วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

เทียบราคา ‘แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ’ เซเว่นฯ กับ แฟมิลี่มาร์ท

by Smart SME, 16 ตุลาคม 2561

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ ถือเป็นอีกประเภทแฟรนไชส์ ที่นักลงทุนหลายคนให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง สามารถสร้าง Passive Income ได้ในระยะยาว โดยเฉพาะเซเว่นฯ แฟมิลี่มาร์ท ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง มีระบบบริหารจัดการที่ดี ฉะนั้น เรามาดูกันเลยว่าแฟรนไชส์ 2 แบรนด์นี้ ลงทุนแตกต่างกันยังไงบ้าง

แฟรนไชส์เซเว่นฯ (สังกัด ซีพี ออลล์ ปัจจุบันมี 11,000 สาขา)
แบบที่ 1 ลงทุน 1.48 ล้าน (สัญญา 6 ปี)

ค่าอุปกรณ์การขายทุกอย่างรวมถึงสินค้า การตกแต่งร้านภายในและภายนอก ทางเซเว่นจะออกให้
ค่าใช้จ่ายในการขอรับสิทธิ์ 480,000 บาท
เงินสดค้ำประกัน 1,000,000 บาท ซึ่งรวมแล้วต้องมีเงินให้กับทางแฟรนไชส์เซเว่นฯ ทั้งหมด 1,480,000 บาท ระยะเวลาการทำสัญญา 6 ปี
แบบที่ 2 ลงทุน 2.63 ล้าน (สัญญา 10 ปี)

ค่าอุปกรณ์การขายทุกอย่างรวมถึงสินค้า การตกแต่งร้านภายในและภายนอก ทางเซเว่นจะออกให้
ค่าใช้จ่ายในการขอรับสิทธิ์ 1,730,000 บาท
เงินสดค้ำประกัน 900,000 บาท ซึ่งรวมแล้วต้องมีเงินให้แฟรนไชส์เซเว่นฯ ทั้งสิ้น 2,630,000 บาท ต่อระยะเวลาการทำสัญญา 10 ปี
แฟรนไชส์แฟมิลี่มาร์ท (สังกัดเครือเซ็นทรัล ปัจจุบันมี 1,100 สาขา)
1. แบบมีทำเลของตัวเอง ลงทุน 2.5 ล้านบาท (สัญญา 9 ปี)

มีทำเลที่ตั้งเป็นของตนเอง 100-150 ตารางเมตร (รวมพื้นที่สต๊อกสินค้า) อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล, ชลบุรี, พัทยา, ภูเก็ต และสมุย

50,000 บาท เพื่อทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU (ยังไม่รวม VAT)
1,000,000 บาท เพื่อเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise Agreement) โดยแบ่งเป็นค่าสิทธิแรกเข้า 250,000 บาท ค่าจัดเตรียมการในการเปิดร้าน 50,000 บาท ค่าสินค้าบางส่วน 380,000 บาท เงินสำรองทอน 20,000 บาท เงินประกันสัญญาและอุปกรณ์ 300,000 บาท (โดยเงินประกันสัญญาและอุปกรณ์ จะยังไม่รวม VAT ได้คืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา)
1,450,000 บาท เป็นค่าการก่อสร้าง,การตกแต่งร้าน และค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตต่างๆ โดยบริษัทฯ จะให้ยืมอุปกรณ์การขายหลัก
กำไรขั้นต้นในแต่ละเดือน จะแบ่งให้เจ้าของลิขสิทธิ์แฟมิลี่มาร์ท 35% และผู้ซื้อแฟรนไชส์ 65% ประกันกำไรขั้นต้น 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 65% บริษัทฯจะชดเชยผลต่างให้) โดยต้องแจ้งยอดขาย และนำเงินเข้าบัญชีในนามของบริษัทฯ ทุกวัน

2. แบบไม่มีมีทำเล ลงทุน 1.2 ล้านบาท (สัญญา 9 ปี)

บริษัทฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสมทำเลที่ตั้งร้านให้ ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเข้ามาบริหารร้านสะดวกซื้อด้วยตนเอง แต่บริษัทฯจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าน้ำ ค่าไฟ 80%

50,000 บาท เพื่อทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU (ยังไม่รวม VAT)
1,000,000 บาท เพื่อเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise Agreement) โดยแบ่งเป็นค่าสิทธิแรกเข้า 250,000 บาท ค่าจัดเตรียมการในการเปิดร้าน 50,000 บาท ค่าสินค้าบางส่วน 380,000 บาท เงินสำรองทอน 20,000 บาท เงินประกันสัญญาและอุปกรณ์ 300,000 บาท (โดยเงินประกันสัญญาและอุปกรณ์ จะยังไม่รวมVAT ได้คืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา)
150,000 บาท เป็นค่าวัสดุสิ้นเปลือง และค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตต่างๆ
กำไรขั้นต้นในแต่ละเดือน จะแบ่งให้เจ้าของลิขสิทธิ์แฟมิลี่มาร์ท 60% และผู้ซื้อแฟรนไชส์ 40% ประกันรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย 40% (หากต่ำกว่าบริษัทฯจะชดเชยผลต่างให้) โดยต้องแจ้งยอดขาย และนำเงินเข้าบัญชีในนามของบริษัทฯ ทุกวัน


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line