วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาประเทศเมียนมา ทำอย่างไร ?

by Smart SME, 10 ตุลาคม 2559

ในแต่ละประเภทธุรกิจ นอกเหนือจะมีความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ รวมถึงกฎระเบียบแล้ว การค้าขายในต่างประเทศหรือการส่งออกกับคู่ค้าต่างชาติก็จะมีความแตกต่างตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศนั้นๆ ซึ่งบทความนี้ SmartSME จะมาแนะนำสั้นๆ ว่าผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวอย่างไร หากทำธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาไปยัง ประเทศเมียนมา ซึ่งการทำธุรกิจส่งออกกับประเทศเมียนมานั้น ผู้ส่งออกไทยจะจำหน่ายสินค้าให้พ่อค้าเมียนมาโดยตรง หรือจำหน่ายผ่านพ่อค้าขายส่งที่เมืองเมียวดี แล้วกระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ในเมียนมาอีกทอดหนึ่ง การสั่งซื้อสินค้าจากพ่อค้าเมียนมาทำหลายวิธี ทั้งทางโทรศัพท์ / โทรสาร / การเดินทางเข้าไปติดต่อคู่ค้าในเมียนมาด้วยตนเอง พ่อค้าเมียนมาเดินทางเข้ามาติดต่อโดยตรงที่ร้าน หรือฝากบุคคลอื่นเข้ามาซื้อให้ที่ฝั่งประเทศไทย ทั้งนี้ หลักฐานการค้าส่วนใหญ่จะเป็นใบกำกับสินค้า แต่อาจทำใบสั่งซื้อบ้างในบางครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยลักษณะการส่งออกสินค้ามีหลายรูปแบบ ดังนี้
  1. พ่อค้าชายแดนในท้องถิ่น เป็นผู้สั่งซื้อและรวบรวมสินค้าจากส่วนกลาง หรือในท้องถิ่นตามคำสั่งซื้อของพ่อค้าเมียนมา และเป็นผู้ทำพิธีการส่งออก
  2. พ่อค้าชายแดนทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวแทนจำหน่ายให้บรัท / โรงงานจากส่วนกลางในการติดต่อซื้อขายกับพ่อค้าเมียนมา กรณีนี้พ่อค้าชายแดนอาจดำเนินการขนส่งสินค้าด้วยตนเองหรือทางบริษัท / โรงงานนั้น จัดส่งมาให้ที่อำเภอแม่สอดแล้วตกลงกัน ซึ่งอาจส่งออกในนามของบรัท / โรงงานที่กรุงเทพฯ หรือพ่อค้าชายแดน
  3. ผู้ผลิตจากส่วนกลางติดต่อกับพ่อค้าเมียนมาโดยตรงและส่งออกในนามผู้ผลิต ส่วนภาระการขนส่งภายในประเทศขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน
  4. พ่อค้าเมียนมาเข้ามาติดต่อโดยตรงกับพ่อค้าในอำเภอแม่สอด หรือเดินทางเข้าไปซื้อสินค้าจากบริษัท / โรงงานผู้ผลิตในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะส่งสินค้ามายังอำเภอแม่สอด และทำพิธีการศุลกากรในนามพ่อค้าเมียนมา วีการส่งออกนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตั๋วพม่า” อย่างไรก็ดี สินค้าบางชนิดพ่อค้าเมียนมาไม่สามารถสั่งซื้อได้ดยตรง ต้องสั่งซื้อจากพ่อค้าชายแดนท้องถิ่น เนื่องจากมีการระบุให้ต้องซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายของบริษัทในอำเภอแม่สอดเท่านั้น
...........................................................................

เตรียมตัวอย่างไร ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาไป สปป.ลาว


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line