้องทำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การหาวิธีหรือกลยุทธ์ที่จะทำให้ขายสินค้าได้ หรือคิดยุทธศาสตร์ทางการตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และสิ่งที่ยุ่งยากที่สุดคือการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ที่ผ่านมาทีเอ็มบี ให้ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร โดยจากการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าในทุกเดือน ลูกค้าจะต้องมาจัดการรายละเอียดกระแสเงินเข้า-ออกในแต่ละเดือน ซึ่งจากข้อมูลทราบว่าใน 1 ปีลูกค้าจะใช้เวลา 26 วันในการตรวจดูตัวเลขเงินเข้า-ออก ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก จนทำให้ไม่มีเวลาดูแลจัดการธุรกรรมของตนเองโดยตรง เราจึงคิดหาวิธีว่าทำอย่างไร ถึงจะให้ลูกค้าเอสเอ็มอีมีเครื่องมือเพื่อแบ่งเบาภาระ

ชมภูนุช กล่าวอีกว่า แน่นอนว่าหากผู้ประกอบการที่มีเงินทุนมากหน่อยก็อาจจะจ้างพนักงานบัญชี ซึ่งก็ต้องใช้ต้นทุน แต่เรามองไปถึงว่า “ไม่ต้องใช้พนักงานบัญชีเลย” จึงเป็นที่มาของการคิดค้นเครื่องมือที่ช่วยลดภาระและเข้าใจวิธีหรือระบบการใช้งานที่ง่าย โดยให้ลูกค้าทำการเปิดบัญชีและเอารายละเอียดต่างๆ ไปไว้บนแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งจะมีความพิเศษตรงที่ทำให้รู้ถึงเส้นทางทางการเงินหรือแหล่งที่มาของเงิน ทุกๆ สิ้นเดือนเราจะสรุปยอดกระแสเงินสด (Cash Flow) ให้ลูกค้าเห็น หากรายละเอียดข้อมูลทุกอย่างของลูกค้ามาอยู่ในบัญชีเดียวกับเรา เราจะทำการเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ให้ โดยสามารถบอกยอดเงินเข้า-ออกของบัญชี และรายงานให้ลูกค้าได้รับทราบอย่างทันท่วงที เราสามารถจะแจ้งกลับถึงลูกค้าเป็นรายเดือน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะพัฒนาระบบไปอีกขั้นที่จะทำให้ลูกค้าเอสเอ็มอีสามารถเข้าไปดูข้อมูลแบบวันต่อวัน (Real Time) ทำให้ลูกค้าสามารถรู้จำนวนเงินขาดเงินเกินในแต่ละวัน โดยมีระบบแจ้งเตือนการทำธุรกรรมทางการเงินแบบทันท่วงที เรียกว่าเรามีการวางแผนให้ทั้งหมด

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังมีปัญหาในเรื่องของการให้สวัสดิการกับเหล่าพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพกลุ่ม ประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน ทำให้ลดการลาออกจากงานในกลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างที่มีฝีมือ ซึ่งผู้ประกอบการบางคนอาจจะยังไม่พร้อมในเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าจะต้องใช้เงินทุนหรือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ทีเอ็มบีสามารถตัดปัญหาความกังวลของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ทั้งหมด เนื่องจากเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านประกัน และมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เรามีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น เราสามารถซื้อประกันกลุ่มใหญ่ๆ ได้ แล้วยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ประกันกลุ่มเหล่านี้มาขายให้ลูกค้าเอสเอ็มอีได้ในราคาเบี้ยประกันที่ถูกมาก อีกทั้งยังสามารถจ่ายเป็นรายเดือนได้อีกด้วย ส่งผลดีกับผู้ประกอบการ หากพนักงานลาออกไป ก็สามารถส่งต่อความคุ้มครองไปให้พนักงานคนใหม่ได้เลย ทำให้พนักงานอุ่นใจและเชื่อมั่นในตัวเจ้าของกิจการมากขึ้นด้วย”

ความพิเศษของแอปพลิเคชันด้าน HR “ที่ให้มากกว่า”

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลูกค้าเอสเอ็มอี ระบุว่า “ความพิเศษของแอปพลิเคชันของเรา คือ จะทำงานเหมือนฝ่ายบุคคลที่เข้ามาอยู่ในสมาร์ทโฟน ซึ่งตอนนี้เราคิดรูปแบบ (Feature) ของฝ่ายบุคคลเข้าไปในแอปพลิเคชันนี้ด้วย เราไม่ได้ตั้งเป้าจำนวนลูกค้าจะมาใช้บริการ แต่อยากให้ลูกค้าที่ทำธุรกรรมกับเราได้รับประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเรามีแคมเปญฟรีค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีกับเราไว้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่เราคาดหวังคือลูกค้าเมื่อสมัครแล้วใช้งานจริง เพราะถ้าใช้จริงเราจะได้รู้จักลูกค้าจริงๆ ซึ่งก็จะมาถึงอีกหนึ่งรูปแบบ (Feature) ของเรา

 

 

จากผลสำรวจเราพบว่าเวลาที่ลูกค้าเอสเอ็มอีต้องการจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนมันยากมาก ลูกค้า 100 คน จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพียง 20 คนเท่านั้น และยังต้องใช้เอกสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของธนาคารจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เขามาเป็นลูกค้ากับเรา ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจได้ครบ ทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมของลูกค้าได้ตลอด ข้อมูลตรงนี้จะเป็นเสมือนหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับเราได้ จากเดิมที่จะต้องเอาบ้านหรือที่ดินมาค้ำประกัน แต่ตอนนี้เพียงเรามีข้อมูลของลูกค้าและเชื่อว่าเขาทำธุรกิจจริง ซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะติดตามและประมวลได้ว่าช่วงไหนที่ลูกค้าต้องการเงินทุน เราจะได้นำเสนอสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ทันท่วงที

ดังนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่า 1.ทีเอ็มบี สามารถจัดการปัญหาธุรกรรมทางการเงินให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างสมบูรณ์แบบ 2.การบริหารบุคคลที่ช่วยลดภาระให้กับเหล่าผู้ประกอบการ และ 3.ลดการพลาดโอกาสทางธุรกิจ

ทีเอ็มบีมองเห็นโอกาสในการพัฒนาตรงนี้อย่างไร

ชมภูนุช กล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่ทีเอ็มบีให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีเสมอมา คือ การให้ในเชิงของความรู้ ทำให้ผู้ประกอบการรู้จักธุรกิจของตัวเองเป็นอย่างดี สิ่งที่เราแนะนำได้คือเครื่องมือที่จะนำไปช่วย สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ เรื่องของการเงิน โดยการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความชัดเจน หากมีการวางแผนการเงินที่ดีก็จะช่วยผู้ประกอบการได้ ที่ผ่านมามีลูกค้าที่อยากทำธุรกิจมาสักพัก และต้องการได้เงินกู้เพื่อมาขยายธุรกิจก็สามารถมาปรึกษาเราได้ ปัจจุบันเรามี TMB SME Advisory อยู่ในสาขาทั่วประเทศ สามารถติดต่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้

ความโดดเด่นของสินเชื่อทีเอ็มบี

“สินเชื่อของเราเรียกว่า TMB Smart BIZ ที่เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีใช้มาเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ ที่สำคัญคือความรวดเร็ว เราพยายามอย่างมากที่จะไม่ให้ลูกค้าพลาดโอกาส เพราะฉะนั้นเวลาลูกค้ามาสมัครใช้บริการกับเราจะพยายามใช้เอกสารน้อยมาก และใช้เวลาพิจาณาอนุมัติเร็วมากขึ้นด้วย ในอนาคตแค่เฉพาะข้อมูลของลูกค้าก็สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เราคิดว่าน่าจะตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้มากกว่า

มองเอสเอ็มอีที่ดีอย่างไร

“จริงๆ แล้วเอสเอ็มอีมีดีทุกคน” แต่เราอยากให้ทุกธุรกิจมีความแข็งแรง มีความเข้าใจในเนื้อธุรกิจและอยากทำจริง ปัจจุบันเรามีการวางรูปแบบไว้แล้ว คือ หากลูกค้าทำธุรกิจมาแล้ว 2 ปี ต้องการขอสินเชื่อเพื่อขยายกิจการเรายินดีให้การสนับสนุน เราก็เข้าไปดูข้อมูลลูกค้า

ทำไมเอสเอ็มอีจะต้องมาใช้บริการกับทีเอ็มบี

“เราเชื่อว่าเราทุ่มเทมุ่งมั่นในการทำงานเหล่านี้กันมาก เรียกว่าทำงานกันหนักมาก เพราะลูกค้าเอสเอ็มอีทำงานหนัก เราจึงพิถีพิถันกับสิ่งที่เป็นความต้องการของลูกค้า ดังนั้น สิ่งที่เราผลิตออกมาเชื่อว่าจะตอบโจทย์กับลูกค้าได้ดี ถ้าลูกค้าใช้บริการกับเราจะพบว่าชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องมากังวลว่าทุกสิ้นเดือนจะเกิดอะไรขึ้น เราเชื่อว่าลูกค้าเอสเอ็มอีจะได้เรียนรู้วิธีการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) ไปในตัวด้วย

“...เราไม่ได้มองแค่ลูกค้าเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินกู้เท่านั้น เพราะลูกค้าเอสเอ็มอีหลายรายเหมือนกันที่ไม่จำเป็นต้องมากู้เงิน ธุรกรรมนี้สามารถนำไปปรับใช้กับหลายธุรกิจ เพราะหากเขามาเงินเหลือเยอะ เขายังสามารถนำไปลงทุนได้อีกซึ่งมันตอบโจทย์ได้หมด” ชมภูนุช ทิ้งท้าย

Source : รายการ Idea Room 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line