วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

บาร์ญี่ปุ่นจับเทรนด์ใหม่ เลือกกลุ่มลูกค้า “ผู้สูงอายุ” กินดื่มพร้อมดูแลสุขภาพ

by Anirut.j, 8 มกราคม 2563

บาร์ Sunakku ญี่ปุ่น จับเทรนด์ใหม่ เลือกกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา บริการเสร็จสรรพ เอนเตอร์เทนกินดื่ม พร้อมดูแลสุขภาพ

สื่อต่างประเทศนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ระบุว่า บาร์ประเภท Sunakku ในประเทศญี่ปุ่น จับเทรนด์ใหม่ เลือกกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา ให้บริการเส็จสรรพไปรับ-มาส่ง เอนเตอร์เทนเรื่องการกินดื่ม พร้อมทั้งดูแลด้านสุขภาพเป็นอย่างดี

สำหรับบาร์ประเภท Sunakku เป็นสถานประกอบการที่บริการด้านการกินดื่มที่รู้จักกันดี และอยู่คู่สังคมญี่ปุ่นมาช้านาน โดยทั่วไปแล้วผับเหล่านี้จะดำเนินการโดยเจ้าของที่ลูกค้าเรียกว่า "Mama" โดยมาม่าจะคอยเสิร์ฟอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภท "ขนมขบเคี้ยว" นอกจากนี้ มาม่ายังต้องคอยเอนเตอร์เทน พูดคุยสร้างความครื้นเครงผ่อนคลายให้กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน

แต่ด้วยการแข่งขันที่ดุเดือดในธุรกิจ ทั้งบาร์ค็อกเทลสไตล์ตะวันตกราคาถูก และอิซากายะ (Izakaya) ร้านกินดื่มแนวใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม ทำให้ Sunakku ต้องปรับตัว มองหาฐานลูกค้าใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งกลุ่ม “ผู้สูงอายุ” ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นที่รู้กันว่า ผู้ที่ใช้บริการ Nursing Home ในญี่ปุ่นนั้นคือคนที่มีฐานะค่อนข้างดี

Atata บริษัท ในเมืองโยโกฮามา ที่ดำเนินธุรกิจด้านการฝังเข็ม-นวดบำบัด ได้ริเริ่มไอเดียธุรกิจ Kaigo Sunakku Bar หรือ “บาร์สำหรับผู้สูงวัย” คำว่า “Kaigo” หมายความว่า “ผู้ดูแล” คือบาร์ที่ตอบโจทย์คนชราซึ่งต้องการไปกินข้าวนอกหรือกินดื่มได้ตามสมควร โดยใช้ชื่อว่า “Ryugujo” เปิดเมื่อปี 2014 พร้อมกับขายแฟรนไชส์ โดยตั้งเป้ามี 200 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น

สำหรับบาร์ “Ryugujo” มีจุดเด่นคือบริการเฉพาะผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป และผู้พิการทางร่างกายเท่านั้น ดูแลครบวงจรตั้งแต่ไปรับจากบ้านมาที่ร้านเพื่อสังสรรค์ ไปส่งเมื่อปาร์ตี้เลิกรา โดยกระบวนการทั้งหมดอยู่ในการกำกับของพยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ซึ่งรวมกันเป็นแพ็กเกจเดียวกับค่าอาหารและเครื่องดื่มจากบาร์ในเวลา 2 ชั่วโมง โดยค่าบริการนั้นจะอยู่ราว 8,000 เยนต่อหัว (2,200 บาท)

แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าสูงวัยย่อมแตกต่างจากคนทั่วไป “Ryugujo” จึงต้องใส่ใจรายละเอียดในการให้บริการ โดยเน้นความปลอดภัยขั้นสูงสุด ภายในบาร์จะมีราวจับเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างสะดวก มีห้องน้ำสองห้องพร้อมผู้ดูแล ประตูหน้าร้านจะถูกล็อกด้วยรหัสผ่านเพื่อป้องกันผู้สูงอายุที่อาจเมาไม่ให้เดินลงไปบนถนน

ขณะที่โซนสแน็กบาร์จะมี “มาม่า” คอยดูแลทุกรายละเอียด ตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ของลูกค้าให้เหมาะสมกับสุขภาพ และอาหารทุกชนิดที่เสิร์ฟจะเป็นชิ้นขนาดพอดีคำเพื่อให้กินได้โดยง่ายไม่เกิดอาการติดคอ

“Ryugujo” เปิดให้บริการในเวลา 11.00-20.00 น. ซึ่งแตกต่างจาก Sunakku ส่วนใหญ่ ที่มักเปิดกิจการในช่วงกลางคืนเท่านั้น

ที่มา : asia.nikkei


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line