วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

5 อุปสรรคสำคัญ “เมื่อ SMEs ไทยต้องทำการค้าการส่งออกกับชาวจีน”

by Smart SME, 26 มกราคม 2560

ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นตลาดที่มีโอกาสมากมายของผู้ประกอบการไทย แต่ในโอกาสก็มาพร้อมกับอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนของจีน ภาวะความซับซ้อนของตลาด การแข่งขันที่มีอัตราสูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล SMEs ไทยต้องคํานึงถึงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในอนาคตด้วย
  1. อุปสรรคทางภาษี (Tariff barrier)
อุปสรรคเรื่องภาษีและค่าธรรมเนียมโควตาเป็นสิ่งแรกๆที่เกิดขึ้นกับ SMEs ไทย เนื่องจากภาษีนําเข้าของจีนค่อนข้างสูง และนอกจากภาษีศุลกากรแล้ว ผู้ส่งออกไทยยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะมีการเก็บทันทีที่สินค้าไปถึง ซึ่งตามกฏหมายจีนจะเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 13 และ 17 ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้านําเข้าที่ด่านนําเข้าของจีน
  1. อุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff barrier)
นอกจากเรื่องภาษี จีนยังมีอุปสรรคในการค้าต่างๆอีก เช่น มาตรการด้าน QC สินค้า, ขั้นตอนทางด้านศุลกากร, การอนุญาตนําเข้าและการกําหนดให้ต้องมีการตรวจสอบรับรอง
  1. อุปสรรคด้านความสามารถในการแข่งขัน
ผู้ส่งออกไทยมักพบปัญหาเรื่องกฎระเบียบและข้อบังคับหลายประการ กล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคทางการค้าอีกประการ ที่ทําให้เกิดต้นทุนการดําเนินงานและกระบวนการส่งออกที่ทําให้มีต้นทุนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทําให้ผู้ส่งออกของไทยไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งจากชาติอื่นๆ เช่น ไต้หวันและเวียดนาม
  1. อุปสรรคด้านสิ่งอํานวยความสะดวก
สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานคือหนึ่งในปัญหาสําคัญของการเข้าสู่ตลาดของจีนในแต่ละมณฑลและระดับท้องถิ่น เนื่องจากจีนมีข้อจํากัดในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในประเทศของตน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเครือข่ายของระบบคมนาคมขนส่ง รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ในหลายพื้นที่
  1. อุปสรรคในการสื่อสารและการเจรจาการค้า
ผู้ประกอบการไม่เพียงต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษา แต่ยังต้องเรียนรู้วัฒนธรรมจีนและอุปนิสัยของคนจีนด้วย เพราะถือว่าเป็นส่วนสําคัญอีกอย่างในการทําธุรกิจกับคนจีน ซึ่งจําเป็นต้องใช้สายสัมพันธ์และใช้เครือข่ายในการทําการตลาด โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้คนจีนยังมีอุปนิสัยที่คิดเร็วทําเร็ว หากทำการค้ากับคนจีน จึงต้องมีความรวดเร็วในเรื่องของข้อมูลสินค้า กระบวนการตกลงการซื้อขาย รวมไปถึงการหาความร่วมมือในการค้าด้วย

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line