วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2567

เช็คลิสต์ให้รอบคอบ ก่อนลงทุนแฟรนไชส์

by Phawanthaksa, 28 ธันวาคม 2561

ใครที่กำลังสนใจธุรกิจ แฟรนไชส์ ก่อนตัดสินใจซื้อ คุณควรจะหาข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน หรือไปสำรวจบูธของแฟรนไชส์ที่คุณสนใจก่อน เพื่อจะได้สัมผัสและรับรู้ถึงการใช้บริการจริงๆ ส่วนสิ่งที่ต้องเตรียมตัวมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

อันดับแรกเตรียมความพร้อมที่ตัวคุณก่อน คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าสนใจในการทำธุรกิจแฟรนไชส์จริงจังหรือไม่ เพราะถ้าคุณไม่ได้ชอบหรือทุ่มเทจริงๆ คุณจะเสียเวลา และเงินลงทุนโดยเปล่าประโยชน์

ยอมรับได้ว่า เมื่อตัดสินใจทำธุรกิจแฟรนไชส์แล้ว คุณจะมีอิสระในการดำเนินธุรกิจตามวิธีของคุณเองน้อยลง เพราะคุณจะต้องปฏิบัติและดำเนินงานตามนโยบายหรือข้อตกลงร่วมกันของแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้น คุณต้องเปิดใจ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และพร้อมที่ปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ต้องหาข้อมูล ติดตามข่าวสาร สอบถามจากแฟรนไชส์ซี ที่กำลังทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณกำลังสนใจอยู่ หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ แล้วรวบรวมนำมาวิเคราะห์ถึงแนวโน้ม ชื่อเสียง โมเดลทางธุรกิจ และวิธีดำเนินธุรกิจ ว่ามีโอกาสเติบโตหรือไม่

หาข้อมูลและวิเคราะห์ตลาดของสินค้าหรือบริการของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ว่ามีโอกาสในการขยายตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงวิเคราะห์สภาพการแข่งขันระหว่างแฟรนไชส์ที่เป็นคู่แข่งด้วย

พร้อมหาข้อมูลของแฟรนไชส์ซอร์ ที่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการ อันได้แก่

  • ข้อมูลที่เป็นการระบุถึงแฟรนไชส์ซอร์ และธุรกิจที่ประกอบกิจการร่วมกัน รวมถึงประสบการณ์ทางธุรกิจ
  • ข้อมูลที่ระบุถึงประสบการณ์ทางธุรกิจของทีมผู้บริหารแต่ละคน ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงาน การฝึกอบรม และงานด้านอื่นๆของธุรกิจแฟรนไชส์นั้น รวมถึง ประวัติการฟ้องร้อง และสถานภาพทางการเงินของทีมผู้บริหารแต่ละคน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
    รายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินอย่างต่อเนื่องเมื่อคุณเริ่มดำเนินกิจการ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมถึงข้อกำหนดต่างๆที่ให้คุณต้องจัดซื้อจาก แฟรนไชส์ซอร์
  • รายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือใดๆ ที่คุณจะได้รับจาก แฟรนไชส์ซอร์
  • รายละเอียดเกี่ยวกับข้อจำกัดของสินค้าหรือบริการที่คุณควรรับทราบก่อนจัดจำหน่าย
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเขตพื้นที่ใดๆ ซึ่งทางแฟรนไชส์ซอร์ อนุญาตให้กับคุณ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี และพนักงาน
  • รายละเอียดเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องกับความมีชื่อเสียง หรือภาพที่ปรากฏแก่สาธารณชน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อธุรกิจ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือใดๆ จากแฟรนไชส์ซอร์ ในการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจ หรือจัดหาพนักงาน
  • ข้อมูลทางสถิติที่แสดงถึงจำนวนสาขาของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน และจำนวนสาขาที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต จำนวนสาขาที่เลิกกิจการ จำนวนสาขาที่แฟรนไชส์ซอร์ ไม่ได้ต่อสัญญา รวมถึงจำนวนสาขาที่กลับมาต่อสัญญา หรือซื้อแฟรนไชส์ใหม่อีกครั้ง
  • งบการเงินของแฟรนไชส์ซอร์
    รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตซึ่งแฟรนไชส์ซี จะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ
  • คำแถลงที่สมบูรณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเรียกร้องรายได้ใดๆ ที่แฟรนไชส์ซี ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์
  • บัญชีรายชื่อและพื้นที่สาขาของแฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ

สัญญาขอซื้อแฟรนไชส์ เป็นข้อตกลงทางกฎหมายระหว่าง แฟรนไชส์ซี กับแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งถือว่าทั้งสองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น ก่อนทำสัญญา ต้องแน่ใจก่อนว่าตัวสัญญาครอบคลุมและระบุในประเด็นเหล่านี้หรือไม่

  • ค่าแรกเข้าเป็นผู้รับสิทธิ
  • ส่วนแบ่งกำไรในการดำเนินธุรกิจ
  • ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าการตลาดและโฆษณา ค่าฝึกอบรม หรือ ค่าใช้จ่ายใน
  • การจัดหาทำเลที่ตั้ง
  • อายุของสัญญาและการต่อสัญญาใหม่
  • ความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซี และแฟรนไชส์ซอร์ในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน
  • ข้อกำหนดในการเลือกทำเลที่ตั้ง
  • เขตพื้นที่เฉพาะและการคุ้มครองเขตพื้นที่ เพื่อป้องกันการแข่งขันกันเองระหว่างสาขา
  • สินค้า บริการ และ การจัดซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์
  • อุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
  • จำนวนชั่วโมงการทำงาน
  • การจัดหาบุคลากร และการฝึกอบรม
  • มาตรฐาน หรือข้อกำหนดต่างๆในการดำเนินธุรกิจ
  • การรายงานและการจัดทำบัญชี

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำธุรกิจแฟรนไชส์ คุณควรคำนึงถึงข้อเสียเหล่านี้ เนื่องจากต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินก้อนใหญ่ และส่วนแบ่งรายได้หรือกำไรค่อนข้างสูง อาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือ ความช่วยเหลืออาจมาช้า ถ้าแฟรนไชส์ซอร์นั้นขาดทักษะการบริหาร หรือขาดระบบความช่วยเหลือที่ดี

  • มีข้อจำกัดทางสินค้าหรือบริการ ซึ่งคุณไม่สามารถนำสินค้าหรือบริการอย่างอื่น เข้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากแฟรนไชส์ซอร์
  • มีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ เพราะอาจจะไปทับซ้อนกับพื้นที่ของแฟรนไชส์ซีรายอื่น ดังนั้นการขยายพื้นที่ คุณจะต้องได้รับอนุญาตจากแฟรนไชส์ซอร์ก่อน

ทุกการทำธุรกิจย่อมต้องมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน หากคุณตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ โดยมีการเตรียมความพร้อมและหาข้อมูลเป็นอย่างดี เพิ่มจุดแข็ง ลดจุดอ่อน ธุรกิจของคุณย่อมประสบความสำเร็จแน่นอน


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line