วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

คิดแบบวิศวกร ขายแบบผู้ประกอบการ 2 กุญแจสำคัญ สร้างธุรกิจให้สำเร็จด้วยวิธีนี้

by Anirut.j, 20 ธันวาคม 2566

หากเราตั้งคำถามว่า มหาเศรษฐีชั้นนำของโลกส่วนใหญ่มีอะไรเหมือนกัน?

เราอาจได้คำตอบที่มีความหลากหลายกันออกไป เช่น การทำงานอย่างหนัก, การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเพียบพร้อม, การกล้าได้กล้าเสียเสี่ยงที่จะทำอะไรสักอย่างให้ประสบความสำเร็จ

แต่แท้จริงแล้ว เบื้องลึกจริง ๆ มหาเศรษฐีเหล่านี้พวกเขามีความรู้ด้านวิศวกรพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้สร้างซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์, นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, วิศวกรโยธา ก่อนที่จะมาเป็นนักธุรกิจด้วยซ้ำ หากนึกไม่ออกว่ามีใครบ้าง ยกตัวอย่าง เช่น Jeff Bezos, Bill Gates, Mark Zuckerberg, Sergey Brin, Larry Page, Carlos Slim, James Dyson, Larry Page, Bernard Arnault, Steve Jobs และ Elon Musk

จะเห็นได้ว่า รายชื่อมหาเศรษฐีเหล่านี้เป็นรู้จักกันดีกับการทำธุรกิจประสบความสำเร็จ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ ซึ่งเราอาจจะมองได้ว่าการที่คนมีพื้นฐานด้านวิศวกรเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ หากประเมินดูจากพื้นฐานของเหล่ามหาเศรษฐีระดับโลก

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิศวกร แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องมีวิธีคิดแบบวิศวกร อย่างน้อยก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในเรื่องของการสร้างความมั่งคั่ง และเริ่มต้นธุรกิจ หรือขยายกิจการอย่างมีศักยภาพ

นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องคิดแบบวิศวกร

วิศวกรรู้ว่าจะสร้างบางสิ่งบางอย่าง คุณต้องรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา และรู้ดีว่าต้องมีอุปสรรคกว่าจะไปถึงจุดหมาย และทางออกที่สมบูรณ์แบบไม่เคยได้มาแบบง่าย ๆ นอกจากนี้ วิศวกรรู้ว่ารางวัลของการแก้ปัญหา คือสิ่งต่อไปอันใหญ่กว่า, ลึกกว่า, ยากกว่า และยาวกว่า

หากเป็นสายงานด้านวิศวกร พวกเขาจะรู้ว่าซอฟต์แวร์ไม่เคยสมบูรณ์แบบ และอัลกอริธึมไม่มีวันสิ้นสุด โดยเวอร์ชันที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของเส้นทางไปสู่ความสำเร็จ และความสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริง เมื่อนำมาปรับใช้กับการทำธุรกิจมองได้ว่า การทำธุรกิจไม่ควรหยุดนิ่ง การออกสินค้านี้มาแล้วได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไม่ได้หมายความว่าความสำเร็จนี้จะอยู่ตลอดไป แต่ควรพัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าต่อไป

อีกทั้ง พวกเขายังยอมรับในความขัดแย้ง นำมาปรับปรุง มุ่งมั่น ทำสิ่งที่มีอยู่เดิมให้สมบูรณ์แบบ แม้จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยก็ตาม เช่น ผู้เขียนโค้ดมักจะแก้ไขปัญหาด้วยความกระตือรือร้น หากไม่ใช่ความหลงใหลในการแก้ปัญหา อย่างน้อยก็มีความเพลิดเพลินในสิ่งที่กำลังทำ พร้อมคิดเสมอว่า “ไม่มีปัญหา ไม่มีโอกาส”

เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ประกอบการ, สตาร์ทอัพ และเจ้าของธุรกิจ สามารถเรียนรู้ และคิดให้ได้แบบนี้ แต่แค่วิธีนี้วิธีเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะนอกจากคิดแบบวิศวกรแล้ว คุณต้องขายเป็นแบบผู้ประกอบการด้วย

รู้หรือไม่ว่า Gates, Jobs, Musk, Zuckerberg พวกเขาขายสิ่งที่ทำไม่ได้เลยในช่วงแรก ดังนั้นจึงต้องสร้างมันขึ้นมา โดยการขายคือทักษะที่ต้องเรียนรู้ ไม่มีใครเกิดมาแล้วทำได้เลย คุณไม่ได้ขายแค่สินค้าเท่านั้น แต่เป็นภารกิจแก้ปัญหา บอกเล่าเรื่องราวส่งข้อความไปยังลูกค้า

Joe Girard สร้างสถิติโลกขายรถยนต์มากที่สุด โดย Chevrolet ขายได้ถึง 1,425 คัน/ปี ซึ่งคุณอาจจะขายสินค้าด้วยตัวเอง หรือสร้างสินค้าขึ้นมาแล้วจ้างคนมาขาย

คุณต้องจัดการอารมณ์ตัวเองให้ได้ แต่สร้างอารมณ์ที่ดีให้กับผู้อื่น หากคุณไม่เสี่ยงอะไรเลย นั่นแหละคือความเสี่ยงทุกอย่าง

ที่มา: inc


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line