วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2567

ข้อควรรู้ ก่อนเปิดธุรกิจร้านอาหาร

by Smart SME, 16 พฤศจิกายน 2566

ร้านอาหาร เป็นธุรกิจและอาชีพในฝันของหลาย ๆ คน ด้วยธุรกิจร้านอาหารมักถูกมองว่า เป็นธุรกิจที่ทำไม่ยาก เพียงแค่มีเงินทุน มีทำเล มีบุคลากร ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจนี้ได้แล้ว

แต่ความเป็นจริงนั้น ธุรกิจร้านอาหารก็เหมือนเช่นธุรกิจอื่น ๆ ทั่วไป หากต้องการความสำเร็จ ต้องมีการวางแผนจัดการตั้งแต่เริ่มต้น ไม่เช่นนั้นแล้วโอกาสที่จะเจ็บตัว กิจการไปต่อไม่ไหว มีความเป็นไปได้มากกว่าสำเร็จ

เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังมีแผนอยากเปิดร้านอาหาร หรือเปิดไปแล้ว ก็อ่านคอนเทนต์นี้ได้ กับ "ข้อควรรู้ ก่อนเปิดธุรกิจร้านอาหาร" เพื่อเป็นแนวทางบริหารธุรกิจก่อนเปิด หรือนำไปปรับปรุง เสริมเติม ประยุกต์ให้เหมาะสมกับร้านอาหารคุณก็ได้ เพื่อ "โอกาสสำเร็จที่มากขึ้น"

 

กำหนดคอนเซ็ปต์ของร้าน

ร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปต์ชัดเจนแต่แรก จะช่วยให้การวางแผนขั้นตอนอื่น ๆ ง่ายขึ้นมาก ตั้งแต่เรื่องจัดสรรงบลงทุน สไตล์การออกแบบร้าน การเลือกพร็อพตกแต่งร้าน การเลือกแสง สี เสียง บรรยากาศภายใน ภายนอกร้าน โต๊ะเก้าอี้ ชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ ยูนิฟอร์มพนักงาน รูปแบบการให้บริการ การคัดเลือกพนักงาน การออกแบบเมนูอาหาร การตกแต่งจัดจานอาหาร การตั้งชื่อเมนูอาหาร การกำหนดราคาอาหาร ฯลฯ

โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาจาก “Concept” ร้านทั้งสิ้น ซึ่งร้านที่มี “Concept” ชัดเจนลงตัว ก็จะนำไปสู่การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้น ทำการตลาดได้ประสิทธิภาพมากกว่าร้านทั่วไป

 

เลือกทำเลที่ตั้ง

การเลือกทำเลนั้นไม่มีสูตรตายตัวว่าต้องเป็นทำเลแบบนั้นแบบนี้ถึงจะดีที่สุด ยิ่งยุคนี้ตลาดอาหารเดลิเวอรี่เติบโตขึ้นมาก บางร้านทำเลไม่ได้อยู่ในจุดผู้คนพลุกพล่านแต่กลับไปอยู่ในที่เงียบ ๆ เน้นค่าเช่าถูก ๆ ใช้พื้นที่สำหรับผลิตส่งขายผ่านเดลิเวอรี่เป็นหลักก็มีให้เห็นมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทำเลมีส่วนสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ หากต้องการให้ร้านเรามีคนเห็นง่าย ก็ต้องมองหาทำเลที่อยู่ละแวกชุมชน ตลาด ติดริมถนน จุดต่อรถสาธารณะ และหากมีที่จอดรถสำหรับลูกค้า ก็จะยิ่งตอบโจทย์ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนร้านของคุณได้มากขึ้น

 

วางแผนเมนูและตั้งราคาขาย

โดยธรรมชาติของคนทำร้านอาหารมือใหม่มักจะมีความคิดในหัวมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของเมนูอาหาร มีไม่น้อยอยากให้ร้านของตัวเองมีสารพัดเมนูครบทุกหมวด ในเรื่องของความคิดนั้น สามารถฟุ้งได้เต็มที่ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับมาคิดถึงคอนเซ็ปต์ของร้านเป็นหลัก ว่าร้านของเรามีคอนเซ็ปต์แบบไหน มีกลุ่มลูกค้าแบบไหน เช่น ร้านของเราเป็นร้านอาหารไทยปนยุโรป

ดังนั้น เมนูในร้านก็จะต้องไม่หลุดคอนเซ็ปต์ไปจากอาหารไทย และยุโรป รวมไปถึงเมนูเครื่องดื่มและของหวานก็เช่นกัน เมื่อมีความชัดเจนแล้วว่า ร้านเราเมนูต่าง ๆ จะเป็นคอนเซ็ปต์แบบไหน วิธีง่าย ๆ ในการหาไอเดียเมนู คือ หาร้านต้นแบบที่มีคอนเซ็ปต์ใกล้เคียงกับที่เราคิดไว้ ไปดูเพื่อศึกษา เก็บข้อมูล เลือกเมนูของร้านเหล่านั้นมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมนูของเรา ซึ่งก็จะเป็นหน้าที่ของเชฟ หรือผู้ออกแบบเมนูอาหารที่เราจ้างมา ทำการพัฒนาสูตรเมนูของร้านทั้งรสชาติ รูปลักษณ์ การจัดตกแต่งต่าง ๆ

 

เรื่องเอกสาร ขอใบอนุญาตและศึกษาข้อกฎหมายต่าง ๆ

ร้านอาหารก็เหมือนธุรกิจอื่น ๆ จะต้องมีการขออนุญาตดำเนินการเช่นกัน เริ่มด้วยการขอจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ทราบว่า เราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะมีชื่ออยู่ในระบบของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

 

การวางแผนการตลาด

ขั้นตอนนี้ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ การวางแผนด้านการตลาดซึ่งจำเป็นต้องวางแผนทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ไปพร้อมกัน และที่สำคัญมาก ๆ ซึ่ง SME ส่วนใหญ่มักพลาดคือ “งบการตลาด” เป็นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งขึ้นมาให้เป็นงบประจำ และอยู่ในส่วนของโครงสร้างต้นทุนของร้านด้วย

เนื่องจากร้านอาหาร SME ส่วนมากมักทำการตลาดแบบไม่เป็นระบบ ขาดการวางแผน และจัดสรรงบ เมื่อถึงเวลายอดตกต้องการดันยอดก็ค่อยคิดถึงเรื่องการตลาดซึ่งเป็นความคิดที่ผิด

คำแนะนำคือ ควรวางแผนการตลาดให้ต่อเนื่องด้านออฟไลน์สื่อหน้าร้านจะต้องทำอะไรบ้าง ใช้งบกี่เปอร์เซ็นต์ของงบการตลาด ด้านการตลาดออนไลน์จะสื่อสารรูปแบบไหนบ้างในแต่ละเดือน จะจ้างบล็อกเกอร์เจ้าไหนมารีวิว จัดโปรโมชั่นอย่างไร ทำสื่อโพสต์รูปแบบไหน ช่องทางไหน ช่วงเวลาไหน

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องทำออกมาเป็นแผนประจำวัน ประจำเดือน และประจำปี เพื่อจะได้จัดงบประมาณ และจัดโปรโมชั่นเพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการของเทรนด์ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line