วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2567

เจาะลึก 10 เทรนด์ยอดฮิตที่จะมากำหนดอนาคตธุรกิจในปี 2021

by Anirut.j, 4 กุมภาพันธ์ 2564

สภาวะการแข่งขันในโลกธุรกิจที่เป็นไปอย่างดุเดือด ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องคิดสร้างสรรค์ไอเดียใหม่อยู่ตลอดเวลา หากมีคิดอะไรได้ควรรีบทำทันที ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

เทรนด์ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ประกอบการสามารถสำรวจได้จากเรื่องราวใกล้ ๆ ตัว ว่าผู้คนในยุคนี้มีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง เมื่อรู้แล้วก็นำมาปรับให้เข้ากับบริการของธุรกิจที่ทำอยู่ แน่นอนพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ และเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการต้องตามให้ทัน

วันเดอร์แมน ธอมสัน เผยแพร่รายงาน “ฟิวเจอร์ วันฮันเดรด” (Future) ประจำปี โดยนำเสนอแนวโน้มที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วง 12 เดือนหลังจากนี้ผ่านพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักการตลาดนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนให้เติบโต และดำเนินงานในปี 2021 ได้อย่างมั่นใจ

สำหรับ 10 แนวโน้มที่สำคัญในปี 2021 มีดังต่อไปนี้

1.การผันตัวสู่ผู้ประกอบการรายเล็ก

แม้ว้าอาชีพเสริมจะเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับคนในยุคปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่ากำลังหมดยุคการทำงานพิเศษแล้ว และกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคสตาร์ทอัพ จากแรงกระตุ้นของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากเลือกเส้นทางใหม่ของตัวเอง ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการตามเส้นทางอาชีพของแต่ละคน

2.สุขภาพดีด้วยภูมิคุ้มกัน

เรื่องที่สังเกตเห็นได้ว่าคือทุกวันนี้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีช่วงเวลาไหนที่ผู้คนทั่วโลกให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของตนเองมากเท่ากับช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่พากันออกมาบอกวิธีดูแลตัวเองให้กับผู้คนอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การใช้ยาแผนโบราณตลอดจนงานวิจัยสารพันธุกรรม

3.ระดมแฟนคลับ

กลุ่มแฟนคลับกำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากเดิมเป็นเพียงแค่ผู้บริโภควัฒนธรรมป๊อป แต่ปัจจุบันได้พัฒนาสู่การเป็นกระบอกเสียง ผู้สร้างคอนเทนต์ให้กับไอดอลทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ โดยมีศิลปินเค-ป๊อป เป็นต้นแบบ

4.บริการธนาคารที่ไร้อคติ

ธุรกิจธนาคารจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีแนวทางเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเราจะได้เห็นบริการรูปแบบใหม่ที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น เช่น ซิมบา (Simba) และกรีนวู้ด (Greenwood) ที่เล็งเห็นความจำเป็นของผู้บริโภคกลุ่มเล็ก ๆ ที่มักถูกมองข้ามไป

5.การเล่นเกมผ่านคลาวด์

กระแสการสตรีมเกมถือเป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ และต่อไปการเล่นเกมก็จะมีความง่ายมากขึ้นผ่านคลาวด์ โดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google, Microsoft, Sony และ Facebook ต่างเข้ามาลงทุน พร้อมตั้งความหวังไว้สูงกับการเล่นเกมผ่านคลาวด์

6.การเดินทางแบบไร้สัมผัส

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวเข้าสู่วิถี New Normal เช่นเดียวกับการเดินทางโดยเครื่องบินที่ต้องพลิกโฉมการให้บริการ ตั้งแต่เช็คอินฝากกระเป๋า, ห้องน้ำ และความบันเทิงในเที่ยวบิน ซึ่งทุกอย่างจะลดการสัมผัส ถูกสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่จะเดินทาง

7.แบรนด์ใหญ่จับเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน

สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้แบรนด์ใหญ่ต้องปรับตัวเริ่มมองหาทางเลือกให้กับธุรกิจด้วยการเข้าสู่ธุรกิจสินค้ามือสอง ทั้งแบรนด์ Gucci และ Uniqlo เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความกังวลเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น และเงินในกระเปาที่ลดลง

8.ครัวที่ไม่ปรากฏตัวให้เห็น

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ร้านอาหารไม่สามารถให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหาร หรือจำกัดจำนวนผู้บริโภค ดังนั้น ร้านอาหารต้องปรับรูปแบบบริการไปสู่การส่งแบบเดลิเวอรี่ ส่งผลให้แนวคิดร้านอาหารแบบใหม่มุ่งเน้นการรับประทานอาหารภายนอกร้านมากกว่าเดิม

9.เครื่องปรุงที่เสาะหามาจากป่า

เทรนด์ความงาม คืออีกหนึ่งเทรนด์ที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณที่ผลิตมาจากพืชที่เสาะแสวงหามาจากป่า ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้การันตีเรื่องผลลัพธ์ได้อย่างที่คาดหวังไว้

10.ไลฟ์คอมเมิร์ช

การค้าปลีกที่สร้างความบันเทิง (Retail-tainment) กำลังจะบุกโลกออนไลน์ด้วยการสร้างประสบการณ์การซื้อขายที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้ชม โดยใช้วิดีโอสตรีมมิ่งเพื่อสาธิตและขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมกับการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในแบบเรียลไทม์

การรู้เทรนด์ของผู้บริโภคจะทำให้ผู้ประกอบการได้เปรียบเพราะรู้ว่ากระแสจะเดินไปในทิศทางไหน พร้อมนำมาปรับใช้กับธุรกิจในยุคที่การแข่งขันในตลาดเป็นไปอย่างดุเดือด

ที่มา:
https://www.wundermanthompson.com/insight/the-future-100 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line